รีเซต

“อี-คอมเมิร์ซ”ดาวเด่น โตแรง สวนภาวะเศรษฐกิจขาลง

“อี-คอมเมิร์ซ”ดาวเด่น โตแรง สวนภาวะเศรษฐกิจขาลง
TNN ช่อง16
20 พฤศจิกายน 2563 ( 09:45 )
254

วันนี้(20พ.ย.63) เศรษฐกิจ insight พาไปติดตามทิศทางตลาด อี-คอมเมิร์ซ ธุรกิจ Megatrend ดาวเด่นในยุค New Normal ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการ Lockdown ในช่วงที่ผ่านมา และสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคต่างมุ่งหน้าเข้าสู่โลกแห่งการค้า โดยเฉพาะในประเทศไทยเองชื่อว่า นับจากที่โควิด เข้ามาเยือน พฤติกรรมการการบริโภคจะพูดว่าเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงก็ว่าได้ อี-คอมเมิร์ชเข้ามามีส่วนในทุกๆอย่าง และกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปเลย 

ถึงแม้ว่าล่าสุดหลายประเทศจะเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown แล้ว แต่ก็มีแนวโน้มว่าการใช้บริการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ทั่วโลกหรือ อี-คอมเมิร์ซ จะยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ Statista ได้คาดการณ์ว่าในปี 2023 ยอดขายสินค้าของกลุ่มธุรกิจ E–commerce ทั่วโลก (Retail E–commerce Sales) จะเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ในปี 2020 กว่า 55% 



จากรายงานของ Kount ระบุว่า Mobile E-commerce ทั่วโลกนั้นมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมียอดขายเพิ่มเป็น 3 เท่าในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา (จากต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2016 เพิ่มขึ้นมาเกือบ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020) ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2021 ยอดขาย Mobile E-commerce ทั่วโลกจะเติบโตสู่ระดับ 3.56 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หากเปรียบเทียบสัดส่วนยอดขาย E-commerce ค้าปลีก (Retail E-commerce Sales) ทางฝั่งเอเชียแปซิฟิกกับสหรัฐฯ (North America) จะเห็นได้ว่า ยอดขาย E-commerce ค้าปลีกทางฝั่งสหรัฐฯ ยังเติบโตน้อยเมื่อเทียบกับทางฝั่งเอเชียฯ 

โดยข้อมูลจาก eMarketer ระบุว่า ยอดค้าปลีกผ่านทาง E-commerce ในฝั่งเอเชียฯ ในปี 2020 มีสัดส่วนถึงร้อยละ 42.3 ของยอดค้าปลีกทั่วโลก หรือราว 2,448.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับฝั่งสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 22.9 หรือราว 749 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น ขณะที่มีการคาดการณ์ว่า ยอดขาย E–commerce ค้าปลีกของสหรัฐฯ ในปี 2020 จะเติบโตร้อยละ 18 จากทั้งจำนวนผู้ซื้อสินค้า (Digital Buyers) และการใช้จ่ายสินค้าที่เพิ่มขึ้น จึงมีแนวโน้มว่า ยอดขาย E-commerce ค้าปลีกทางฝั่งสหรัฐฯ จะสามารถเติบโตได้อีกมาก

ชมคลิปเพิ่มเติมจาก รายการ "เศรษฐกิจ Insight"https://www.youtube.com/watch?v=z6wE_M1v2lw
อี-คอมเมิร์ซ” ดาวเด่น โตแรง สวนภาวะเศรษฐกิจขาลง

ถ้ามาดูที่ผลประกอบการไตรมาสสองปี 2020 ของหุ้นในกลุ่ม E-commerce จะพบว่า สามารถเติบโตได้ดีสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยกตัวอย่างเช่น Amazon ผู้นำธุรกิจ E-commerce ซึ่งมีรายได้เติบโตร้อยละ 40 YoY อยู่ที่ระดับ 88.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเติบโตทุกส่วนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากธุรกิจ E-commerce ในสหรัฐฯ (North America Segment) ที่เติบโตร้อยละ 43 YoY และนอกสหรัฐฯ (International Segment) ที่เติบโตร้อยละ 38 YoY รวมถึงมีรายได้ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 48 YoY ซึ่งคาดการณ์ว่าในไตรมาสสามปีนี้ จะมีอัตราการเติบโตของรายได้ประมาณร้อยละ 24-33

มาดูบทความจาก We Are Social ได้สรุปประเด็นสำคัญของ Digital Stat 2020 Quarter 4 ส่งท้ายปี  จะทำให้เห็นภาพรวมที่เกิดขึ้นบนโลกดิจิทัลทั่วโลกมากขึ้น   และบางส่วนก็เจาะลึกถึงพฤติกรรมดิจิทัลของคนไทยในช่วงท้ายปี 2020 ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเพราะ Covid-19  



เดิมทีคนส่วนใหญ่อยากซื้ออะไรมักค้นหาจาก Google ก่อน แต่มาวันนี้พวกเขาเลือกที่จะตรงเข้าไปยังเว็บปลายทางที่ต้องการซื้อ ส่วนหนึ่งก็เพราะคนคุ้นเคยกับการค้นหาสินค้าตรงผ่านเว็บช้อปปิ้งออนไลน์หรือ Marketplace เรียบร้อยแล้ว ทำให้ Lazada หรือ Shopee กลายเป็นอีกหนึ่งเว็บที่คนใช้ค้นหาของที่จะซื้อแทน Google ไปเรียบร้อยแล้ว
ดังนั้นถ้าสินค้าคุณไม่พร้อมวางขายให้คนเสิร์จเจอบนเว็บ Marketplace online เหล่านี้ เท่ากับว่าคุณกำลังพลาดโอกาสมากมายไปอย่างน่าเสียดายจริงๆ 
 ( จากกราฟฟิคจะเห็นว่า ผู้ถูกสำรวจที่มีอายุระหว่าง 16 - 64 ปี เข้าไปเยี่ยมชมเว็ปไซต์ค้าปลีกหรือร้านค้าต่างๆ โดยตรงถึง 89 เปอร์เซนต์ มากกว่าผู้ที่ค้นหาสินค้าผ่านช่องทางทั่วไป ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 82 เปอร์เซนต์เท่านั้น 
นอกจากนี้ ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 66 เปอร์เซนต์ เคยมีประสบการณ์ใช้แอปพลิเคชั่นช้อปปิ้งทั้งในโทรศัพท์มือถือและแทปเล็ต อีก 74 เปอร์เซนต์เคยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว และในจำนวนนี้ 52 เปอร์เซนต์เคยซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น )

 มาดูกราฟฟิคนี้  บอกว่า คนไทย 83% ช้อปปิ้งออนไลน์เป็นแล้ว


จากพิษโควิด19 ที่ทำให้เราต้อง Lockdown หรืออยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติกัน แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่เดือน แต่กลับเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือคนต้องเรียนรู้ที่จะช้อปออนไลน์ให้เป็นถ้ายังอยากให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้  ( อธิบายตามกราฟฟิค )   
        
จากกราฟจะเห็นว่า ผู้ใช้อินเตอร์เนตที่มีอายุระหว่าง 16 - 64 ปี “ทั่วโลก” เคยซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากถึง 74 เปอร์เซนต์ และเมื่อแยกเป็นรายประเทศพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามชาวอินโดนีเซียเคยซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ในสัดส่วนที่มากที่สุดถึง 87 เปอร์เซนต์ รองลงมาคือ อังกฤษ มาเลเซีย เยอรมนี และ เกาหลีใต้ ส่วน “ไทย” อยู่อันดับที่ 6 

ขณะที่ อิยิปต์ และเซาธ์ แอฟริกา เป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้เคยซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์น้อยที่สุดเพียง 45 เปอร์เซนต์ และ 53 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ

และในขณะเดียวกันเราก็ได้เรียนรู้ว่าใดๆ ในโลกล้วนซื้อออนไลน์ได้ทั้งนั้น คำถามสำคัญที่นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจต้องตอบให้ได้คือ สินค้าและบริการของเราพร้อมให้คนซื้อหรือจ่ายได้บนออนไลน์เรียบร้อยแล้วหรือยัง

กราฟฟิคนี้  แสดงถึง ทุกเพศทุกวัยล้วนช้อปปิ้งออนไลน์เป็นทั้งนั้น


จากเดิมเราเคยเชื่อกันว่าการช้อปปิ้งออนไลน์น่าจะเป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ไม่ก็ผู้หญิงที่นิยมชอบสินค้าแฟชั่น แต่ดูจากกราฟจะเห็นว่าแม้จะอายุ 55-64 ก็มีอัตราการช้อปปิ้งออนไลน์ที่ไม่แพ้คนรุ่นใหม่หรือเด็กรุ่นหลานเลยทีเดียว (อธิบายตามกราฟฟิค ) 

ดังนั้นอย่าอ้างว่าลูกค้าคุณเป็นผู้สูงวัยเลยไม่จำเป็นต้องมีช่องทางการขายออนไลน์ หรือถ้าผู้บริหารใครยังคิดแบบนั้นขอให้เอา Stat หน้านี้ไปแชร์ให้ดูแบบเต็มๆ ตา จะได้เปลี่ยนจากการใช้ Instinct มาเป็น Insight จริงๆ จาก Data ได้แล้วครับ 


กราฟฟิคนี้น่าสนใจทีเดียว เขาบอกว่า คนไทยช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านมือถือสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก

ในช่วงปลายปี 2020 จากข้อมูลสถิติการช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านมือถือนั้นจะเห็นว่า คนไทยมีอัตราการใช้มือถือช้อปปิ้งออนไลน์อยู่ที่ 71% ซึ่งสูงเป็นอันดับสองของโลก รองจากเพื่อนบ้านอาเซียนอย่าง Indonesia ที่เป็นเบอร์หนึ่งอยู่ที่ 79% (ฮธิบายตามกราฟฟิค ) 

ดังนั้นการที่คุณพร้อมให้ลูกค้าช้อปออนไลน์สำหรับทุกเพศทุกวัยในวันนี้ยังไม่พอ คุณได้เตรียม User Experience สำหรับการช้อปผ่านมือถือที่ดีเพียงพอแล้วหรือยัง


กราฟฟิคนนี้จะเป็นการเปรียบเทียบ   คนรุ่นใหม่นิยมช้อปผ่านมือถือ คนรุ่นเก่าถนัดช้อปผ่านคอมมากกว่า

ประเด็นที่ 5 นี้จะหยิบมาสไลด์มา 2 หน้า เพื่อเปรียบเทียบให้เห้นภาพชัดๆ เลยว่าคนรุ่นใหม่นิยมช้อปผ่านมือถือมากกว่าคนรุ่นก่อนอย่างเห็นได้ชัด และในขณะเดียวกันคนรุ่นก่อนก็ถนัดในการช้อปผ่านคอมพิวเตอร์มากกว่า อาจจะด้วยขนาดของหน้าจอที่ง่ายต่อการดูข้อมูลก่อนตัดสินใจ หรือบอกเป็นอีกนัยได้ว่ากลุ่มคอมพิวเตอร์เดิมน่าจะกลับมาขายดีอีกครั้งกับกลุ่มคนสูงวัยนั่นเอง


กราฟฟิคนี้  แสดงถึง คนไทย 47% ไม่นิยมใช้เงินสด สะดวก Cashless มากกว่า   

จากข้อมูลการสำรวจปลายปี 2020 จะเห็นว่า คนไทยกว่า 47% สะดวกในการไม่พกเงินสดอย่างเห็นได้ชัด พวกเขาสะดวกการจ่ายด้วยวิธีอื่นมากกว่า ดังนั้นร้านค้าไหนที่ยังไม่พร้อมโอน สแกน QR Code เตรียมพลาดโอกาสที่จะได้เงินจากลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่ไม่สะดวกพกเงินสดอีกต่อไปได้เลย 

คนทุกวัยพร้อมใจ Cashless


จากเดิมเราเคยเชื่อกันว่าเฉพาะคนรุ่นใหม่เท่านั้นที่สะดวกการจ่ายเงินผ่านมือถือ แต่จาก Stat หน้านี้ทำให้เห็นชัดๆ เลยว่าทุกเพศทุกวัยพร้อมใจสะดวกโอนจ่ายผ่านมือถือหรือ Cashless Society กันหมดแล้ว 

จากเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งหมด ทำให้เราปฏิเสธอานุภาพความรุนแรงของคลื่นแห่ง E-commerce ไม่ได้อีกต่อไป

เพราะตัวเลขไม่เคยโกหก สถิติดังกล่าวได้ตอกย้ำว่า อีคอมเมิร์ชไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่มันคือความจริง ที่เป็นทั้งโอกาสและอาวุธสำคัญในการทำธุรกิจให้เติบโตแบบฉุดไม่อยู่ และในทางกลับกัน หากไม่ยอมปรับตัว คลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะซัดสาดจนธุรกิจล้มแบบไม่มีที่ยืนก็ได้เช่นกัน

ชมคลิปเพิ่มเติมจาก รายการ "เศรษฐกิจ Insight"https://www.youtube.com/watch?v=z6wE_M1v2lw
อี-คอมเมิร์ซ” ดาวเด่น โตแรง สวนภาวะเศรษฐกิจขาลง


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง