รีเซต

ร่วมค้าน ‘ตัดเบี้ยผู้สูงอายุ’ หวังรัฐทบทวนปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินใหม่

ร่วมค้าน ‘ตัดเบี้ยผู้สูงอายุ’ หวังรัฐทบทวนปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินใหม่
TNN ช่อง16
17 สิงหาคม 2566 ( 11:37 )
95

ประชาชนร่วมทำกิจกรรม “ค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” โดยเครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) จากกรณีที่มีการปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน ‘เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ’ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น .. 2566 แบบใหม่ ที่ กระทรวงการคลัง.อารีย์สัมพันธ์

สืบเนื่องจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน ‘เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ’ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น .. 2566 ลงนามโดย ‘พล..อนุพงษ์ เผ่าจินดา’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยประเด็นสำคัญที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์คือ การแก้ไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพจากเดิม 

ที่ต้องมีสัญชาติไทย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยมีการปรับเงื่อนไขจากเดิม "ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯมาเป็น "ผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนดส่งผลให้จากระบบให้แบบถ้วนหน้าไปเป็นสังคมสงเคราะห์เฉพาะคน

ด้าน ‘รัชดา ธนาดิเรก’ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจะออกมายืนยันว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพอยู่ก่อนวันที่ระเบียบใช้บังคับ จะยังมีสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไป โดย รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังยกเรื่องปัญหาทางงบประมาณโดยอ้างว่า วันนี้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพอยู่ก่อนวันที่ระเบียบใช้บังคับ จะยังมีสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไป ซึ่งวันนี้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะเพิ่มต่อเนื่อง งบประมาณจากเคยตั้งไว้ 50,000 ล้านบาทต่อปี เพิ่มเป็น 80,000 ล้านบาทและแตะ 90,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2567 

ดังนั้น หากลดการจ่ายเบี้ยฯ แก่ผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้สูงหรือผู้สูงอายุที่ร่ำรวย เพราะงบประมาณที่จ่ายให้ไปอาจจะไม่มีความจำเป็น ถือเป็นการใช้นโยบายการคลังที่พุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือไปยังกลุ่มคนที่มีความจำเป็นและเดือดร้อนกว่า อีกทั้ง คือการสร้างความยั่งยืนทางการคลังระยะยาว(เมื่อวันที่ 17 ..66) 

ภาพโดยธนาชัย ประมาณพาณิชย์


ข่าวที่เกี่ยวข้อง