เช็คสิทธิ ม.40 ได้ "เงินเยียวยา 5,000 บาท" มีอะไรบ้าง เงินเข้าบัญชีวันไหน?
ผู้ประกันตนมาตรา 40 เตรียม เช็คสิทธิ ม.40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท สำหรับอาชีพอิสระ จากสำนักงานประกันสังคม โดยได้รับเงินเยียวยา ไม่ว่าจะเป็น "เงินเยียวยาประกันสังคม รอบเก็บตก เดือนธันวาคม" โอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน 5,000-10,000 บาท เช็คสิทธิเงินเยียวยาผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
รวมถึง ม.40 กลุ่มอาชีพอิสระสถานบันเทิง กระทรวงแรงงาน เตรียมพร้อมจ่ายเงินเยียวยา ในโครงการเยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิง และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ 5,000 บาทต่อคน โดยคาดว่าจะโอนเงิน รอบแรกภายวันที่ 29 ธันวาคม 2564 แต่ต้องลงทะเบียนสมัคร ม.40 ผ่านสมาคม ธุรกิจบันเทิง ภายในวันที่ 14 มกราคม 2565 จึงจะได้รับ "เงินเยียวยา"
วันนี้ TrueID จึงจะมาเปิดรายละเอียด "เงินเยียวยา" สำหรับมาตรา 40 ที่สมัคร ม.40 ไว้ จะได้สิทธิอะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนลงทะเบียน ม.40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
เช็คสิทธิ ม.40 รับเงินเยียวยาประกันสังคม
เงินเยียวยาประกันสังคม ม.40 เดือนธันวาคม
สัปดาห์ที่ 4
- วันพฤหัสบดีที่ 23 ธ.ค.64 โอนรอบเก็บตก มาตรา 39 และมาตรา 40
- วันศุกร์ที่ 24 ธ.ค.64 โอนรอบเก็บตก มาตรา 33
สัปดาห์ที่ 5
- วันพฤหัสบดีที่ 30 ธ.ค.64 โอนรอบเก็บตก มาตรา 39 และมาตรา 40
- วันศุกร์ที่ 31 ธ.ค.64 โอนรอบเก็บตก มาตรา 33
เช็คสิทธิเงินเยียวยา ม.40
- เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th เลือก ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ
- เลือกตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตน ม.40
- กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และกรอกรหัสให้ตรงตามรูปที่กำหนด
- จากนั้นกดค้นหา
- ระบบจะแสดงผลการค้นหา พร้อมระบุจะอัปเดตข้อมูลล่าสุด ตามวันเวลาที่กำหนดอีกครั้ง
ลงทะเบียน ม.40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท กลุ่มอาชีพอิสระสถานบันเทิง
ผู้ที่จะได้รับสิทธิเยียวยาตามโครงการนี้ จะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทำงานในกิจการสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องได้รับการรับรองจากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยหรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้การรับรอง
ผู้ที่ยังไม่ได้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ให้รีบสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และรีบชำระเงินสมทบให้ทันภายในวันที่ 14 ม.ค.2565 พร้อมให้ทางสมาคมดังกล่าวข้างต้น รับรองภายในวันที่ 28 ม.ค. 2565
เงินเยียวยา 5,000 บาท เข้าวันไหน
สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) ที่ผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชน เริ่มจ่ายเงินเยียวยางวดแรกในวันที่ 29 ธันวาคม 2564 และจ่ายเงินเยียวยา รอบเก็บตกถึงเดือนมีนาคม 2565
ผู้ที่ได้รับสิทธิเยียวยา
- ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
- ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทำงานในกิจการสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ
- ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องได้รับการรับรองจากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยหรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้การรับรอง ภายในวันที่ 14 ม.ค. 2565
- สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ให้รีบสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40
สิทธิรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ม.40
คุณสมบัติผู้ประกันตนมาตรา 40
- มีสัญชาติไทย อายุ 15 - 65 ปี
- ประกอบอาชีพอิสระ / ฟรีแลนซ์
- ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33, มาตรา 39
- ไม่เป็นข้าราชการ หรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง
- ผู้มีบัตรประจำตัวที่ไม่มีสัญชาติไทยขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7
วิธีสมัครประกันสังคมมาตรา 40
- เว็บไซต์ www.sso.go.th เมนู ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 คลิก
- สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506
- หน่วยบริการ ที่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11, ธ.ก.ส. และบิ๊กซี
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / จังหวัด / สาขาเครือข่ายประกันสังคม
วิธีสมัครพร้อมเพย์ รับเงินเยียวยา ม.40
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารกรุงเทพ
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารกรุงไทย
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารกรุงศรี
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารกสิกรไทย
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารเกียรตินาคิน
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารซีไอเอ็มบี
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารทีทีบี
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารทิปโก้
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคาร ธ.ก.ส.
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารยูโอบี
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารออมสิน
- สมัครพร้อมเพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม , กระทรวงแรงงาน
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<