รีเซต

ทำความเข้าใจกันหน่อย! Home Isolation VS Home Quarantine ต่างกันอย่างไร?

ทำความเข้าใจกันหน่อย! Home Isolation VS Home Quarantine ต่างกันอย่างไร?
TeaC
13 กรกฎาคม 2564 ( 14:30 )
728
ทำความเข้าใจกันหน่อย! Home Isolation VS Home Quarantine ต่างกันอย่างไร?

เมื่อรู้ว่าตัวเองติดเชื้อโควิด ต้องทำอย่างไร? ในสภาวะที่โรงพยาบาลสนาม เอกชน ภาครัฐต่างแออัด หนาแน่นไปด้วยประชาชนที่เข้ารับการรักษา ตั้งแต่ขั้นกลุ่มสีแดง (รุนแรง) กลุ่มสีเหลือง และกลุ่มสีเขียว ที่ยังรอคอยเข้ารับการรักษา หลังปัญหาเตียงไม่เพียงพอ แถมจำนวนผู้ติดเชื้อนับวันยิ่งสูงขึ้นอีกด้วย 

 

มาจนถึงวันนี้ที่การรักษาโควิด-19 ไม่ได้มีแค่ที่โรงพยาบาลอีกต่อไป เมื่อเตียงไม่พอ แพทย์ พยาบาล บุคลากรต่างติดเชื้อ  แนวทาง Home Isolation และ Home Quarantine จึงถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงนี้ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการรองรับวิกฤตคนป่วยล้นโรงพยาบาล TrueID จะพาทุกคนไปดูว่า Home Isolation และ Home Quarantine มีความแตกต่างอย่างไร? ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?

 

Home Isolation หรือการกักตัว คือ การให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รักษาตัวที่บ้าน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ทางการแพทย์ เช่น อายุไม่เกิน 60 ปี มีปัจจัยแวดล้อมในบ้านที่เหมาะสม และมีอาการไม่รุนแรง สำหรับเกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยที่จะทำ Home Isolation ประกอบไปด้วย 7 หลักเกณฑ์ คือ

 

  • เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ
  • มีอายุไม่เกิน 60 ปี
  • มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
  • ไม่มีภาวะอ้วน
  • ไม่มีโรคร่วม เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, เบาหวานที่คุมไม่ได้
  • ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

 

โดยสถานพยาบาลจะประเมินผู้ติดเชื้อตามดุลยพินิจของแพทย์ ก่อนจะลงทะเบียน ให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวกับผู้ติดเชื้อ มีระบบติดตามอาการ และประเมินอาการ พร้อมทั้งแจกปรอทวัดไข้และเครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด ซึ่งผู้ป่วยสามารถทำเองได้ที่บ้าน สุดท้ายคือมีระบบรับ-ส่งผู้ป่วยไปสถานพยาบาลหากมีอาการรุนแรงขึ้น

 

ถ้าพบว่าติดเชื้อแล้วอยาก Home Isolation ติดต่ออย่างไร  ง่าย ๆ คือสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือช่องทางเบอร์โทรศัพท์ 1330 

 

 

ผู้ป่วยแยกโรคที่บ้านได้ ต้องปฏิบัติตามนี้ 

 

ในกรณีที่แพทย์พิจารณาให้ผู้ป่วยแยกโรคที่บ้านได้ สามารถให้ผู้ป่วยดูแลรักษาตัวโดยปฏิบัติดังนี้

  • ผู้ป่วยหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้าน จนกว่าอาการจะหายเป็นปกติไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก อย่างน้อย 1 วัน เพื่อลดการแพร่เชื้อ
  • เมื่อมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  • เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ โดยการเช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เน้นการเช็ดตัวลดไข้ บริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกระหว่างเช็ดแขนขาเพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเกินไป หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ต้องหยุดเช็ดตัวและห่มผ้าให้อบอุ่นทันที
  • ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด
  • พยายามรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง
  • นอนพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก

 

แนะนำผู้ป่วยว่า หากมีอาการมากขึ้น เช่น ไข้สูง เหนื่อยมากขึ้น แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก กินไม่ได้ เพราะโรคนี้อาจมี ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที โดยสามารถแจ้งที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 

 

 

Home Quarantine คืออะไร?

 

Home Quarantine  หรือการกักกัน คือ การให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เป็นผู้ที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 ให้แยกกักกัน (ตัวเอง) อยู่แต่ในบ้าน และแยกจากผู้อื่นในบ้านภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ควบคุมโรค เป็นระยะเวลา 14  วัน โดย สิ่งที่ผู้สัมผัสต้องปฏิบัติ ดังนี้

 

  • ผู้สัมผัสควรหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้านจนกว่าจะครบ 14 วันหลังการสัมผัส
  • ผู้สัมผัสควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกบ้าน ไม่เดินทางไปที่ชุมชนหรือที่สาธารณะ
  • รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
  • หากมีอาการไอให้ สวมหน้ากากอนามัย หรือปิดปากจมูกตัวยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม โดยปิดถึงคาง แล้วทิ้งทิชชูลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง หรือใช้แขนเสื้อปิดปากจมูกเมื่อไอหรือจาม
  • ทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที
  • เมื่ออยู่กับผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่น ๆ ในบ้านประมาณ 1-2 เมตรหรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ
  • ทุกคนในบ้านควรล้างมือบ่อยครั้งที่สุด เพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียงผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าตัวยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 c
  • เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกในบ้าน ภายในระยะเวลา 14 วัน หลังสัมผัสผู้ป่วย โดยวัดไข้และรายงานอาการต่อทีมสอบสวนโรคทุกวัน

 

ข้อปฏิบัติที่สำคัญอย่างมาก :  คือ ต้องสวมหน้ากากอนามัย แยกของใช้ส่วนตัว งดกินอาหารร่วมกัน เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อย ๆ 

 

ข้อเสีย :

1. กรณีอยู่บ้านคนเดียว หากสุขภาพแย่ลง และไม่มีคนดูแล ไม่มีใครทราบ อาจเกิดอันตรายและเสี่ยงเสียชีวิต

2. เป็นผลเสียต่อชุมชน จากการทบทวนในต่างประเทศ ซึ่งตั้งแต่การระบาดรอบแรกมีหลายประเทศใช้วิธีนี้ อย่างอังกฤษ พบว่า ผลการแยกกักตัวที่บ้านไม่ได้ 100% ทำให้มีการแพร่เชื้อไปสู่ครอบครัว หรือออกมาซื้ออาหารก็อาจแพร่เชื้อไปชุมชน

 

 

ข้อมูล :  กรมอนามัย, รพ.ธนบุรี

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง