"PM 2.5" เช้านี้ กทม.ฝุ่นเกินมาตรฐาน 34 พื้นที่ "เชียงใหม่" รั้งอันดับ 3 ของโลก!
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 23 ก.พ. 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)
- ตรวจวัดได้ 38-64 มคก./ลบ.ม.
- ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 50.1 มคก./ลบ.ม.
- ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานจำนวน 35 พื้นที่
โดย อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 35 พื้นที่ คือ 1.เขตสัมพันธวงศ์ 2.เขตปทุมวัน 3.เขตบางรัก 4.เขตยานนาวา 5.เขตจตุจักร 6.เขตบางกะปิ 7.เขตลาดกระบัง 8.เขตธนบุรี 9.เขตคลองสาน 10.เขตบางกอกน้อย 11.เขตภาษีเจริญ 12.เขตบางเขน 13.เขตบางพลัด 14.เขตบางขุนเทียน 15.เขตสาทร 16.เขตคลองเตย 17.เขตบางซื่อ 18.เขตหลักสี่ 19.เขตบึงกุ่ม 20.เขตคลองสามวา 21.เขตสายไหม 22.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 23.เขตพระโขนง 24.เขตตลิ่งชัน 25.เขตทวีวัฒนา 26.เขตหนองแขม 27.เขตบางบอน 28.เขตบางนา 29.เขตคันนายาว 30.เขตมีนบุรี 31.เขตหนองจอก 32.เขตประเวศ 33.เขตทุ่งครุ 34.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ (เขตทุ่งครุ) 35.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา (เขตทวีวัฒนา)
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 38-63 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 34 พื้นที่ คือ
1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.
2.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
3.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
4.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
6.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
7.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
8.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
9.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
10.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
12.เขตบางบอน ใกล้ตลาดสุขสวัสดี : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
13.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
15.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
16.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
17.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
18.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
19.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
20.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
21.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
22.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
23.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
24.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
25.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
26.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
27.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
28.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
29.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
30.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
31.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
32.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
33.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
34.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 22 - 24 ก.พ. 2566 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ อ่อน ประกอบกับสภาพอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการสะสมของPM2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากนั้น 25-26 ก.พ. 2566 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก ส่งผลให้เกิดการสะสมของPM2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่หลังจากนั้นสภาพอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มเกิดการสะสมของฝุ่นPM2.5 เพิ่มขึ้น และในช่วงวันที่ 24 -28 ก.พ.66 คาดว่าจะมีมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอก แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นลง ลมหนาวแรงขึ้น (ลมหนาวลงมาคราวนี้ยังไม่มีฝน) ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุม และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีเมฆบางส่วน
ระหว่างวันที่ 23-25 ก.พ.2566 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่
จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 จุด ในวันที่ 22 ก.พ. 2566 เวลา 13.29 น. แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ สำนักงานเขตตรวจสอบแล้ว พบว่าสถานการณ์ปกติ สถานที่ดังกล่าวเป็นที่พักอาศัย บริเวณใกล้เคียงเป็นคอนโด และโดยรอบไม่มีการเผาและร่องรอยการเผาแต่อย่างใด
สามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง
- แอปพลิเคชัน AirBKK
- FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
- FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
กรณีพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue
โดย ณ 07:00 น ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน จ.ปทุมธานี จ.นนทบุรี กรุงเทพฯ จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.น่าน จ.พะเยา จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.ตาก จ.พิษณุโลก จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.สระบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.สระแก้ว และ จ. ระยอง
ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ สรุปดังนี้
>ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 31 - 119 มคก./ลบ.ม.
>ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 26 - 46 มคก./ลบ.ม.
>ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 31 - 75 มคก./ลบ.ม.
>ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐาน 2 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 38 - 59 มคก./ลบ.ม.
>ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 12 - 23 มคก./ลบ.ม.
>กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 35 - 74 มคก./ลบ.ม.
ล่าสุด เว็บไซต์ IQAir รายงานคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทั่วโลก พบว่า เมื่อเวลา 08.34 น. ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 และ 17 ของโลก ดังนี้
-จังหวัดเชียงใหม่ของประเทศ อยู่อันดับที่ 3 อยู่ในระดับสีแดงมีผลกระทบต่อสุขภาพ 165 มคก./ลบ.ม.
-กรุงเทพฯ อยู่อันดับที่ 17 อยู่ในระดับสีส้ม มีผลกระทบต่อผู้ป่วยหรือร่างกายอ่อนแอ 147 มคก./ลบ.ม.
ภาพจาก TNN Online