รวมวิธีแก้ปัญหา "รถติด-น้ำท่วม" ของเมืองที่ผู้ว่าเขาทำได้สำเร็จ
TNN ช่อง16
22 พฤษภาคม 2565 ( 14:00 )
96
เขาพูดกันว่า "ถ้าผู้ว่าดี ปัญหาต่าง ๆ ในเมืองจะหมดไป" บทความนี้จะขอรวบรวมวิธีแก้ปัญหารถติดและน้ำท่วมในแต่ละเมืองทั่วโลก "มาดูกัน ผู้ว่าของพวกเขาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ?"
ปัญหารถติด
- สตอกโฮล์ม: ใช้โครงการ กำหนดราคาถนนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Road Pricing) ถ้าใครขับรถเข้าใจกลางเมืองในวันธรรมดา ระหว่างเวลา 6 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็นจะต้องจ่ายเงิน โดยรถประจำทาง แท็กซี่ รถยนต์ประหยัดพลังงาน รถฉุกเฉินจะได้รับการยกเว้น โครงการดังกล่าวช่วยลดการจราจรลงได้ 25% เอารถออกจากถนนได้ 1 ล้านคันต่อวัน สร้างรายได้จากค่าผ่านทางได้มากถึง 300,000 ดอลลาร์ ซึ่งรายได้ดังกล่าวถูกนำเอามาใช้ปรับปรุงถนนและบริการขนส่งต่าง ๆ ต่อ
- บาร์เซโลนา: ใช้เทคโนโลยี Urban Lab พยากรณ์การจราจรได้แบบไดนามิก เกิดจากการติดตั้งเซ็นเซอร์ที่จุดจอดรถและกล้อง พร้อมระบบสำหรับใช้วิเคราะห์ที่สามารถให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับความพร้อมในการจอดรถ ซึ่งจะถูกส่งผ่าน WiFi ของเมือง เชื่อมกับอุปกรณ์ของคนในเมืองและหน่วยงานท้องถิ่นทั้งหมด กล้องควบคุมการจราจรตรวจสอบการจราจรแบบเรียลไทม์ มีศูนย์ควบคุมในการเพิ่มหรือลดความถี่ของไฟเขียวตามสภาพการจราจร
- ลอนดอน: ใช้เทคโนโลยี Electronic Journey Planner นักวางแผนการเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโปรแกรมวางแผนการเดินทางออนไลน์ สามารถให้คำแนะนำได้ในทันทีเกี่ยวกับเส้นทางในเมืองหลวงของสหราชอาณาจักร ผู้ใช้สามารถเลือกการคมนาคมได้หลากหลาย เช่น การเดิน รถไฟใต้ดิน รถประจำทาง รถไฟบนดิน การขนส่งทางน้ำและจักรยาน มีระบบติดตาม GPS เมื่อใช้ในมือถือ และสามารถกดเรียกแท็กซี่ไปจนถึงตรวจสอบการจราจรได้แบบเรียลไทม์ ครบจบในระบบเดียว
- ฮ่องกง: ใช้ Public Light Bus หรือ PLBs หรือรถโดยสารสาธารณะหรือรถมินิบัส เป็นรถเสริมของรถบัสที่วิ่งในเส้นทางสายหลัก PLBs จะคอยวิ่งในเส้นทางซอกซอยที่ยากต่อการเข้าถึงให้ 1 คันจุได้ 16 ที่นั่ง วิ่งต่อเนื่องด้วยความถี่ที่สูงกว่ารถบัสสายหลักมาก รวมถึงยังวิ่งไปในเส้นทางที่เร็วกว่า PLBs สามารถแก้ปัญหารถติดไปจนถึงปัญหาขับขี่ผิดข้อกฎหมายลงได้
- โคเปนเฮเกน: ใช้โมเดลการขนส่งสาธารณะเชิงบูรณาการ (Integrative Public Transport Model) มีจุดหมายเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดความแออัดของการจราจรลง ตัวระบบจะทำการรวมผู้ประกอบการด้านการขนส่ง 3 ส่วนเข้าด้วยกัน พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลไปยังหน่วยงาน บริษัทและรัฐบาล มีระบบตั๋วแบบบูรณาการที่ช่วยให้ออกตั๋วได้ง่ายขึ้น ทำได้ผ่านแอปพลิเคชันหรือ SMS ได้โดยตรง รวมถึงยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ปลายทางและตั๋วของบริการขนส่งทั้งหมด ใช้ระบบสัญญาณวิทยุและ GPS ในการจัดลำดับความสำคัญของรถประจำทางบนท้องถนน ช่วยลดระยะเวลาเดินทางลงได้ ช่วยลดการปล่อย CO2 ลงถึง 83% เพิ่มการใช้จักรยานในการเดินทางเพิ่มมากขึ้น ทำให้การเดินทางทั้งหมด 63% เป็นการใช้จักรยานในการเดินทางทั้งสิ้น สิ่งนี้ทำให้โคเปนเฮเกนช่วยลดการปล่อย CO2 ลงได้ 90,000 ตันต่อปี
- หางโจว: ใช้ระบบปั่นจักรยานสาธารณะ ซึ่งโครงการแชร์จักรยานสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งของโลก เมืองนี้มีจักรยานสาธารณะ 67,000 คัน จุดบริการ 3,000 จุด มีปริมาณการเช่าเฉลี่ย 230,000 คันต่อวัน ที่ระบบได้รับความนิยมระดับนี้ เพราะมันใช้ง่าย เราสามารถเช่าจักรยานได้โดยใช้สมาร์ตการ์ดที่ใช้กับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ได้ทั้งหมด และตอบโจทย์คนต่างถิ่นที่ไม่มีสมาร์ตการ์ด ให้จ่ายมัดจำโดยตรงได้เช่นกัน ตามข้อมูลระบบจักรยานได้รับความนิยมมากในการใช้เพื่อต่อจากระบบการขนส่งสาธารณะนึง ไปยังอีกระบบนึง ตัวระบบยังได้บูรณาการเข้ากับการท่องเที่ยวในเมือง ทำให้นักท่องเที่ยวก็ชอบในบริการนี้เช่นเดียวกัน
- สหราชอาณาจักร: ใช้ระบบ ATM หรือ Active Traffic Management ระบบการจัดการการจราจรที่จะช่วยควบคุมการจราจรได้อย่างยืดหยุ่น มีระบบ Variable Message Signs หรือ VMS ป้ายข้อความที่เปลี่ยนข้อความได้ ติดอยู่เหนือแต่ละเลนเพื่อให้ความเร็วและการใช้เลนมีความหลากหลาย โดยเฉพาะเพื่อจัดการการไหลของการจราจรและการใช้ช่องทางในช่วงเวลาเร่งด่วน สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์การจราจรที่ต้องต่อสู้กับความแออัดได้ ด้วยระบบเหล่านี้ จะสามารถควบคุมความเร็วของรถในแต่ละช่วงเวลาได้ หรือจะเปิดปิดเส้นทางต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลาก็ได้เช่นกัน ระบบ ATM จะช่วยบอกผู้ขับขี่ถึงความแออัดและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้างหน้า ทำผู้ขับขี่มีเวลาในการเลือกเส้นทางอื่นเพื่อเดินทางได้ ระบบนี้ถูกกว่าค่าในการขยับขยายถนนมากถึง 5 เท่า ช่วยลดการปล่อยมลพิษลงได้ 10% เพราะจากการจราจรที่เร็วขึ้น จะช่วยลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงให้น้อยลง เพราะจะทำให้รถเปลี่ยนเกียร์น้อยลงด้วย
ปัญหาน้ำท่วม
- ประเทศจีน: ใช้โครงการเมืองฟองน้ำ หรือเมืองที่สามารถกักเก็บ ทำความสะอาด และระบายน้ำด้วยวิธีธรรมชาติ โดยใช้แนวทางนิเวศวิทยามาจัดการ แทนที่จะระบายน้ำฝนออก ตัวเมืองจะนำมันไปใช้ ทั้งในด้านการชลประทาน ฟาร์มในเมือง เติมน้ำในถังเก็บน้ำ ไปจนถึงการแปรรูปให้น้ำสะอาดจนสามารถนำมาใช้เพื่อดื่มกินได้ ปัจจุบันมี 16 เมืองในประเทศจีนกำลังเริ่มเดินตามแนวทางโครงการนี้อยู่
- ประเทศแถบยุโรป:
