ติดอยู่เรือสำราญช่วงโควิด เงินก็ไม่ได้คืน แถมติดหนี้บานนับล้าน
ติดอยู่เรือสำราญช่วงโควิด เงินก็ไม่ได้คืน แถมติดหนี้บานนับล้าน
ติดอยู่เรือสำราญช่วงโควิด - ซีเอ็นเอ็น รายงานประสบการณ์ของ ซีเจ เฮย์เดน นักเขียนและโค้ชธุรกิจ ชาวเมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ต้องลอยลำในเรือสำราญแปซิฟิก พรินเซส นานหลายสัปดาห์ เนื่องจากสถานการณ์โควิด อีกทั้งเมื่อคำเรื่องขอคืนเงินค่าโดยสาร กลับยังไม่ได้จนหนี้พอกพูน
หญิงรายนี้คำนวณว่า ตนเองและเดฟ เฮอร์นินโก คนรัก ควรต้องได้เงินประมาณ 37,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 ล้าน 2 แสนบาท จากการต้องไปเคว้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดียและไม่มีจุดหมายปลายทาง
เรือสำราญลำนี้ออกเดินทางในวันที่ 11 ม.ค. และมีแผนเดินทางรอบโลก 111 วัน แต่ต้องลดวันให้สั้นลงเมื่อถึงกลางเดือน มี.ค.ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมเรือสำราญต้องระงับการให้บริการ
ท่าเรือหลายแห่งปฏิเสธไม่ให้เทียบท่า แต่ในที่สุด ก็ได้รับอนุญาตให้เทียบท่าที่เมืองเพิร์ธของออสเตรเลีย เใทาอวันที่ 21 มี.ค.
ผู้โดยสารส่วนใหญ่ ร่วมทั้ง เฮย์เดน ลงจากเรือและขึ้นเครื่องบินกลับในสัปดาห์เดียวกัน ซึ่งน่ายินดีที่ไม่มีใครบนเรือสำราญแปซิฟิก พรินเซสส์ติดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
เฮย์เดนและผู้โดยสารคนอื่นๆ ได้รับการแจ้งว่าจะได้รับเงินคืน 100% เป็นเงินสดและได้เครดิตสำหรับทริปต่อไปในอนาคต ซึ่งเรียกว่า “ฟิวเจอร์ ครูส เครดิต” หรือ “เอฟซีซี” ซึ่งจะได้เอฟซีซี 250% สำหรับทริปหน้า
เป็นหนี้ค่าตั๋วเครื่องบินเดินทางกลับบ้าน
แต่ในความเป็นจริง เฮย์เดนและแฟนหนุ่มเป็นหนี้ค่าตั๋วเครื่องบินกลับบ้าน ค่าธรรมเนียมน้ำหนักกระเป๋าเกิน ค่าจัดการอื่นๆ ของบริษัทเรือสำราญ ภาษีท่าเรือ และค่าธรรมเนียมท่าเรือ
หญิงรายนี้ติดตามเรื่องกับบริษัทเรือสำราญ หลังจากยื่นเรื่องขอเงินคืน 3 สัปดาห์ผ่านไป แต่เรื่องเงียบหาย ทั้งที่ควรจะได้รับเงินคืนภายใน 30 วัน เมื่อติดต่อไปยังบริษัทเรือสำราญอีกครั้งก็ได้รับคำตอบให้รอ 60 วัน
จนกระทั่งถึงสิ้นเดือน มิ.ย. หลังรอคอยมานาน 99 วัน เฮย์เดนได้รับแต่เครดิต แต่ไม่มีเงินสดชดเชยที่บริษัทรับปากว่าจะคืนให้
ระหว่างที่ติดอยู่บนเรือสำราญ เฮย์เดนและเฮอร์นินโกเริ่มสนิทสนมกับผู้โดยสารคนอื่นๆ และเมื่อต่างคนต่างกลับถึงบ้านแล้ว แต่ก็ยังติดต่อกันอยู่ทำให้ทราบว่าคนอื่นก็รอเงินคืนเช่นกัน
ไม่เพียงแต่ผู้โดยสารเรือสำราญแปซิฟิก พรินเซสเท่านั้น แต่ผู้โดยสารเรือสำราญบริษัทอื่นๆ ก็ตกที่นั่งลำบากเดียวกัน
ไม่น่าเชื่อเลยว่า ขณะรอเงินคืนอยู่นั้น บริษัทเรือสำราญโฆษณาเส้นทางเดินเรือสายใหม่เป็นทริปสั้นๆ แต่ต่อมาต้องยกเลิกทริปทั้งหมด ตามคำสั่งของสมาคมเรือสำราญนานาชาติที่ห้ามล่องเรือสำราญจนถึงวันที่ 15 ก.ย.
ด้านเฮย์เดนกล่าวว่ายื่นฟ้องต่ออัยการสูงสุดรัฐแคลิฟอร์เนีย คณะกรรมการการค้าแห่งสหรัฐ และคณะกรรมการการเดินเรือกลาง
ส่วนเนจิน กามาลี ผอ.ฝ่ายประชาสัมพันธ์บริษัทพรินเซส ครูส กล่าวว่าผู้โดยสารจะได้รับข้อมูลล่าสุดผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์และอีเมล ซึ่งบริษัทส่งแถลงการครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. พร้อมทั้งชี้แจงว่าบริษัทเคารพเงินและเวลาของผู้โดยสาร อีกทั้ง ถือว่าภารกิจการคืนเงินให้ผู้โดยสารเป็นภารกิจสำคัญอันดับแรกๆ นับตั้งแต่บริษัทต้องระงับการดำเนินการ
บริษัทยืนยันว่าระดมสรรพกำลังเพื่อคืนเงินให้กับผู้โดยสารและคืนเงินไปแล้วเกือบร้อยละ 60 โดยแยกระหว่างเงินคืนกับเครดิต ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้โดยสารแต่ละคนจะได้รับเงินและเอฟซีซีไม่พร้อมกัน
ผู้โดยสารเรือสำราญหลายคนจึงตั้งหน้าตั้งตารอโดยไม่มีวี่แววว่าจะได้รับเงินคืนแต่อย่างใด บางคนได้รับเงินคืนบางส่วนหรือไม่ได้รับเงินคืนเลย
กรณี เดวิด ฮิดดิง ผู้โดยยสารที่ยกเลิกทริปเดินทางเรือสำราญกับครอบครัวไปแอลาสกาเมื่อเดือน มี.ค. เพิ่งได้รับเงินคืนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังรอมา 90 วัน ไม่ได้รับการติดต่อจากบริษัทพรินเซสเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ และยังไม่มีการขอโทษใดๆ มีแต่คำแก้ตัวว่ากำลังดำเนินการอยู่
ด้านจูดี ชมิตซ์ นักวิจัยธุรกิจเกษียณแล้ว จากรัฐไอโอวา สหรัฐฯ ตกเป็นผู้ร่วมชะตากรรมเช่นกันและหวังว่าจะได้รับเงินคืน 100% และเอฟซีซี ซึ่งตอนนี้ ได้รับเอฟซีซีแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินสด 33,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1,072,000 บาท
หลังจากกลับถึงบ้าน ชมิตซ์ทุ่มเทเวลาทั้งหมดดูแลพ่อซึ่งเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทำให้เธอเผชิญความยากลำบากอย่างยิ่ง
ขณะที่คริสตินา โกลสตัน พยาบาลในรัฐไอโอวา กำลังรอเงินคืนจากบริษัทคาร์นิวัล คอร์เปอเรชัน เจ้าของเรือสำราญ “พรินเซส ครูส” “คาร์นิวัล ครูสไลน์” “ฮอลแลนด์ อเมริกา” และ”คอสตา ครูส” โดยเธอตั้งกลุ่มเฟซบุ๊กขึ้นมาติดต่อกับผู้โดยสารคนอื่นๆ ที่ “ลงเรือลำเดียวกัน” ซึ่งรอคอยเงินคืนเพราะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ รอสะสาง และตกงานหรือบางคนลดเวลาทำงาน
ด้านวานเซ กัลลิคเซน ผู้แทนคาร์นิวัล ครูส ไลน์ กล่าวว่าเนื่องจากบริษัทต้องระงับการดำเนินการทำให้คืนเงินล่าช้า แต่ยืนยันว่ากำลังดำเนินการอยู่
ส่วน จูลี ฮวง ข้าราชการพลเรือนในนิวยอร์ก กล่าวว่ารอเงินคืนจากนอร์วีเจียน ครูส ไลน์ ซึ่งเธอไม่ได้เดินทาง จึงขอทำเรื่องคืนเงินตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นจำนวน 9,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 291,200 บาท เป็นค่าเดินทางของเธอเองและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งได้รับคำชี้แจงว่าจะได้รับเงินคืนภายใน 90 วัน
แต่เมื่อถึงกำหนดเวลากลับไม่ได้ แม้แต่ข้อมูลล่าสุดยังติดต่อบริษัททางโทรศัพท์ไม่ได้อีกด้วย จึงทำได้แค่เพียงทวีตข้อความแสดงความผิดหวังต่อบริษัทและเรียกร้องขอเงินคืน แม้รู้ดีว่าอาจต้องใช้เวลานานสักหน่อย แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีหวัง
ด้าน นอร์วีเจียน ครูส ไลน์ ชี้แจงผ่านแถลงการณ์ว่ามีผู้ทำเรื่องขอคืนเงินจำนวนมาก เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด แต่ทีมงานกำลังทำงานอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยเพื่อคืนเงินให้เร็วที่สุดและขออภัยที่ล่าช้ากว่าที่เคยกำหนดไว้ภายใน 90 วัน
ขณะที่โรเบิร์ต ซอห์นส์ ผู้โดยสารเรือสำราญแปซิฟิก พรินเซส ได้รับเงินเครดิตคืนแล้วประมาณ 36,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 1,168,000 บาท และภรรยาได้รับเครดิตคืนอีก 36,500 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากัน หลังจากรอมานาน 90 วัน
ซอห์นสและภรรยาวางแผนว่าจะล่องเรือสำราญแปซิฟิก พรินเซส อีกในปี 2565 ทดแทนทริปปีนี้ เพราะพวกเขานิยมการเดินทางด้วยเรือสำราญและล่องเรือสำราญมาแล้วเกือบ 100 ครั้งในช่วง 50 ปี การเดินทางครึ่งหนึ่งไปกับเรือพรินเซสและทราบดีว่าจะเกิดอะไรบ้างบนเรือ แต่ที่เกิดขึ้นนี้เป็นถือความผิดพลาดเท่านั้น
////////
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
โควิด: อุรุกวัยไฟเขียวให้ “เรือสำราญออสซี่” เทียบท่า หลังผู้ติดเชื้อพุ่ง 130 คน!