รีเซต

IMHสู้โอไมครอน นำเข้าATKรุ่นใหม่ ตรวจทุกสายพันธุ์

IMHสู้โอไมครอน นำเข้าATKรุ่นใหม่ ตรวจทุกสายพันธุ์
ทันหุ้น
5 มกราคม 2565 ( 07:18 )
124

ทนหุ้น – IMH พร้อมรับมือโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” เร่งนำเข้าชุดตรวจแบบใหม่ "Flowflex" ATK ตรวจจับได้ถึง 6 สายพันธุ์ แย้มมีลุ้นดีลเทกโอเวอร์ธุรกิจโรงพยาบาลเพิ่ม คาดชัดเจนไตรมาส 1/2565 มั่นใจปี 2565 ปั้นรายได้รวมแตะ 1.2 พันล้านบาท ฟากโบรกเคาะราคา 19.20 บาท

 

ดร.สิทธิวัตน์  กำกัดวงษ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลอินเตอร์เมดิคัล แคร์ แอนด์ แล็บ จำกัด (มหาชน) หรือ IMH เปิดเผยว่า ทาง IMH มีความพร้อม 100% ในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด เชื้อกลายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" ทั้งการตรวจโควิด และการรักษาคนไข้โควิดแบบครบวงจร

 

** ส่งชุด ATK รุ่นใหม่

 

ทั้งนี้ การระบาดในวงกว้างของ "โอไมครอน" ในรอบนี้ จะส่งผลให้คนไข้โควิด ในระบบสาธารณสุขของประเทศไทยเพิ่มขึ้น กว่า 10,000 -
30,000 คนต่อวัน พร้อมทั้งอาจจะก่อให้เกิดผลร้ายแรงต่อคนไข้ 7 กลุ่มโรคเสี่ยง อาทิ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอ้วน เป็นต้น ส่งผลให้จากการประเมินของกระทรวงสาธารณสุข หากไม่มีการจัดการที่ดีอาจส่งผลให้เตียงคนไข้มีไม่เพียงพอ

 

จากประเด็นในขั้นต้น IMH จึงมีการปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระลอกนี้ โดยล่าสุด IMH ได้เข้าเจรจากับ Supplier เพื่อนำเข้าชุดตรวจโควิดแบบใหม่ "Flowflex" ATK ซึ่งมีความไว (Sensitivity) ในการตรวจจับไวรัสโควิด  6 สายพันธุ์ คือ B.1.160 (สายพันธุ์ดั้งเดิมในสหราชอาณาจักร) และสายพันธุ์น่ากังวล (VOC) ทั้ง 5สายพันธุ์ คือ อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา และ "โอไมครอน" ซึ่งสามารถตรวจจับ "โอไมครอน" ได้อย่างรวดเร็ว โดยจะตรวจพบ "โอไมครอน" ได้แม้เชื้อมีความเข้มข้นเพียง 270 PFU/ml (2.43 log10 PFU/ml) ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ช่วยในการตรวจเชื้อกลายพันธุ์  "โอไมครอน" ได้อย่างรวดเร็ว และจะสามารถสกัดการแพร่ระบาดของ "โอไมครอน" ได้เป็นอย่างดี

 

** เปิดให้บริการตรวจ

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่มกราคม 2565 เป็นต้นไป IMH จะเริ่มเปิดให้บริการตรวจโควิดแบบใหม่ "Flowflex" ATK และออกใบรับรองผลโควิด ได้ทั้งลูกค้า Walk in และให้บริการตรวจนอกสถานที่ ถึง บริษัท/โรงงาน เพื่อให้ความเชื่อมั่นกับลูกค้าที่กลับเข้าทำงาน และเพื่อการเดินทาง ซึ่งจะเป็นวิธีทำให้การดำเนินชีวิตตามปกติ ได้อย่างปลอดภัยและ เกิดมั่นใจแก่ตนเองและคนที่ติดต่อรอบข้าง

 

ขณะที่ โรงพยาบาล ประชาพัฒน์  ซึ่งเป็นบริษัทลูก มีความพร้อมที่จะรับมือกับปริมาณคนไข้ ที่จะเข้ามารักษาโควิด ทั้งทางติดต่อโดยตรงกับทางโรงพยาบาลประชาพัฒน์ และผ่านการตรวจ "Flowflex" ATK โดยหน่วยบุคลากรการแพทย์ ของ โรงพยาบาล อินเตอร์เมด ซึ่งเป็นบริษัทแม่
โดยที่ผ่านมา โรงพยาบาลประชาพัฒน์ มีประสบการณ์ ในการบริหารจัดการคนไข้โควิด ในปี 2564 ได้เป็นอย่างดี ตลอดจน ได้เตรียมศูนย์พักคอยเขต
ราษฎร์
บูรณะ

จำนวน 200 เตียงสนาม และ 9 เตียงความดันลบเพื่อเปิดรับคนไข้

 

** รายได้เกิน 1.2 พันล.

 

ดร.สิทธิวัตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับภาพรวมในปี 2565 ทางกลุ่ม IMH คาดว่ารายได้รวมจะทำนิวไฮ เกินระดับ 1,200 ล้านบาท และจะสามารถบริหารต้นทุนรวมได้ต่ำลงเมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา จากการ Synergy ระหว่าง โรงพยาบาล อินเตอร์เมด(บริษัทแม่)
และ โรงพยาบาลประชาพัฒน์(บริษัทลูก)


ทั้งนี้ยังไม่รวมดีลขยายธุรกิจโรงพยาบาล ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นใน ช่วงไตรมาส 1/2565 อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจา และคาดว่าจะให้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้

 

ด้าน บทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ประเมินว่า ที่ผ่านมา IMH ได้รับอานิสงส์ จากการตรวจและรักษาโควิด รวมถึงผลจากการควบรวมกิจการ (M&A) ส่งผลให้กำไรเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จึงแนะนำ “ซื้อ” โดยให้ราคาเหมาะสม 19.20 บาท

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง