รีเซต

ความร่วมมืออาชีวศึกษา 'จีน-อาเซียน' บรรลุผลสำเร็จโดดเด่นต่อเนื่อง

ความร่วมมืออาชีวศึกษา 'จีน-อาเซียน' บรรลุผลสำเร็จโดดเด่นต่อเนื่อง
Xinhua
31 สิงหาคม 2566 ( 21:19 )
123

กุ้ยหยาง, 31 ส.ค. (ซินหัว) -- ความร่วมมือระหว่างกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวงของไทย และวิทยาลัยอาชีวศึกษาพานอวี๋กว่างโจวประสบความสำเร็จเรื่อยมานับตั้งแต่ปี 2019 โดยมีการจัดตั้งฐานฝึกอบรมผู้มีความสามารถด้านวิชาชีพและก่อตั้งช่องทางบริการสาธารณะที่มีความสามารถแข่งขันระดับโลก รวมไปถึงกำหนดมาตรฐานการเรียนการสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการเครื่องประดับ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมและบริการรูปแบบใหม่ อีกทั้งนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมร่วมจำนวน 12 คน ก็จบการศึกษาและได้รับวุฒิระดับอนุปริญญาจากทั้งสองสถาบันสถาบันอาชีวศึกษา 9 แห่ง และองค์กร 1 แห่งในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งรวมถึงกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง และเหล่าพันธมิตรจากจีน ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการบูรณาการอุตสาหกรรมกับการศึกษา รวมไปถึงการฝึกอบรมบุคคลากรในต่างประเทศ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีต่อความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาระหว่างจีนกับอาเซียน โดยได้รับการยกย่องให้เป็น "พันธมิตรด้านอาชีวศึกษาที่โดดเด่นของจีน-อาเซียน" ชุดแรก ณ การประชุมอาชีวศึกษานานาชาติจีน-อาเซียน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ส.ค.ในการประชุมฯ พรอนันต์ ภักดีบุญ ผู้อำนวยการกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง กล่าวว่ากาญจนาภิเษกวิทยาลัยฯ และวิทยาลัยอาชีวศึกษาพานอวี๋กว่างโจวร่วมบ่มเพาะบุคคลากร ด้วยการเทียบโอนหน่วยกิต พัฒนาหลักสูตร และแบ่งปันทรัพยากรระหว่างกัน รวมถึงจัดทำแผนหลักสูตรร่วมกัน ทำให้นักเรียนในโครงการมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากทั้งด้านภาษาจีน ทฤษฎีเกี่ยวกับเครื่องประดับ และทักษะภาคปฏิบัติหลิวเตี้ยนหลาน รองผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาพานอวี๋กว่างโจว กล่าวว่าในบรรดานักเรียน 12 คนของโครงการฯ มีนักเรียน 5 คน ประสงค์ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ซึ่งจะสำเร็จการศึกษาจากไทยในปีนี้ ส่วนอีก 7 คน เข้าทำงานในองค์กรด้านเครื่องประดับในไทย ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากนายจ้าง พร้อมเผยว่าทั้งสองสถาบันร่วมกันยกระดับความเป็นสากลของทรัพยากรครู ตลอดจนความสามารถและวิสัยทัศน์ของนักเรียนนอกจากจะเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกันและกัน ปัจจุบันจีนและอาเซียนยังเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ที่มีพลวัตมากที่สุดระหว่างกันด้วย ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าที่รุดหน้า มาพร้อมกับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และภาคอาชีวศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญข้อมูลระบุว่ามีนักเรียนจากกลุ่มประเทศอาเซียนเดินทางไปศึกษาด้านทักษะวิชาชีพในจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปีการศึกษา 2021-2022 นักเรียนจากอาเซียนคิดเป็นราวร้อยละ 30 ของนักเรียนต่างชาติในจีน ซึ่งจวบจนปัจจุบัน สถาบันในมณฑลกุ้ยโจวที่มีคุณสมบัติในการรับนักเรียนต่างชาติทั้ง 32 แห่ง ฝึกอบรมนักเรียนต่างชาติไปแล้วกว่า 21,000 คน ครอบคลุมประเทศและภูมิภาค 79 แห่ง ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 มาจากอาเซียนจำนวนสมาชิกสหพันธ์อาชีวศึกษาจีน-อาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน 2022 โดยมีความร่วมมือเชิงปฏิบัติในสาขาสำคัญ อาทิ ระบบขนส่งทางราง อุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การเกษตรอัจฉริยะ และพลังงานสะอาด ฯลฯ ทั้งยังมีการจัดตั้ง "หลักสูตรและมาตรฐานอาชีวศึกษาออนไลน์จีน-ไทย" ที่ใช้หลักสูตรสากล 3 ภาษาจีน-อังกฤษ-ไทย มีศูนย์การสอนทางไกล และฐานปฏิบัติงานที่ร่วมมือกับองค์กรธุรกิจ และฝึกอบรมนักเรียนแล้วเกือบ 10,000 คนหลายปีที่ผ่านมา จีน-อาเซียนก่อตั้งองค์กรอาชีวศึกษาจำนวนมาก  เช่น กลุ่มพันธมิตรอาชีวศึกษาการขนส่งจีน-อาเซียน ในปี 2017 และพัฒนาหลักสูตรระดับสากลกว่า 60 รายการ ผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนมากกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีบทบาทสำคัญในโครงการต่างๆ อาทิ ทางรถไฟจีน-ลาว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง