รีเซต

การกู้ยืม กยศ: กำหนดการให้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564

การกู้ยืม กยศ: กำหนดการให้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564
TrueID
4 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:25 )
4.3K
การกู้ยืม กยศ: กำหนดการให้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564

     โดยที่เป็นการสมควรกําหนดระยะเวลาดําเนินการให้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจําปีการศึกษา 2564 รวมถึงแนวปฏิบัติการดําเนินงานในระบบจัดการการให้กู้ยืม (LOS) และแนวปฏิบัติการส่ง เอกสารสัญญาให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 12/2563 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบกําหนดการให้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจําปีการศึกษา 2564 กองทุนจึงแจ้งกําหนดการให้กู้ยืมเงินสําหรับปีการศึกษา 2564 ดังนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >>> การกู้ยืม กยศ: ผู้กู้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

 

 

สําหรับสถานศึกษาทั่วไป

ขั้นตอนกําหนดเวลา
ภาคเรียนที่ 1
1. สถานศึกษาบันทึกปฏิทินการศึกษา ค่าใช้จ่ายตามหลักสูตร และรายงานสถานภาพการศึกษาของผู้กู้ยืมเงิน1 ก.พ. - 30 เม.ย. 2560
2. ผู้กู้ยืมเงินลงทะเบียนขอรหัสเข้าใช้งาน กยศ. Connect / ระบบจัดการการให้กู้ยืม (Los)1 มี.ค. - 30 มิ.ย. 2554
3. ผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ยื่นแบบคําขอกู้ยืมเงิน สถานศึกษาตรวจสอบแบบคําขอกู้ยืมเงิน 1 เม.ย. - 31 ก.ค. 2554 
4. สถานศึกษาบันทึกค่าใช้จ่ายตามจริงของผู้กู้ยืมเงิน1 เม.ย. - 31 ส.ค. 2560
5. ผู้กู้ยืมเงินยื่นแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม
6. ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าลงนามแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม / ผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ จัดทําสัญญากู้ยืมเงิน และลงนามแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืม
7. สถานศึกษาจัดส่งเอกสารสัญญากู้ยืมเงินและแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมไม่เกินวันที่ 15 ก.ย. 2554
ภาคเรียนที่ 2
1. สถานศึกษาบันทึกค่าใช้จ่ายตามจริงของผู้กู้ยืมเงิน1 ก.ย. 2560 - 31 ม.ค 2565
2. ผู้กู้ยืมเงินยื่นแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม และลงนามแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืม
3. สถานศึกษาจัดส่งเอกสารแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมไม่เกินวันที่ 15 ก.พ. 2565
ภาคเรียนที่ 3*
1. สถานศึกษาบันทึกค่าใช้จ่ายตามจริงของผู้กู้ยืมเงิน1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2565
2. ผู้กู้ยืมเงินยื่นแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม และลงนามแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืม
3. สถานศึกษาจัดส่งเอกสารแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมไม่เกินวันที่ 15 เม.ย. 2565

* สําหรับสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ 3 ภาค

 


สําหรับสถานศึกษาแบบอาเซียน 

ขั้นตอนกําหนดเวลา
ภาคเรียนที่ 1
1. สถานศึกษาบันทึกปฏิทินการศึกษา ค่าใช้จ่ายตามหลักสูตร และรายงานสถานภาพการศึกษาของผู้กู้ยืมเงิน1 เม.ย. - 30 มิ.ย. 2560
2. ผู้กู้ยืมเงินลงทะเบียนขอรหัสเข้าใช้งาน กยศ. Connect / ระบบจัดการการให้กู้ยืม (LCS)1 พ.ค. - 31 ส.ค. 2561
3. ผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ยื่นแบบคําขอกู้ยืมเงิน สถานศึกษาตรวจสอบแบบคําขอกู้ยืมเงิน1 มิ.ย. - 30 ก.ย. 2560
4. สถานศึกษาบันทึกค่าใช้จ่ายตามจริงของผู้กู้ยืมเงิน 1 มิ.ย. - 31 ต.ค. 2554
5. ผู้กู้ยืมเงินยื่นแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม
6. ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าลงนามแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม / ผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ จัดทําสัญญากู้ยืมเงิน และลงนามแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืม 
7. สถานศึกษาจัดส่งเอกสารสัญญากู้ยืมเงินและแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมไม่เกินวันที่ 15 พ.ย. 2564
ภาคเรียนที่ 2
1. สถานศึกษาบันทึกค่าใช้จ่ายตามจริงของผู้กู้ยืมเงิน1 พ.ย. 2560 - 31 มี.ค 2565
2. ผู้กู้ยืมเงินยื่นแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม และลงนามแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืม
3. สถานศึกษาจัดส่งเยกสารแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมไม่เกินวันที่ 15 เม.ย. 2565
ภาคเรียนที่ 3*
1. สถานศึกษาบันทึกค่าใช้จ่ายตามจริงของผู้กู้ยืมเงิน1 เม.ย. - 30 มิ.ย. 2565
2. ผู้กู้ยืมเงินยื่นแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม และลงนามแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืม
3. สถานศึกษาจัดส่งเอกสารแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมม่เกินวันที่ 15 ก.ค. 2565

* สําหรับสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ 3 ภาคเรียน

 

 1. แนวปฏิบัติการดําเนินงานในระบบจัดการการให้กู้ยืม (LOS)

1.1 ขั้นตอนการดําเนินงานของสถานศึกษา

การเตรียมการก่อนการให้กู้ยืม

1) สถานศึกษาบันทึกข้อมูลรายในระยะเวลาที่กองทุนกําหนดในระบบ LOS ดังนี้


- บันทึกปฏิทินการเปิด-ปิดภาคเรียนของสถานศึกษา ทุกภาคเรียน

- บันทึกค่าใช้จ่ายหรืออัตราค่าเล่าเรียนตามหลักสูตรที่สถานศึกษามีประกาศเรียกเก็น ทุกหลักสูตร ทุกระดับการศึกษา

- บันทึกสถานภาพการศึกษาของผู้กู้ยืมเงิน เช่น สําเร็จการศึกษา ศึกษาต่อ พักการเรียน หรือ ลาออก

 

การดําเนินการระหว่างการให้กู้ยืม


2) สถานศึกษาตรวจสอบแบบคําขอกู้ยืมเงิน ตรวจสอบคุณสมบัติทั่วไป ลักษณะต้องห้าม คุณสมบัติเฉพาะ ตามที่กองทุนกําหนด รวมถึง ระดับการศึกษา หลักสูตร ชั้นปี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือให้ความยินยอม สําเนาบัตรประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน ผู้ค้ําประกัน และผู้แทนโดยชอบธรรม(ถ้ามี) ของผู้กู้ยืมเงินทุกรายภายในระยะเวลา ที่กองทุนกําหนดในระบบ LO5

3) สถานศึกษาบันทึกค่าใช้จ่ายตามจริงของผู้กู้ยืมเงิน จํานวนเงินที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากผู้กู้ยืมเงิน (ตามใบเสร็จรับเงิน) แต่ไม่เกินขอบเขตที่กองทุนกําหนด เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้กู้ยืมเงินยืนยันยอดในแบบยืนยันการเบิกเงิน กู้ยืมทุกภาคเรียนภายในระยะเวลาที่กองทุนกําหนดในระบบ LO5

4) สถานศึกษาต้อง Scan สัญญากู้ยืมเงิน แบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมและเอกสารประกอบที่ลงนาม ครบถ้วนเรียบร้อยแล้วบนระบบจัดการเอกสาร และเอกสารดิจิทัล (DDR4) และจัดส่งเอกสารให้ผู้บริหารและจัดการเงิน ให้กู้ยืม ภายในระยะเวลาที่กองทุนกําหนดในระบบ LOS


1.2 ขั้นตอนการดําเนินงานของผู้กู้ยืมเงิน

ผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ และรายเก่าที่เปลี่ยนระดับการศึกษาหรือเปลี่ยนสถานศึกษา
1) ลงทะเบียนขอรหัสเข้าใช้งาน กยศ. Connect / ระบบจัดการการให้กู้ยืม LOS) (ดําเนินการครั้งแรก เพื่อใช้สําหรับ Login ระบบ LO5)

2) ยื่นนนนคําขอกู้ยืมเงินผ่านระบบ IOS และเอกสารประกอบ ได้แก่ หนังสือให้ความยินยอม ในการเปิดเผยข้อมูล สําเนาบัตรประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน ผู้ค้ําประกัน และผู้แทนโดยชอบธรรม (กรณีผู้กู้ยืมเงินมีอายุ ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ในปีการศึกษาที่ยื่นคําขอกู้ยืมเป็นปีแรก) โดยจะต้องตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องก่อนส่งข้อมูล ภายในระยะเวลาที่กองทุนกําหนดในระบบ IOS

3) ผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน และต้องการกู้ยืมเงินในแต่ละภาคเรียนต้องดําเนินการยื่นแบบ ยืนยันทรเบิกเงินกู้ยืมรายในระยะเวลาที่กองทุนกําหนดในระบบ LOS

4) บันทึกจํานวนเงินและยืนยันยอดการเบิกเงินกู้ยืมในระบบ IOS ลงนามในแบบเบิกเงินที่สถานศึกษา พร้อมผู้แทนโดยชอบธรรม (กรณีผู้กู้ยืมเงินมีอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ในปีการศึกษาที่ยื่นคําขอกู้ยืมเป็นปีแรก) ภายในระยะเวลาที่กองทุนกําหนด

5) บันทึกสัญญาและลงนามในสัญญาและแบบเบิกเงินที่สถานศึกษา พร้อมกับผู้ค้ําประกัน และผู้แทน โดยชอบธรรม รายในระยะเวลาที่กองทุนกําหนด


ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเลื่อนชั้นปี

1) ลงทะเบียนขอรหัสเข้าใช้งาน กยศ. Connect / ระบบจัดการการให้กู้ยืม (LOS) (ดําเนินการครั้งแรก เพื่อใช้สําหรับ Login ระบบ LOS)

2) ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าที่ต้องการกู้ยืมเงินในแต่ละภาคเรียนต้องดําเนินการยื่นแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม ภายในระยะเวลาที่กองทุนกําหนดในระบบ LOS

3) บันทึกจํานวนเงินและยืนยันยอดการเบิกเงินกู้ยืมในระบบ LOS ลงนามในแบบเบิกเงินที่สถานศึกษา พร้อมผู้แทนโดยชอบธรรม (กรณีผู้กู้ยืมเงินมีอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ในปีการศึกษาที่ยื่นคําขอกู้ยืมเป็นปีแรก) ภายในระยะเวลา ที่กองทุนกําหนด

 

2. แนวปฏิบัติการส่งเอกสารสัญญาให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม

2.1 สถานศึกษาบันทึกข้อมูลนําส่งเอกสาร เช่น เอกสารประกอบคําขอกู้ยืมเงิน เอกสารสัญญากู้ยืมเงิน และเอกสารแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม พร้อมจัดทําทะเบียนคุมแฟ้มและทะเบียนนําส่งเอกสารผ่านระบบจัดการ เอกสารและเอกสารดิจิทัล (DDR4) ตามข้อ 1.1 (4)

2.2. เอกสารที่ต้องนําส่งประกอบด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้

1) เอกสารประกอบคําขอกู้ยืมเงิน ดังนี้

- หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลและสําเนาบัตรประชาชนที่ลงนามแล้วของผู้กู้ยืมเงิน

- หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลและสําเนาบัตรประชาชนที่ลงนามแล้วของผู้ที่เกี่ยวข้อง
เช่น บิดา มารดา ผู้ปกครอง คู่สมรส

2) สัญญากู้ยืมเงินฯ พร้อมเอกสารประกอบสัญญา โดยผู้เกี่ยวข้องในเอกสารต้องลงนามครบถ้วน เรียบร้อยแล้ว ดังนี้

- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน

- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้ค้ําประกัน

- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้แทนโดยชอบธรรม

(กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมไม่เป็นคนเดียวกับผู้ค้ําประกัน)


3) แบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมของแต่ละคเรียนซึ่งลงลายมือชื่อแบบเดียวเหมือนกับสัญญากู้ยืมเงิน พร้อมเอกสารประกอบแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม โดยผู้เกี่ยวข้องในเอกสารต้องลงนามครบถ้วน เรียบร้อยแล้ว ดังนี้

- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้แทนโดยชอบธรรม (ถ้ามี)

2.3. เมื่อสถานศึกษาดําเนินการจัดเรียงและตรวจสอบเอกสารเรียบร้อยแล้ว จัดส่งเอกสารไปยังผู้บริหารและ จัดการเงินให้กู้ยืมตามที่อยู่ ดังนี้

1) บมจ. ธนาคารกรุงไทย ฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ อาคารสุขุมวิท ชั้น 14
เลขที่ 10 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร 10110

2) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ฝ่ายนโยบายรัฐ
66 อาคารคิวเฮ้าส์ อโศก ชั้น 12 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก)
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

2.4. สําหรับการจัดส่งเอกสารในภาคการศึกษาต่อไป หรือปีการศึกษาต่อไป ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินไม่เปลี่ยนระดับ การศึกษา หรือย้ายสถานศึกษานั้น ทางกองทุนฯ กําหนดให้ผู้กู้ยืมเงินทําสัญญาฉบับเตียว จึงให้ปฏิบัติข้อ1 และข้อ 2.3

หมายเหตุ กรณีที่สถานศึกษามีความจําเป็นต้องส่งแบบยืนยันการเบิกเงินหลายๆ ภาคการศึกษามาพร้อมกัน (ส่งล่าช้า) ให้แยกเอกสารแต่ละภาคการศึกษา และใช้ทะเบียนน้ําส่งเอกสาร แยกชุดส่งให้กับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อดําเนินการต่อไป

2.5. เอกสารสัญญากู้ยืมเงิน และเอกสารประกอบการกู้ยืมทุกชนิด เบี้ยธนาคารได้รับแล้วจะไม่มีการส่งกลับคืน ไม่ว่าเอกสารจะมีความสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม หากพบว่าส่งเอกสารไม่ครบถ้วนตามที่บันทึกบนระบบจัดการเอกสาร และเอกสารดิจิทัล (DDR4) ระบบจะแสดงข้อมูลแฟ้มเอกสารนําส่งที่ไม่ครบถ้วนผ่านหน้าจอระบบให้สถานศึกษารับทราบ และต้องดําเนินการส่งเอกสารไปยังธนาคารให้ครบถ้วน ตามที่อยู่ในข้อ 2.3

2.6. หากสถานศึกษามีข้อสงสัย หรือปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสรสัญญา สามารถติดต่อได้ดังนี้

1) บมจ.ธนาคารกรุงไทย ส่วนงาน Help Desk เบอร์โทรศัพท์ 0 2208 2699 หรือส่วนงานตรวจสอบ สัญญา เบอร์โทรศัพท์ 0 2208 8605 - 7 และ 0 2208 8535 - 6

2) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ฝ่ายนโยบายรัฐ เบอร์โทรศัพท์ 089 811 8260 และ ( 2650 6999 ต่อ 1160, 1163, 5151

 

 

 

ภาพโดย Dariusz Sankowski จาก Pixabay

ข้อมูล: https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1610072765

 

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

 

++++++++++

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง