รีเซต

สรุปการประชุมโลกร้อน COP26 ผู้นำโลกขยับแค่ไหนเพื่อกู้วิกฤต

สรุปการประชุมโลกร้อน COP26 ผู้นำโลกขยับแค่ไหนเพื่อกู้วิกฤต
TNN ช่อง16
4 พฤศจิกายน 2564 ( 17:05 )
112
สรุปการประชุมโลกร้อน COP26 ผู้นำโลกขยับแค่ไหนเพื่อกู้วิกฤต

ถ่านหิน ซึ่งถือว่าเป็นตัวการในการทำให้เกิดสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงรายใหญ่ที่สุดของโลก กลายเป็นประเด็นร้อนบนเวทีการประชุม เมื่อหลายชาติที่ยังคงใช้ถ่านหิน ให้คำมั่นว่าจะทำการ "ยกเลิกการใช้ถ่านหิน" ในอนาคต โดยทั้งหมดระบุว่าจะยุติทุกการลงทุนในการทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน และการขุดเหมืองถ่านหินแห่งใหม่ ทั้งในประเทศ และในต่างประเทศ


สำหรับ 190 ประเทศและองค์กร ประกอบด้วย 18 ประเทศ เช่น โปแลนด์ เวียดนาม และชิลี ที่ประกาศเรื่องนี้เป็นครั้งแรก


อีกทั้งยังเห็นพ้องที่จะค่อย ๆ เลิกการใช้พลังงานถ่านหินในช่วงปี 2030 สำหรับประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ และในปี 2040 สำหรับประเทศยากจน


แม้ตัวเลขประเทศ และองค์กร ที่ให้คำมั่นว่าจะยกเลิกการใช้ถ่านหินจะมีมากถึง 190 แห่ง แต่ล้วนแล้วแต่เป็น "เจ้าเล็กเจ้าน้อย" ไม่ใช่ผู้ใช้ถ่านหินรายใหญ่ของโลกแต่อย่างใด


ขณะที่ประเทศที่ยังคงต้องพึ่งพา "ถ่านหิน" เป็นหลัก อย่าง ออสเตรเลีย, อินเดีย, จีน และสหรัฐฯ ยังไม่ได้ร่วมให้คำมั่น "ยกเลิกการใช้ถ่านหิน" และยังไม่พบว่าไทยอยู่ในรายชื่อ 18 ประเทศดังกล่าว


◾◾◾

🔴 จีนเองก็พยายามลดถ่านหิน


จีนเองเคยประกาศเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาแล้วว่า จะยุติการลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินในต่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้ให้คำมั่นชัดเจนว่ารวมถึงโครงการในประเทศด้วยหรือไม่


แม้ทั่วโลกจะพยายามลดการใช้ถ่านหินลง แต่ถ่านหินยังเป็นแหล่งพลังไฟฟ้าคิดเป็น 37% ของทั้งโลกในปี 2019 เนื่องจากมีราคาถูก, มีปริมาณมาก ซึ่งมีความหมายอย่างมากต่อประเทศที่จำเป็นต้องใช้พลังงานมหาศาล


การประกาศดังกล่าว เรียกเสียงชื่นชมอย่างมากจากหน่วยงานและองค์กรที่เคลื่อนไหวเรื่องสภาพอากาศ ว่า โลกกำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ดีขึ้น และพร้อมที่จะลดการใช้ถ่านหิน เพื่อผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและเศราฐกิจ พร้อมกับการสรางอนาคตของการใช้พลังงานสะอาด


◾◾◾

🔴 สรุปประเด็นสำคัญบนเวที COP26


เงิน - ประเทศร่ำรวยนับว่าล้มเหลวในการทำตามสัญญาว่าจะบริจาคเงิน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่ประเทศยากจนภายในปี 2020 แต่มาร์ค คาร์นีย์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งอังกฤษ กำลังมองหาหนทางในการนำเอาเงินทุนเอกชนหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปใช้ในการสนับสนุนเทคโนโลยีสะอาด โดยสามารถรวบรวมองคืกร 450 แห่ง และได้งบราว 130 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 40% ของสินทรัพย์เอกชนทั่วโลก และวางแผนที่จะช่วยผลักดันให้เกิด "คาร์บอนเป็นศูนย์" เช่น การผลิตพลังงานหมุนเวียนทดแทน


ป่าไม้ - มีมากกว่า 100 ประเทศ ที่ให้คำมั่นว่าจะยกเลิกการตัดไม้ทำลายป่า ภายในปี 2030


ก๊าซมีเทน - มีความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างมาก เมื่อทั่วโลกให้คำมั่นว่าจะยกเลิกการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งถือว่าเป็นตัวการอันดับ 2 ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ลง 30% ภายในปี 2030 แต่จีน, รัสเซีย และอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ปล่อยก๊าซรายใหญ่ ไม่ได้ร่วมลงนามเรื่องนี้ด้วย แต่ก็คาดหวังว่าจะร่วมลงนามในภายหลัง


สร้างตลาดเทคโนโลยีใหม - 40 ประเทศ นำโดยสหราชอาณาจักร, จีน, อินเดีย และสหรัฐฯ จะสร้างมาตรฐาน-กฎใหม่ ในการสร้างตลาดที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ เช่น เห็นพ้องที่จะผลิตเหล็กที่ไม่ใช้ถ่านหินเลย


ไทย - พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ขึ้นเวทีกล่าวถ้อยแถลงเช่นกัน ยืนยันไทยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปี 2019 ไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 17% และไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2065


◾◾◾

🔴 โลกกลับมาปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สูงอีกครั้ง


เมื่อเอ่ยถึงเรื่องสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ นั่นคือเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่หลายชาติให้คำมั่นจะเป็นกลางทางทางคาร์บอนในอนาคต


ในช่วงเริ่มแรกของการระบาดของโควิด-19 การล็อกดาวน์ ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนลดน้อยลงอย่างมาก แต่ปรากฎว่า ตอนนี้ กลับมีเห็นว่าทั่วโลกได้เดินหน้าปล่อยก๊าซคาร์บอนเทียบเท่ากับก่อนเกิดการระบาดแล้ว


ผลการวิจัยนี้ พบว่า "จีน" มีการปล่อยการซเพิ่มขึ้นมาก และคิดเป้นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซทั่วทั้งโลก


ผู้เชี่ยวชาญคาดไว้อยู่แล้วว่า การปล่อยก๊าซจะกลับมามากขึ้นหลังโรคระบาด .. แต่นี่คือ "มากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้"


และมีการประเมินเอาไว้ว่า ในปี 2021 จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศราว 36,400 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ 36,700 ล้านตัน เมื่อ 2 ปีที่แล้ว

—————
เรื่อง: ภัทร จินตนะกุล
ภาพ: Amir Arabshahi

ข่าวที่เกี่ยวข้อง