- - ใช้นวัตกรรมที่ชื่อว่าหลังคาเขียวหรือสวนบนดาดฟ้า หรือก็คือหลังคาที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ ช่วยดูดซับน้ำฝนและช่วยบรรเทาอุทกภัย สำหรับเจ้าของอาคาร มันคือเครื่องมือในการจัดการน้ำจากพายุ สำหรับชุมชนมันช่วยลดการไหลบ่าของน้ำฝน และสำหรับสิ่งแวดล้อม มันช่วยป้องกันไม่ให้ท่อระบายน้ำล้น เปลี่ยนฝนกรดให้เป็นกลาง และขจัดมลพิษไนโตรเจนออกจากน้ำฝน
- หลาย ๆ เมืองยังได้สร้างที่ราบน้ำท่วม สำหรับใช้กักเก็บน้ำและดูดซับน้ำ สำหรับปริมาณน้ำฝนที่ตกมามาก ๆ โดยเฉพาะ - - มีการวางท่อสำหรับแยกน้ำฝนออกจากท่อระบายน้ำ ช่วยให้โรงบำบัดน้ำเสียทำงานต่อได้
- - ใช้เทคโนโลยีช่วยให้น้ำใต้ดินระบายได้เร็วขึ้น แก้ปัญหาในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่นและมีระดับน้ำใต้ดินที่มาก
- - ทางเท้าที่น้ำสามารถไหลซึมได้ เป็นหนึ่งในวิธีการที่เมืองหลาย ๆ เมืองใช้ วิธีการคือ แทนที่พื้นผิวทางเท้าจากคอนกรีตให้เป็นวัสดุที่น้ำสามารถซึมผ่านได้ เช่น หญ้า สวน ซึ่งจะทำให้น้ำฝนไหลลงสู่ดินได้ดีมากขึ้น
- - ปรับโครงสร้างบ้านให้ความเสียหายลดน้อยลง หากเกิดน้ำท่วมขึ้นอีกครั้ง โดยการใช้วัสดุที่ทนกับน้ำ ประตูมีซีลที่ทนต่อสภาพอากาศ ยกส่วนของเต้ารับไฟฟ้าให้สูงขึ้น
- - สร้างสวนน้ำฝน เป็นพื้นที่ที่ตื้น แบน และต่ำกว่าพื้นดินเล็กน้อย สวนเหล่านี้สามารถดักน้ำฝนและปล่อยน้ำให้พืชและดินกรองมลพิษออกตามธรรมชาติได้ และสวนน้ำฝนสามารถดูดซับน้ำได้มากกว่าภูมิทัศน์ทั่วไปถึง 30% มีหลายเมืองที่วางมาตรการให้แต่ละบ้านสร้างสวนน้ำฝนของตัวเอง โดยเสนอส่วนลดให้
- - ใช้นวัตกรรมที่ชื่อว่าหลังคาเขียวหรือสวนบนดาดฟ้า หรือก็คือหลังคาที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ ช่วยดูดซับน้ำฝนและช่วยบรรเทาอุทกภัย สำหรับเจ้าของอาคาร มันคือเครื่องมือในการจัดการน้ำจากพายุ สำหรับชุมชนมันช่วยลดการไหลบ่าของน้ำฝน และสำหรับสิ่งแวดล้อม มันช่วยป้องกันไม่ให้ท่อระบายน้ำล้น เปลี่ยนฝนกรดให้เป็นกลาง และขจัดมลพิษไนโตรเจนออกจากน้ำฝน
- โตเกียว: ใช้การสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใต้ดิน ชื่อระบบว่า The Metropolitan Area Outer Underground Discharge Channel หรือเรียกสั้น ๆ ว่า G-Cans เป็นช่องระบายน้ำที่มีระบบผันน้ำใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก อ่างเก็บน้ำนี้เชื่อมต่อกับแม่น้ำ 5 สายของโตเกียวผ่านปล่องระบายน้ำแนวตั้ง ซึ่งแต่ละแห่งมีขนาดใหญ่พอที่จะสร้างเทพีเสรีภาพขึ้นมาได้ ท่อระบายน้ำเหล่านี้เชื่อมต่อกันด้วยอุโมงค์ใต้ดินยาวกว่าสี่ไมล์ ซึ่งน้ำส่วนเกินจากฝนตกจะเดินไหลผ่านไปรวมกันในอ่างเก็บน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ ของช่องที่มีชื่อเรียกว่าวัดใต้ดิน เมื่อพายุสงบ น้ำในอ่างเก็บน้ำจะถูกสูบเข้าสู่แม่น้ำเอโดะด้วยอัตรา 53,000 แกลลอนต่อวินาที เทียบเท่ากับการระบายน้ำในสระขนาดโอลิมปิกทุก 12.5 วินาที เมื่อไม่มีน้ำหรือมีน้อย วัดใต้ดินยังเปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเคยถูกใช้ถ่ายภาพยนตร์และใช้โฆษณาทางโทรทัศน์ได้อีกด้วย