รีเซต

สรุปมาตรการศบค.จัดงานเทศกาลปีใหม่ ทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง เช็กที่นี่!

สรุปมาตรการศบค.จัดงานเทศกาลปีใหม่ ทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง เช็กที่นี่!
TNN ช่อง16
13 ธันวาคม 2564 ( 16:08 )
138

วันนี้ (13 ธ.ค.64) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงผลการประชุมศบค.ชุดใหญ่ ถึงการปรับมาตรการการป้องกันควบคุมโควิด-19 ในการจัดงานช่วงเทศกาลปีใหม่ ดังนี้


1.คืนเคาท์ดาวน์ บริโภคสุราได้ไม่เกิน 01.00 น.

ศบค.มีมติอนุญาตให้มีการบริโภคสุราได้ในคืนวันที่ 31 ธ.ค. 64 และวันที่ 1 ม.ค. 65 สามารถเปิดบริการ และบริโภคสุราได้ไม่เกินเวลา 01.00 น. เฉพาะร้านที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวกเท่านั้นทั้งนี้ ให้เคร่งครัดตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค ที่สาธารณสุขกำหนด (COVID Free Setting)



2.ร้านอาหาร บริโภคอาหารในร้านได้ เปิดได้ตามปกติ

สำหรับมาตรการร้านอาหารทั้งในและนอกศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่อื่นใดที่มีร้านอาหาร นั้น

พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) อนุญาตให้บริโภคอาหารในร้านได้ เปิดได้ตามปกติ (ห้ามการบริโภคสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน) ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.สามารถพิจารณากำหนดมาตรการ และเวลาเพิ่มเติมได้ ตามสถานการณ์ของพื้นที่ได้ 

พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (สีฟ้า) อนุญาตให้บริโภคอาหารในร้านได้ เปิดได้ตามปกติ โดยให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.สามารถพิจารณากำหนดมาตรการ และเวลาเพิ่มเติมได้ ตามสถานการณ์ของพื้นที่ได้


3.มาตรการความปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ กรณีมีผู้ร่วมงานตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป

3.1 COVID Free Personnel ผู้จัดงาน พนักงาน นักร้อง นักดนตรี 

- ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

- ต้องมีการตรวจ ATK ก่อนจัดงานภายใน 72 ชั่วโมง

- คัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้างาน ด้วย Thai save Thai หรือแอปพลิเคชั่นอื่น 

- ถือปฏิบัติตามมาตรการ UP-DMHTA

3.2 COVID Free Customer ผู้เข้าร่วมงาน

- ต้องลงทะเบียน และแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์

- มีผลตรวจ ATK เป็นลบก่อนเข้างานภายใน 72 ชั่วโมง

- คัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้างาน ด้วย Thai save Thai หรือแอปพลิเคชั่นอื่น 

- ถือปฏิบัติตามมาตรการ UP-DMHTA

3.3 COVID Free Environment

- ต้องจัดงานในพื้นที่ที่ควบคุมการเข้าออกได้ (พื้นที่ปิด) และในที่โล่งแจ้ง เท่านั้น

- ต้องจัดการไม่ให้เกิดความแออัดในการจัดงาน โดยดำเนินการ ดังนี้ อาจจัดให้มีการจองตั๋วล่วงหน้า หรือลงทะเบียนล่วงหน้า ก่อนถึงวันจัดงาน , กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จุดเดียว และมีระบบคิว ให้สามารถควบคุมได้ , - จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงาน 1 คนต่อ 4 ตร.ม. และติดป้ายแสดงจำนวนผู้ใช้บริการให้เห็นชัดเจน

- กำหนดโซนของผู้เข้าร่วมงาน ระบุที่นั่ง อาจจัดเป็นกลุ่ม (ไม่เกิน 5 คน) หรือ 2 ที่เว้น 1 ที่ และเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร

- งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความไร้ระเบียบ หรือสัมผัสใกล้ชิดกัน เช่นการจัดพื้นที่เต้นรำส่วนกลาง หรือทำกิจกรรมร่วมกัน

- เน้นการทำความสะอาดพื้นที่ พื้นผิว หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสร่วมกัน ทุก1-2 ชั่วโมง

- กรณีมีการแสดง ควรจัดระยะห่างระหว่างเวทีและผู้ชมอย่างน้อย 5 เมตร และเว้นระยะห่างของนักดนตรี นักแสดงบนเวทีอย่างน้อย 1 เมตร


4.มาตรการความปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ กรณีมีผู้ร่วมงานต่ำกว่า 1,000 คน

4.1 COVID Free Personnel ผู้จัดงาน พนักงาน นักร้อง นักดนตรี 

- ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

- ต้องมีการตรวจ ATK ก่อนจัดงานภายใน 72 ชั่วโมง

- คัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้างาน ด้วย Thai save Thai หรือแอปพลิเคชั่นอื่น 

- ถือปฏิบัติตามมาตรการ UP-DMHTA

4.2 COVID Free Customer ผู้เข้าร่วมงาน

- "อาจ" ต้องลงทะเบียน และแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ยกเว้นเด็กต่ำกว่า 12 ปีที่มากับผู้ปกครอง

- คัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้างาน ด้วย Thai save Thai หรือแอปพลิเคชั่นอื่น 

- ถือปฏิบัติตามมาตรการ UP-DMHTA

4.3 COVID Free Environment

- ต้องจัดงานในพื้นที่ที่ควบคุมการเข้าออกได้ (พื้นที่ปิด) และในที่โล่งแจ้ง เท่านั้น

- ต้องจัดการไม่ให้เกิดความแออัดในการจัดงาน โดยดำเนินการ ดังนี้ อาจจัดให้มีการจองตั๋วล่วงหน้า หรือลงทะเบียนล่วงหน้า ก่อนถึงวันจัดงาน , กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จุดเดียว และมีระบบคิว ให้สามารถควบคุมได้ , - จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงาน 1 คนต่อ 4 ตร.ม. และติดป้ายแสดงจำนวนผู้ใช้บริการให้เห็นชัดเจน

- กำหนดโซนของผู้เข้าร่วมงาน ระบุที่นั่ง อาจจัดเป็นกลุ่ม (ไม่เกิน 5 คน) หรือ 2 ที่เว้น 1 ที่ และเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร

- งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความไร้ระเบียบ หรือสัมผัสใกล้ชิดกัน เช่นการจัดพื้นที่เต้นรำส่วนกลาง หรือทำกิจกรรมร่วมกัน

- เน้นการทำความสะอาดพื้นที่ พื้นผิว หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสร่วมกัน ทุก1-2 ชั่วโมง

- กรณีมีการแสดง ควรจัดระยะห่างระหว่างเวทีและผู้ชมอย่างน้อย 5 เมตร และเว้นระยะห่างของนักดนตรี นักแสดงบนเวทีอย่างน้อย 1 เมตร


5.มาตรการความปลอดภัย สำหรับกิจกรรม/กิจการที่มีความเสี่ยง

ขนส่งสาธารณะ

- สถานีขนส่ง/ท่ารถ/ท่าเรือ ให้จัดมีมาตรการเว้นระยะห่าง มีการระบายอากาศเป็นตามเกณฑ์ และทำความสะอาดบ่อยๆ

- ยานพาหนะ เน้นทำความสะอาดหลังจากใช้บริการแต่ละครั้ง กรณีพาหนะที่เป็นแบบปรับอากาศ ให้เปิดระบายอากาศ ทุก 2 ชม.

