รีเซต

ดร.อนันต์ เผยข้อเท็จจริง "โกฐจุฬาลัมพา" ต้านโควิดได้จริงหรือไม่?

ดร.อนันต์ เผยข้อเท็จจริง "โกฐจุฬาลัมพา" ต้านโควิดได้จริงหรือไม่?
TNN ช่อง16
3 สิงหาคม 2564 ( 08:13 )
161

วันนี้( 3 ส.ค.64) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับ "โกฐจุฬาลัมพา" โดยระบุข้อความว่า

 

 

"มีคนถามมาเกี่ยวกับยาสมุนไพรตัวใหม่ที่ออกข่าวมาว่าต้านไวรัสโรคโควิด-19 ได้ ชื่อยาวๆว่า โกฐจุฬาลัมพา หรือ Artemisia annua L. ว่าตกลงสมุนไพรตัวนี้เป็นยาต้านไวรัสโรคโควิด-19 ได้จริงๆหรือไม่

 

 

ข้อเท็จจริงคือ ข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้เป็นการทดสอบสารสกัดจากพืช และ ทดสอบการยับยั้งไวรัส SARS-CoV-2 ในหลอดทดลองเท่านั้น ไม่มีการผลการทดสอบแม้แต่ในสัตว์ทดลอง ว่าการใช้สารสกัดดังกล่าวจะมีคุณสมบัติต้านไวรัสได้จริงหรือไม่ สารที่อยู่ในพืชสกัดออกมาตรงๆ กับ สารที่ร่างกายรับเข้าไปแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยกลไกต่างๆของร่างกาย เช่น ในตับ จะเป็นสารที่มีโครงสร้างไม่เหมือนกัน การคาดหวังว่าสารที่ร่างกายเราเปลี่ยนแปลงไปแล้วนั้นจะมีฤทธิ์เหมือนในหลอดทดลองอาจจะไม่เหมือนที่คาดไว้ได้

 

 

 

การเปรียบเทียบคุณสมบัติของสารต้านไวรัสในหลอดทดลอง นักวิจัยจะใช้ค่าที่เรียกว่า IC50 คือ ปริมาณของสารที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในเซลล์เจ้าบ้านที่ศึกษาได้ 50% แน่นอนว่า ถ้าได้ IC50 สูงๆจะไม่ดี เพราะเราต้องใช้ปริมาณของสารเยอะในการยับยั้งไวรัส ดังนั้น ยาที่ดีควรมี IC50 ต่ำๆ ยิ่งต่ำจะยิ่งดี คราวนี้ลองมาดูค่า IC50 ของ โกฐจุฬาลัมพา ที่อยู่ในวารสารวิชาการที่มีการตีพิมพ์มา บอกว่า 

 

 

"Hot-water leaf extracts based on artemisinin, total flavonoids, or dry leaf mass showed antiviral activity with IC50 values of 0.1–8.7 μM, 0.01–0.14 μg, and 23.4–57.4 μg, respectively." ดูแบบนี้ก็จะมองยากครับ ลองเอาตัวเลขนี้มาเปรียบเทียบกับค่าของฟ้าทะลายโจรที่มีการตีพิมพ์ออกมาเหมือนกันนะครับ 

 

 

"Postinfection treatment of A. paniculata and andrographolide in

SARS-CoV-2-infected Calu-3 cells significantly inhibited the production of infectious virions with an IC50 of 0.036 μg/mL and 0.034 μM, respectively"

 

 

จะเห็นว่า IC50 ของฟ้าทะลายโจรน้อยกว่า โกฐจุฬาลัมพา เป็น 10 เท่า ในทุกๆลักษณะของสารที่นำมาทดสอบ ไม่ว่าจะเป็นสารสกัด หรือ ตัวสมุนไพรอบแห้งเอง ข้อมูลลักษณะแบบนี้ควรสื่อสารให้ครบถ้วน เพราะคนที่ใช้ฟ้าทะลายโจรอยู่เราจะมีข้อมูลว่าต้องกินยามากน้อยขนาดไหน และ ได้สรรพคุณการรักษาเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับสมุนไพรใหม่ที่มีการยับยั้งได้น้อยกว่า 10 เท่า เราควรกินหรือไม่เพื่อหวังผลในสรรพคุณที่เท่ากัน...

 

 

ที่มา

https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acs.jnatprod.0c01324

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7952131/"

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง