รีเซต

ประวัติ "วันไหว้ครู" ทุกวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือน มิถุนายน "พิธีไหว้ครู" ต้องมีอะไรบ้าง?

ประวัติ "วันไหว้ครู" ทุกวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือน มิถุนายน "พิธีไหว้ครู" ต้องมีอะไรบ้าง?
Ingonn
1 มิถุนายน 2566 ( 16:07 )
11.7K
ประวัติ "วันไหว้ครู" ทุกวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือน มิถุนายน "พิธีไหว้ครู" ต้องมีอะไรบ้าง?

วันไหว้ครู 2566 ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายนนี้ ซึ่งโรงเรียนมักจะจัดงานไหว้ครู เป็นวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียน เทอม 1 โดยนักเรียนแต่ละโรงเรียน จะมีพิธีไหว้ครู ด้วยการนำพานไหว้ครู ที่มีหญ้าแพรก ดอกเข็ม ดอกมะเขือ และข้าวตอก มาแสดงความเคารพต่อครู อาจารย์ วันนี้ TrueID จึงจะพามาเปิดประวัติวันไหว้ครู เดือนมิถุนายน ความเป็นมาและความสำคัญพิธีไหว้ครู 

 

ประวัติวันไหว้ครู

การไหว้ครู เป็นประเพณีสำคัญที่มีมา แต่โบราณ ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพ และระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต โดยการไหว้ครูเกิดจากการประชุมครูในปี พ.ศ. 2499 สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ดังนั้น "พิธีไหว้ครู" จึงเป็นการที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์ โดยปกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายน 

 

พิธีไหว้ครูในโรงเรียน

สำหรับพิธีไหว้ครูนั้น จัดทำขึ้นเพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณครู และแสดงการสักการะแด่คุณครู พิธีประกอบด้วย การที่ลูกศิษย์ นำ ดอกไม้ ธูป เทียน มากราบไหว้สักการะครู โดยอาจมีการรวมกลุ่มกันแต่ละห้อง หรือชั้นเรียน จัดทำพานดอกไม้ และธูปเทียน สักการะพระคุณครู

 

ดอกไม้ไหว้ครูมีอะไรบ้าง

หญ้าแพรก สื่อถึง เป็นหญ้าที่เติบโตเร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์ เมื่อได้รับการสั่งสอนก็พร้อมจะเรียนรู้ เหมือนดังหญ้าแพรกที่แม้บางครั้งจะเหี่ยวเฉาไป แต่เมื่อใดที่ได้รับน้ำก็พร้อมจะเติบโตทันที

ดอกเข็ม สื่อถึง สติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม

ดอกมะเขือ สื่อถึง มะเขือนั้นจะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึงนักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง และดอกงอกงามได้อย่างรวดเร็ว

ข้าวตอก สื่อถึง ความรู้ที่แตกฉาน เพิ่มพูนอย่างรวดเร็ว เหมือนลักษณะของข้าวสาร เปรียบได้กับการที่ครู “คั่ว” นักเรียนคนใดคนหนึ่ง กล่าวคือ “คั่ว”คือการเคี่ยวเข็ญ ว่ากล่าวตักเตือน อบรมสั่งสอนนั่นเอง วิชาความรู้ของนักเรียนเหล่านั้นจะ “แตก”ฉานสามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

 

พิธีการไหว้ครู

  1. เมื่อประธานมาถึง ให้กราบทำความเคารพ จนกว่าคุณครูทุกท่านจะผ่านไปหมดทุกคน
  2. ให้ประธานจุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา
  3. เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์ ตามด้วยเจิมหนังสือเพื่อความเป็นสิริมงคล
  4. หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู
  5. เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย
  6. ตัวแทนนักเรียนกล่าวคำปฏิญาณตน
  7. ให้ตัวแทนของแต่ละห้องนำพานไปให้คุณครูแต่ละท่าน

 

กิจกรรมในวันไหว้ครู

  • กิจกรรมทางศาสนา
  • พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
  • กิจกรรมการแสดงของนักเรียน
  • กิจกรรมทำพานไหว้ครูของแต่ละ ช่วงชั้น แต่ละห้อง
  • กิจกรรมประกวดพานไหว้ครู
  • กิจกรรมแต่งกลอน เขียนเรียงความ
  • กิจกรรมวาดภาพระบายสี
  • กิจกรรมปลูกต้นไม้

 

 

 

วันไหว้ครู แตกต่างจากวันครู

สำหรับในวันครู จะตรงกับวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี เป็นวันที่มีการจัดพิธีไหว้ครูอีกอย่างหนึ่ง ผู้ร่วมงานคือบรรดาครูบาอาจารย์ที่สอนนักเรียนในปัจจุบัน มาร่วมไหว้ครูเพื่อรำลึกถึงบูรพาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการให้ และมีการท่องบทไหว้ครูเป็นภาษาบาลี อาจมีครูอาวุโส เป็นประธานในงานด้วย

 

 

ข้อมูล www.trueplookpanya.com วิกิพีเดีย , โรงเรียนศรีสุวิช 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง