กยศ. หักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท เช็กเลยใครโดนหักบ้าง-พร้อมแนะวิธีแก้ไข

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงข้อสงสัย กรณีที่โซเชียลมีเดียได้มีการเปิดเผยข้อมูลกรณีนายจ้างแจ้งหักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้ค้างชำระหนี้ โดยจะหักเพิ่มรายละ 3,000 บาทจากยอดเดิม สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะค้างชำระ โดยมีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไปนั้น ว่า
กองทุนฯ เพิ่มจำนวนหักเงินเดือนบัญชีละ 3,000 บาท
กองทุนฯ เพิ่มจำนวนหักเงินเดือนบัญชีละ 3,000 บาท (สำหรับผู้กู้ยืม)
Q : ถูกหักเงินเดือนทุกเดือน ทำไมมียอดค้างชำระ?
ยอดค้างชำระหนี้ของผู้กู้ยืมอาจเกิดจาก
- มียอดค้างชำระหนี้ก่อนการหักเงินเดือน
- ในระหว่างการแจ้งหักเงินเดือน ท่านมีการขอปรับลดจำนวนการหักเงิน แล้วผู้กู้ยืมไม่ได้ไปชำระส่วนต่างในวันที่ 5 กรกฎาคมของงวดปีนั้น ๆ
ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบข้อมูลการค้างชำระหนี้ได้ด้วยตนเองผ่านทาง Mobile Application "กยศ. Connect"
ถ้าไม่ต้องการให้นายจ้างหักเงินตามที่กองทุนฯ แจ้งในเดือนนี้ ต้องทำอย่างไร?
- ผู้กู้ยืมสามารถเลือกปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้:
1. ดำเนินการขอปรับโครงสร้างหนี้
- เพื่อลดจำนวนการผ่อนชำระต่อเดือน
- ขยายระยะเวลาการผ่อน
- ลดเบี้ยปรับให้ 100%
- ปลดผู้ค้ำประกัน
โดยกองทุนจะแจ้งจำนวนเงินการหักเงินเดือนตามยอดผ่อนชำระใหม่ ในเดือนถัดจากเดือนที่ผู้กู้ยืมได้ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว
เช่น ในกรณีที่ท่านทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ภายในเดือนเมษายน 2568 (กลุ่มข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนจากกรมบัญชีกลาง ให้ดำเนินการภายในวันที่ 20 เมษายน 2568) กองทุนจะแจ้งยอดผ่อนชำระใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2568 ดังนั้น เดือนเมษายน 2568 นี้ ท่านจะถูกหักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท เพียง 1 เดือนเท่านั้น
2. ชำระยอดหนี้ค้างให้เสร็จสิ้น
หากผู้กู้ยืมชำระแล้ว ให้ผู้กู้ยืมเงินนำหลักฐานการชำระแจ้งต่อนายจ้าง แล้วให้นายจ้างลบยอดออก 3,000 บาท จากยอดหักเงินเดือนในเดือนเมษายน 2568 ได้
หักเงินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้ค้างชำระหนี้
อย่างไรก็ตาม การหักเงินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้ค้างชำระหนี้ โดยจะหักเพิ่มรายละ 3,000 บาทจากยอดเดิมนั้น สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะค้างชำระ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี กยศ. ออกมาตรการลดหย่อนหนี้ เมื่อชำระปิดบัญชีมีส่วนลด 5 - 10%