รีเซต

ติดเชื้อโควิด! เปิดผลศึกษาพบคุณภาพการ"นอนหลับ"ด้อยลงมีนัยสำคัญ

ติดเชื้อโควิด! เปิดผลศึกษาพบคุณภาพการ"นอนหลับ"ด้อยลงมีนัยสำคัญ
TNN ช่อง16
25 กันยายน 2565 ( 08:08 )
47
ติดเชื้อโควิด! เปิดผลศึกษาพบคุณภาพการ"นอนหลับ"ด้อยลงมีนัยสำคัญ

วันนี้( 25 ก.ย.65) ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด ผ่านทางเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เกี่ยวกับโรคโควิด-19 โดยระบุว่า

"25 กันยายน 2565...

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 310,688 คน ตายเพิ่ม 644 คน รวมแล้วติดไป 619,946,327 คน เสียชีวิตรวม 6,539,675 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น รัสเซีย ไต้หวัน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 90.8 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 78.72

...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 6 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม


...ปัญหาเรื่องการนอนหลับ

อาการดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงกันมากในผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 มาก่อน และถือเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของผู้ป่วย Long COVID เพราะกระทบต่อคุณภาพชีวิต และส่งผลต่อสมรรถนะการใช้ชีวิตประจำวัน


ล่าสุด Alzueta E และคณะวิจัยจากหลายประเทศได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ด้านการนอนหลับ เมื่อ 23 กันยายน 2565 ที่ผ่านมาทำการสำรวจเพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับในผู้ที่เคยมีประวัติติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 1,001 คน จาก 32 ประเทศทั่วโลกโดยคุณภาพการนอนหลับนั้นทำการประเมิน 6 มิติ ได้แก่ ความสม่ำเสมอของเวลาในการเข้านอนและตื่นนอน, ความพึงพอใจกับการนอนหลับ, การไม่รู้สึกง่วงในเวลากลางวัน, ช่วงเวลาที่ควรนอนหลับ, ประสิทธิภาพในการนอนหลับ, และ ระยะเวลาที่นอนหลับ


ผลการศึกษาพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว คุณภาพการนอนหลับของผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นด้อยลงกว่าช่วงก่อนที่จะติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต


แม้การศึกษานี้จะยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควรในเรื่องการวัดประเมินก่อนหลังติดเชื้อที่อาจมี recall bias รวมถึงปัจจัยอื่นที่อาจมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ที่ประเมินได้ แต่ถือว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์ สอดคล้องกับปัญหาผู้ป่วย Long COVID ที่พบเห็นกันอยู่ในปัจจุบันตอกย้ำให้เราทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด


และหากใครที่ติดเชื้อไปแล้ว ก็ควรประเมินสุขภาพของตนเอง หากพบอาการผิดปกติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาหรือฟื้นฟูสภาพอย่างเหมาะสมใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก"





ภาพจาก AFP/รอยเตอร์

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง