รีเซต

วันพืชมงคล 2567 เกษตรกรทั่วไทยถือฤกษ์เริ่มเพาะปลูก หวังสิ้นสุดความแห้งแล้ง

วันพืชมงคล 2567 เกษตรกรทั่วไทยถือฤกษ์เริ่มเพาะปลูก หวังสิ้นสุดความแห้งแล้ง
TNN ช่อง16
10 พฤษภาคม 2567 ( 10:42 )
61

บรรยากาศ ‘วันพืชมงคล ปี 2567’ เกษตรกรทั้งชาวนา ชาวไร่ ถือฤกษ์วันพืชมงคลลงมือปลูกพืช เพื่อหวังพืชผลผลิตเจริญงอกงามขายได้กำไรดีตามที่ยึดถือมาแต่โบราณ ขณะที่ที่ยังไม่มั่นใจว่าปีนี้ฝนทิ้งช่วงหรือไม่

เกษตรกรทั้งชาวนา ชาวไร่ ถือฤกษ์วันพืชมงคลลงมือปลูกพืช เพื่อหวังพืชผลผลิตเจริญงอกงามขายได้กำไรดีตามที่ยึดถือมาแต่โบราณ ขณะที่ที่ยังไม่มั่นใจว่ามรปีนี้ฝนทิ้งช่วงหรือไม่


เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งอยู่นอกเขตชลประทาน และในเขตชลประทาน ของ อำเภอเมือง อำเภอบ้านหมี่  อำเภอท้าวุ้ง และ อำเภอโคกสำโรง ของจังหวัดลพบุรี ต่างพร้อมใจกันนำเครื่องจักรกลการเกษตร ลงมือไถแปลงนา และใช้เครื่องช่วยหว่านพ่นเมล็ดพันธ์ข้าว รวมถึงนำต้นกล้าข้าว ที่ได้ทำการเพาะกล้าข้าวไว้ก่อนหน้า ลงสู่แปลงนาแปลงแรก ในช่วงฤดูกาลทำนาปี โดยถือฤกษ์ดีในช่วงวันพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นการเริ่มต้นฤดูกาล 


ขณะที่เกษตรกรที่ยังไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ภัยแล้ง หากฝนทิ้งช่วง ก็ไถเตรียมดินไว้ก่อนในวันพืชมงคล เพื่อเอาฤกษ์เริ่มต้นการทำนาเช่นเดียวกับเกษตรกรชาวไร่ ผู้ปลูกมันสำปะหลัง และ เกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อป้อนอุสาหกรรมโรงงานน้ำตาล 


ในพื้นที่ ตำบลโคกตูม อำเมืองลพบุรี หลายรายต่างถือฤกษ์ดี ในวันพืชมงคล ร่วมกันลงแขก ปลูกต้นมันสำปะหลัง แบบใช้แรงงานคนในการปักเลียงต้นมัน ในแปลงปลูกที่ได้มีการปรับแต่งพรวนดินยกล่องรอไว้ก่อนแล้วไว้ตั้งแต่เมื่อ 2 - 3 วันที่ผ่านมา รวมถึง เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในพื้นที่ ต.นิคมสร้างตนเอง และ ต.โคกตูม อ.เมืองลพบุรี ต่างนำรถไถเพื่อการเกษตร ซึ่งใช้สำหรับปักดำต้นกล้า ของต้นอ้อย ออกกันมาทำงานตลอดทั้งวัน เพื่อปลูกอ้อยลงสู่แปลงปลูกของตนเองที่ได้ไถเตรียมไว้ก่อนหน้า กันแต่เช้าโดยถือฤกษ์ดีในช่วง วันพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตามแบบประเพณีโบราณ ที่ยึดถือกันมาทุกปี เพราะเชื่อว่า หลังพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จะทำให้ฝนตกต้องฤดูกาล พืชผลผลิตเจริญงอกงามขายได้กำไรดี



ทางด้านจังหวัดบึงกาฬ เกษตรกรในพื้นที่บ้านหนองแวง ม.3 ต.วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ถือฤกษ์งามยามดีเนื่องใน ‘วันพืชมงคล’ ลงมือทำนาปี โดยว่าจ้างรถไถนามาไถพรวนดิน พร้อมหว่านกล้าข้าวนาปี เริ่มต้นฤดูกาลทำนา ในปีนี้ แม้ฟ้าฝนจะยังไม่เป็นใจ ตั้งแต่ต้นปีมีฝนตกลงไม่กี่ครั้ง ทำให้พื้นดินที่นายังแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา โดยเกษตรกร เริ่มหว่านกล้าข้าวหอมมะลิกลางปี  เพื่อหวังให้เจริญเติบโตในช่วงฝนมาพอดี และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.นี้ ถึงแม้ในช่วงนี้จะไม่มีฝนตกลงมา หรือฝนทิ้งช่วง แต่ก็ต้องทำการเพาะปลูก เพื่อให้เป็นไปตามฤดูกาล


ข้าวกลาง คือ กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ออกรวงหลังข้าวเบา คือในช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ข้าว กข 6 ซึ่งเกษตรกรมักปลูกในพื้นที่สูง แต่ก็เสี่ยงกับการขาดน้ำเช่นกัน


สำหรับบรรยากาศในจังหวัดยโสธรได้มีการถือฤกษ์ดีของวันพืชมงคล ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานบูชาเจ้าปู่ เจ้าที่ เจ้าทาง หรือ พระนางธรณี ที่ประจำอยู่หัวไรปรายนา เป็นการเสี่ยงทายในพร้อมกัน ดูกระเดือกไก่แล้วพบว่า ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล มีความอุดมสมบูรณ์  โดยเฉพาะชาวนาตำบลตาดทอง อำเภอเมือง ต่างยืดถือปฏิบัติตามแบบโบราณ ซึ่งเคยทำกันมาแต่บรรพบุรุษ พื้นที่แรกนาขวัญ จะต้องเป็นพื้นที่ไถกลบมาก่อน หรือ ชาวอีสานเรียกว่า ไถฮุดนา จึงมีการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปว่าน ต่อจากนั้นจึงมีการใช้ควายลากไถทำด้วยไม้ วนเวียนไปอย่างน้อย 3 รอบ การแรกนาขวัญของชาวบ้านตาดทอง มีความเชื่อในประเพณีชาวอีสาน ปฏิบัติทำสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ  


ที่จังหวัดอุทัยธานี  เช้าวันนี้ ( 10 พ.ค. ) เกษตรกรชาวนาชาวไร่ในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุทัยธานี ต่างถือฤกษ์วันพืชมงคล อย่างชาวนาบ้านทับยายปอน  หมู่ที่ 1 ตำบลประดู่ยืน อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ออกมาหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวกันตั้งแต่เช้า ซึ่งแม้ว่าวิถีการทำนาจะเปลี่ยนไปจากการลงแขกทำนาเปลี่ยนมาเป็นจ้างแรงงาน และใช้เครื่องมือการเกษตรแบบใหม่มาหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวก็ตาม แต่ยังคงสืบสานประเพณีการทำนา โดยถือฤกษ์วันพืชมงคลวันดีเป็นวันที่เป็นสิริมงคลในวันนี้หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวกันอย่างคึกคัก


สำหรับ การทำนาในหลายพื้นที่แห่งนี้อาจจะเสี่ยงต่อฝนทิ้งช่วงก็ตาม แต่พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ๆมีบ่อน้ำใตดิน ( บ่อบาดาล ) กันเกือบทุกครัวเรือนสำหรับไว้ในการทำการเกษตรและการทำนา จึงเชื่อว่าในวันพืชมงคลเป็นวันดีมีความเป็นสิริมงคล หากทำการเพาะปลูกพืชผลการเกษตรก็จะเจริญงอกงาม และได้ผลผลิตดี และถือเป็นวันเริ่มต้นฤดูกาลการทำนาปี วันพืชมงคล หรือวันแรกนาขวัญ มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวไทย ที่เป็นสังคมเกษตรกรรมสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน


ทางด้านจังหวัดนครสวรรค์ เกษตรกรชาวนาในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ถือฤกษ์ดี วันพืชมงคล ซึ่งก็เป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝน จึงได้ทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว ปักดำนาข้าว ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำการเตรียมนาไว้ก่อนหน้านี้

นายสาโรจน์ ใจเด็ด ชาวนาเผยว่า การลงมือหว่านข้าวในวันพืชมงคลนั้น ถือเป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่ว่าการลงมือหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงผืนนาในวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จะทำให้ได้รับความเป็นสิริมงคล ด้วยการบอกกล่าวพระแม่โพสพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักษ์รักษาผืนดิน ของนาข้าว ช่วยบันดาลให้น้ำท่าและพืชผลในนามีความอุดมสมบูรณ์ ไม่มีแมลง นก หนู มารบกวน ให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย สมบูรณ์ พูนผล ขายข้าวได้ราคาดี


ภาพจากผู้สื่อข่าวภูมิภาค TNN 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง