รีเซต

จี้รัฐช่วยด่วน อปท.โวยถังแตก เล็งตัดงบ นมโรงเรียน-อาหารกลางวัน-เบี้ยผู้สูงอายุ-ปลด พนง.

จี้รัฐช่วยด่วน อปท.โวยถังแตก เล็งตัดงบ นมโรงเรียน-อาหารกลางวัน-เบี้ยผู้สูงอายุ-ปลด พนง.
มติชน
30 สิงหาคม 2563 ( 09:36 )
172
จี้รัฐช่วยด่วน อปท.โวยถังแตก เล็งตัดงบ นมโรงเรียน-อาหารกลางวัน-เบี้ยผู้สูงอายุ-ปลด พนง.

จี้รัฐช่วยด่วน อปท. ถังแตก เล็งตัดงบ นมโรงเรียน-อาหารกลางวัน-เบี้ยผู้สูงอายุ-ปลด พนง.

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม นายสมบัติ ชนะสิทธิ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมาคสันนิบาติแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ยอมรับว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศกำลังประสบปัญหาจากงบประมาณที่ลดลง โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่เลื่อนจากปี 2562จนถึงปัจจุบัน จนบางแห่งไม่สามารถตั้งเทศบัญญัติงบประมาณได้ ทำให้กระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่นไปหมด ผลพวงมาจากปัญหาโควิด-19 ส่วนหนึ่ง

 

นายศุภสัณห์ หนูสวัสดิ์ อดีตประธานสันนิบาตเทศบาลภาคใต้ เปิดเผยว่า ท้องถิ่นกระทบจากรายได้อยู่แล้วจากรายงานจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีสรรพสามิต ยิ่งมากระทบหนักที่ท้องถิ่นยิ่งขึ้น รัฐบาลให้ท้องถิ่นเก็บภาษีเอง ตนมั่นใจว่าท้องถิ่นชานเมืองไม่มีสิ่งปลูกสร้างราคา เกิน 50 ล้านบาท แล้วรายได้มาจากไหน รายได้จึงลดลง เหมือนกับงูกินหาง กระทบไปหมด งบค่าตอบแทน อสม.และผู้สูงอายุลดลง และรัฐบาลให้ใช้งบของท้องถิ่นบางส่วน เมื่อโรคโควิดเกิดระบาดรัฐบาลได้ใช้งบท้องถิ่นบางส่วน ทำให้งบท้องถิ่นเหลือน้อย

 

รายงานข่าวจากสันนิบาตเทศบาลภาคใต้เปิดเผยว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศโดยเฉพาะ อบต.และเทศบาลกำลังประสบปัญหาสถานการเงิน หากไม่มีเงินสำรอง อาจจะต้องมีการปลดพนักงาน หรือชะลอการรับโอนข้าราชการ ในปีงบประมาณ 64 จะประสบปัญหามาก เพราะเงินจะหายไปมาก นมโรงเรียนและอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ที่ได้รับงบประมาณจากสำนักงบประมาณ ขาดไปหายร้อยละ 20-40 ซึ่งอาจมาจากช่วงโควิดโรงเรียนหยุด เงินอุดหนุนผู้สูงอายุลดลงอีก

 

ที่มาของรายได้ อปท.จาก 3 ทาง คือ 1.ภาษีโรงเรือน ขณะนี้เป็นกฎหมายที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 2.ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บแล้วแบ่งให้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และ 3. เงินอุดหนุน ทั้ง 3 ส่วนเกิดปัญหาทั้งหมด คือภาษีโรงเรือน อบต.และเทศบาลจัดเก็บเอง รัฐบาลสั่งยกเลิกกฎหมายเก่า แล้วไปออก พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งก่อสร้างใหม่ โดยใช้เหตุผลว่าจะทำให้มีรายได้กับเทศบาล และ อบต.มากขึ้น รัฐบาลได้สั่งชะลอ ทำให้ เทศบาล และ อบต.ไม่สามารถเก็บรายได้มาตั้งแต่ปี 62จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 2 ปี และเพิ่งจะมีคำสั่งให้จัดเก็บได้ในเดือน ส.ค.63 แล้วรัฐบาลได้สั่งให้ลดภาษีเพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชน เนื่องจากกระทบโควิด-19 ให้ลดภาษีลงร้อยละ 90 เหลือร้อยละ10 เข้าท้องถิ่น รายได้ที่ท้องถิ่นเก็บเองก็แทบจะหายไป ในส่วนที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งมาให้คือภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณมีแค่ร้อยละ 40

 

รายงานข่าวว่าเดือน ส.ค. รัฐบาลโอนงบมาให้ลดลงกว่าร้อยละ 70 จากเดิมที่เคยได้ ซึ่งเทศบาล และ อบต.ทั่วประเทศก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน ภาษีสรรพสามิตก็หายไปจากกรณีการระบาดโควิด-19 และในส่วนของเงินอุดหนุนที่รัฐบาลให้ประมาณร้อยละ 90 เป็นเงินที่ท้องถิ่นไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ เพราะเป็นเงินที่จะต้องใช้จ่ายตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ รัฐบาลพยายามผลักภาระให้ อปท. ซึ่งรัฐควรที่จะสนับสนุนจัดสรรงบให้ได้ตามนโยบายของรัฐเอง เทศบาลมี 2 ทางให้เลือกคือ ถ้าไปช่วยดูแลเด็กก็จะไม่มีเงินเดือนไปจ่ายพนักงาน ถ้าเราจ่ายเงินเดือนพนักงานก็จะไม่สามารถดูแลเด็กได้

 

“การแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดกับ อปท.โดยเฉพาะ เทศบาลและ อบต. รัฐบาลต้องปลดล็อกกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะในเรื่องการใช้จ่ายเงินสะสม เพราะขณะนี้แม้จะมีเงิน แต่ก็นำไปใช้ไม่ได้ เพราะถูกกันเอาไว้ ต้องคลายล็อกก่อน รัฐบาลได้ออก พ.ร.ก.เงินกู้ เงินส่วนหนึ่งนำมาอุดหนุนท้องถิ่น เฉพาะในส่วนที่เป็นนโยบายของรัฐ เช่น เบี้ยยังชีพคนพิการ อาหารกลางวันเด็ก เงินผู้สูงอายุ นมโรงเรียน ที่รัฐควรจะดูแลก่อน มีเทศบาลและอบต.หลายแห่ง จะไม่มีเงินจ่ายพนักงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่กำลังตามมา สุดท้ายเพื่อความอยู่รอดต้องมีการลดรายจ่ายประจำลงแต่ยังกระทบพอสมควร ”

 

วันนี้ดูความเคลื่อนไหวของรัฐบาล มหาดไทย กรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จะออกมาชี้แจงประเด็นร้อนนี้อย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง