27 มิถุนา สถาปนา 'ธรรมศาสตร์' มหาวิทยาลัยเพื่อ 'ราษฎร' แห่งแรกของไทย
ย้อนไปก่อนหน้านั้น พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.2476 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา นับเป็นมหาวิทยาลัยเปิดเพื่อราษฎรแห่งแรกตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรและ ดร.ปรีดี พนมยงค์ โดยหลักที่ 6 กล่าวว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร”
ต่อมา วันที่ 27 มิถุนายน 2477 สมเด็จฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์รัชกาลที่ 7 เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีสถาปนา โดยมี ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ กล่าวรายงาน
ในปีแรก มีผู้สมัครเรียน 7,094 คน
สำนักหอสมุดได้รับการก่อตั้งในปีเดียวกัน แต่เปิดให้บริการได้ครั้งแรก เมื่อปี 2479 เดิมเป็นแผนกตำราและห้องสมุด
พ.ศ.2480 มีการตราข้อบังคับให้เปิดชั้นเตรียมปริญญา โดยกำหนดให้รับผู้สอบไล่ได้ชั้นมัธยมบริบูรณ์เข้าศึกษา 2 ปี เพื่อเตรียมคนเข้าศึกษาหลักสูตร “ธรรมศาสตร์บัณฑิต” เป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่คู่สังคมไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
และต่อไปนี้คือภาพชุดและเอกสารส่วนหนึ่งในยุคแรกตั้ง ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก “ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี”