แรงงานหุ่นยนต์ vs แรงงานมนุษย์ แตกต่างกันอย่างไร ?
ปัจจุบันในประเทศพัฒนาแล้วมีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ทำงานทดแทนแรงงานมนุษย์มากขึ้น ซึ่งในบางงานต้องยอมรับว่าหุ่นยนต์สามารถทำงานประมวลผล หรือจดจำข้อมูลได้รวดเร็วและปริมาณมหาศาลในแบบที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ ส่งผลให้แนวโน้มในอนาคตจะมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานเพิ่มขึ้น
ผลงานวิจัยของศาสตราจรย์ ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ และนักศึกษาปริญญาโท ปพณ ปลื้มวงศ์โรจน์ ชื่อว่า หุ่นยนต์กำลังขโมยงานหรือไม่? หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศกำลังพัฒนา 10 ประเทศ (Are robots stealing jobs? Empirical evidence from 10 developing countries) โดยศึกษาผลกระทบจากระบบออโตเมชั่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในบริษัทเอกชนข้ามชาติใน 10 ประเทศ ได้แก่ บราซิล เม็กซิโก จีน อินเดีย ไนจิเรีย มาเลเซีย ตุรกี เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย
แรงงานหุ่นยนต์
1. หุ่นยนต์ทำตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย คล้ายการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ข้อมูลคำสั่ง ประมวลผลและปฏิบัติงาน
2. ปัจจุบันหุ่นยนต์ยังไม่มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ หรือความรัก ข้อจำกัดของหุ่นยนต์ที่ต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการพัฒนาความรู้สึก
3. หุ่นยนต์ใช้การทำงานซ้ำ ๆ ไม่สามารถสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพราะต้องใช้การรอคำสั่งจากมนุษย์โดยตรง
4. หุ่นยนต์สร้างความพึงพอใจของลูกค้าด้วยข้อมูล อ้างอิงการตอบสนองลูกค้าจากตัวเลข เช่น คะแนนการให้บริการ
5. หุ่นยนต์ทำงานต่อเนื่องได้จนกว่าพลังงานจะหมดลง ข้อดีอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก แต่มีจุดอ่อนในด้านการใช้พลังงานที่จำกัด
แรงงานมนุษย์
1. มนุษย์มีความ “ทุ่มเท มุ่งมั่น และไม่ยอมแพ้” ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของมนุษย์ เมื่อมีความมุ่งมั่นในการทำงานก็จะไม่ยอมแพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ
2. มนุษย์มีความสามารถในสื่อสาร ความเห็นอกเห็นใจกัน มีความรัก และมีครอบครัว”
3. มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ผลงานออกมาหลายรูปแบบ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ มนุษย์มักสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
4. มนุษย์สัมผัสได้ถึงความรู้สึกผ่านรอยยิ้ม ลักษณะภาษากายในการทำงานร่วมกัน โดยบางครั้งอยู่เหนือเหตุผลและข้อมูลอ้างอิง เช่น ความรู้สึกเต็มใจที่จะทำงานอย่างโดยไม่มีข้อแม้อื่น ๆ
5. มนุษย์ทำงานตามจำนวน 5-6 ต่อสัปดาห์ และไม่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง เนื่องจากข้อจำกัดด้านกายภาพของร่างกายที่ต้องการการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
รู้หรือไม่? : เกาหลีใต้เป็นประเทศผู้นำในการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ภายในโรงงานโดยมีสัดส่วนหุ่นยนต์ 141 ตัว ต่อแรงงาน 10,000 คน
ที่มาของข้อมูล Thaipublica.org, Tandfonline.com