หรือขณะพักรถ และหลังจากให้บริการแต่ละเที่ยว

- ผู้โดยสารสวมหน้ากากตลอดเวลา และห้ามไม่ให้รับประทานอาหาร ขณะกำลังโดยสาร

ปั๊มน้ำมัน

- ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมบ่อยๆ โดยเฉพาะห้องน้ำ บริเวณจุดที่พักคอย

- กิจการที่อยู่ในปั้ม่น้ำมัน ให้ดำเนินการตามมาตรการ CFS ทุกกิจการ

ร้านอาหาร

- จัดให้มีการระบายอากาศ และควบคุมความหนาแน่นในร้านอาหาร

- งดไม่ให้มีกิจกรรมส่งเสริมการขายแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบ และบริการที่ต้องมีการสัมผัสใกล้ชิด

- การทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมบ่อยๆ โดยเฉพาะห้องน้ำ

ห้างสรรพสินค้า/คอมมูนิตี้มอล

- ควบคุมการรวมกลุ่ม/ความหนาแน่น และการเว้นระยะห่างในการใช้บริการ โดยเฉพ าะศูนย์อาหาร ร้านอาหาร บริเวณที่จัดให้มีการแสดงสินค้า หรือส่งเสริมการขาย ลานกิจกรรม โรงภาพยนตร์ ฯลฯ

- การทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมบ่อยๆ โดยเฉพาะห้องน้ำ ที่พักคอย

- ทุกกิจการย่อยในห้างสรรพสินค้าให้ดำเนินการตามมาตรการ CFS

แหล่งท่องเที่ยว

- ควบคุมการรวมกลุ่ม/ความหนาแน่น และการเว้นระยะห่าง

- กิจการ/กิจกรรมภายในแหล่งท่องเที่ยวให้ดำเนินการตามมาตรการ CFS

กิจกรรมรวมตัวของเครือญาติ/จัดงานสังสรรค์ที่บ้าน

- แนะนำฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ หรือตรวจ ATK ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม

- แนะนำสวมหน้ากาก โดยเฉพาะเมื่อต้องใกล้ชิดผู้สูงอาย

- หากจัดกิจกรรมสังสรรค์ควรจัดในที่มีอากาศระบายได้ดี หรือที่โล่ง จัดพื้นที่ไม่ให้หนาแน่น งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน

ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคชีน งดร่วมกิจกรรมสังสรรค์ และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน


6.กำหนดพื้นที่จัดงานเทศกาลปีใหม่ 44 จังหวัด

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับมาตรการท่องเที่ยวเทศกาลปีใหม่ สำหรับจัดงานใน 5 พื้นที่หลักที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ภูเก็ต ระยอง อยุธยา และในพื้นที่อื่นๆอีก 44 จังหวัด ซึ่งได้มีการกำหนดการจัดงานในช่วง 27 ธ.ค.-31 ธ.ค. 64 โดยแบ่งช่วงเวลาจัดงาน ดังนี้

- วันที่ 27 ธ.ค.-30 ธ.ค. 64 ช่วงเวลา 16.00-22.00 น.

- วันที่ 31 ธ.ค. 64 ช่วงเวลา 16.00-00.30 น.

ส่วนร้านอาหารพื้นถิ่นไม่อนุญาตให้มีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


สำหรับรายชื่อจังหวัดที่อยู่ในโซนสีพื้นที่ต่างๆ มีดังนี้

พื้นที่ควบคุม 39 จังหวัด

ได้แก่ ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร เชียงใหม่ เชียงราย ตรัง ตราด ตาก นครนายก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน สตูล สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา สระแก้ว สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี อุดรธานี และอุบลราชธานี

พื้นที่เฝ้าระวังสูง 30 จังหวัด

ได้แก่ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ชัยนาท ชัยภูมิ นครปฐม นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ พิจิตร พะเยา แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สมุทรสงคราม สิงห์บุรี สุโขทัย สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อ่างทอง และอำนาจเจริญ

พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 8 จังหวัด

ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี พังงา ภูเก็ต (จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่ 18 จังหวัด)





ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19

ภาพจาก AFP , Thaigov


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง