รีเซต

นักวิจัยจีนไขปริศนาใหม่ของต้นกำเนิด 'สัญญาณวิทยุแบบฉับพลัน'

นักวิจัยจีนไขปริศนาใหม่ของต้นกำเนิด 'สัญญาณวิทยุแบบฉับพลัน'
Xinhua
14 เมษายน 2567 ( 17:45 )
40

(แฟ้มภาพซินหัว : กล้องโทรทรรศน์วิทยุฟาสต์ มณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 13 ก.พ. 2023)

ปักกิ่ง, 14 เม.ย. (ซินหัว) -- ทีมวิจัยของจีนได้เสนอวิธีการใหม่ในการวิเคราะห์พฤติกรรมในด้านเวลา-พลังงาน ของสัญญาณวิทยุแบบฉับพลัน (FRB) อย่างครอบคลุม และเผยให้เห็นถึงลักษณะสะเปะสะปะไร้รูปแบบ (randomness) ของพฤติกรรมดังกล่าว

อนึ่ง การปะทุของสัญญาณวิทยุแบบฉับพลัน เป็นคลื่นวิทยุลึกลับที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่กี่มิลลิวินาที โดยต้นกำเนิดการปะทุที่มีแสงสว่างจ้าที่สุดของจักรวาลในช่วงความถี่สัญญาณวิทยุเหล่านี้ยังไม่มีคำอธิบายแน่ชัด

ทีมวิจัยจากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติ (NAOC) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ได้เสนอกรอบการวิเคราะห์ใหม่ ซึ่งสามารถระบุปริมาณของลักษณะการสุ่มและความยุ่งเหยิงของการปะทุดังกล่าว ผ่านการอ้างอิงข้อมูลที่มีอยู่มากมายจากฟาสต์ (FAST) กล้องโทรทรรศน์วิทยุจานรับสัญญาณเดี่ยวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 เมตร

การศึกษาพบว่าพฤติกรรมของสัญญาณวิทยุแบบฉับพลันในขอบเขตของเวลา-พลังงานโดยพื้นฐานแล้ว แตกต่างไปจากพฤติกรรมของปรากฏการณ์ทางกายภาพชั่วคราวที่มีอยู่ทั่วไป อย่างแผ่นดินไหวและเปลวสุริยะ และแสดงให้เห็นการสุ่มที่เพิ่มมากขึ้นเหมือนกับการเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownian motion) ซึ่งให้เบาะแสใหม่เกี่ยวกับต้นกำเนิดของสัญญาณวิทยุแบบฉับพลัน

หลี่ตี้ ผู้นำการศึกษาจากหอสังเกตการณ์ฯ ระบุว่าเมื่อความสามารถการสังเกตการณ์อันยอดเยี่ยมของฟาสต์ มาผสมผสานกับวิธีวิเคราะห์ใหม่ๆ จะช่วยให้สามารถศึกษาสัญญาณการปะทุอันลึกลับในจักรวาลแบบเชิงลึกได้ ซึ่งคาดว่าจะเปิดเผยต้นกำเนิดของมันได้ในที่สุด

ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวถูกเผยแพร่เป็นบทความบนหน้าปกในวารสารไซเอนซ์ บูลเลติน (Science Bulletin) เมื่อวันศุกร์ (12 เม.ย.)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง