รีเซต

เมียนมาติดเชื้อโควิดรายวันพุ่งเจออีก 180 คน

เมียนมาติดเชื้อโควิดรายวันพุ่งเจออีก 180 คน
TNN ช่อง16
10 กันยายน 2563 ( 11:30 )
55
เมียนมาติดเชื้อโควิดรายวันพุ่งเจออีก 180 คน

วันนี้ ( 10 ก.ย. 63 )สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในเมียนมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังพุ่งสูงต่อเนื่องในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาตัวเลขติดเชื้อรายใหม่ 180 คน ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วประเทศพุ่งไปที่ 1,889 คนแล้ว ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 12 ราย 


ผลการสอบสวนโรคของผู้ป่วยพบว่าพบมากที่สุดในภูมิภาคย่างกุ้ง 141 คน ตามด้วยรัฐยะไข่ 20 คน และกระจัดกระจายตามภูมิภาคมัณฑะเลย์ พะโค รัฐ กรุงเนปิดอว์ รัฐฉาน และรัฐกะฉิ่น 


ด้านสำนักงานสาธารณสุขของภูมิภาคย่างกุ้งยกระดับมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุก ด้วยการส่งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครลงพื้นที่เคาะประตูตามบ้าน โดยเริ่มจากเขตซึ่งมีผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด และมีผู้ที่เพิ่งกลับมาจากรัฐยะไข่


ขณะเดียวกัน ดิ อิรวดี สื่อเมียนมารายงานว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประธานาธิบดีและสำนักงานที่ปรึกษาแห่งรัฐ นางออง ซานซูจี จำนวนเกือบ 30 คน รวมถึงนักข่าวอีกหลายสิบชีวิตที่ร่วมฟังแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ต้องกักกันตนเอง เพราะเจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งในสำนักงานประธานาธิบดีติดเชื้อโควิด-19 


แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะมีแผนป้องกันเหตุทะเลาะวิวาท และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ทั้งมาตรการทางกฎหมาย เพื่อบังคับใช้อย่างเด็ดขาด ในการดำเนินคดีอาญากับผู้ก่อเหตุใช้ความรุนแรงทะเลาะวิวาททุกราย อีกทั้งยังให้ทุกโรงพยาบาลจัดทำแผนการป้องกันเหตุทะเลาะวิวาท แต่สุดท้ายก็ยังมีเหตุทะเลาะวิวาท และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลอยู่เช่นเดิม 


ประเด็นนี้ นาย โกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกอัยการสูงสุด เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ตามข้อกฏหมาย บุคคลใดที่เข้าไปยังพื้นที่สงวน หรือพื้นที่ส่วนตัวทางการแพทย์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมเป็นความผิดฐานบุกรุก หากก่อเหตุในเวลากลางคืนก็จะมีบทลงโทษรุนแรงเพิ่มขึ้น และหากก่อเหตุในโรงพยาบาล จนเป็นเหตุให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับบาดเจ็บ ต้องถูกดำเนินคดีฐานความผิดทำร้ายร่างกาย 


ทั้งนี้“แพทย์-พยาบาลของรัฐ” นับเป็นพนักงานราชการตามกฎหมาย ถ้าผู้ก่อเหตุยังเข้าทำร้ายร่างกาย “แพทย์- พยาบาลของรัฐ” ก็มีโอกาสเข้าข่ายทำร้ายเจ้าพนักงาน มีบทลงโทษสูงกว่าการทำร้ายบุคคลทั่วไป และในระหว่างทะเลาะวิวาท มีการตะลุมบอนทำร้ายกันอยู่นั้น อาจทำให้บุคคลอื่นเกิดความกลัวตกใจ ต้องมีความผิดทำให้ผู้อื่น “ตกใจกลัว” ในความผิด “ลหุโทษ” ขึ้นได้ด้วย


เมื่อมีการทะเลาะวิวาท ส่งผลให้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เกิดความเสียหาย ผู้ก่อเหตุต้องรับโทษฐานความผิดอาญา ทำให้เสียทรัพย์ อีกทั้งโรงพยาบาลยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหาย “คดีแพ่ง” ได้อีก หากผู้ก่อเหตุเป็นผู้เยาว์ ย่อมส่งผลให้ “บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง” ต้องมาร่วมรับผิดชอบตามกฎหมายด้วย


อีกทั้งยังมีการตรวจประวัติผู้ก่อเหตุ ถ้าเคยกระทำผิดซ้ำซาก หรือมีโทษรอลงอาญา ก็จะฟ้องเพิ่มโทษหนักขึ้น สิ่งสำคัญ “ผู้ก่อเหตุ” ต้องมีประวัติอาชญากรติดตัวตลอด มั่นใจว่าบริษัทเอกชนต้องตรวจสอบคนก่อนเข้าทำงาน เมื่อเจอประวัติเคยก่อเหตุคดีแบบนี้ คงไม่มีองค์กรใดต้องการรับเข้าทำงานแน่นอน


ดังนั้นผู้ปกครองอย่าปล่อยปละละเลยบุตรหลาน อย่าให้ก่อเหตุเช่นนี้ เพราะจะนำไปสู่การถูกดำเนินคดี มีประวัติอาชญากรรม จนหมดโอกาสไม่มีทางเดินในสังคมต่อไป


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง