รีเซต

"โอมิครอน" ติดง่าย! เปิด "วิธีอ่านผลตรวจ ATK" ผลตรวจ ATK เป็นบวก ขึ้น 2 ขีด ติดโควิดจริงหรือปลอม

"โอมิครอน" ติดง่าย! เปิด "วิธีอ่านผลตรวจ ATK" ผลตรวจ ATK เป็นบวก ขึ้น 2 ขีด ติดโควิดจริงหรือปลอม
Ingonn
22 กุมภาพันธ์ 2565 ( 09:43 )
63.6K
1

โอมิครอน หรือ โอไมครอน ที่กำลังระบาดอย่างหนักในไทย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขต้องออกมาเตือนภัยโควิด-19 ระดับ 4 พร้อมสั่งห้ามทำกิจกรรมเสี่ยงเพื่อลดการแพร่ระบาด และความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด โดยเฉพาะ “โอมิครอน” ที่แพร่ระบาดเร็วกว่าทุกสายพันธุ์ ทำให้การตรวจ ATK เป็นสิ่งจำเป็นเมื่อต้องออกไปนอกบ้าน แต่ “ผลตรวจ ATK เป็นบวก” หรือ ATK ขึ้น 2 ขีด แปลว่าติดโควิดจริงหรือไม่

 

วันนี้ TrueID จึงสรุปแนวทางการตรวจ ATK ด้วยตัวเองง่ายๆ พร้อม "วิธีอ่านผลตรวจ ATK" หากผลตรวจ ATK เป็นบวก ขึ้น 2 ขีด เป็นผลตรวจโควิดจริงหรือปลอม

 

 

ที่ตรวจ  ATK ใช้กับใคร

ใช้กับบุคคลซึ่งมี อาการ/อาการแสดง ที่เข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วยที่มีอาการต้องสงสัยติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น

  • ผู้ที่เป็นไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็วหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว
  • เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการร่วมกับมีประวัติเสี่ยง ได้แก่ อาศัย/เดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาดหรือสถานที่ที่พบผู้ติดเชื้อในช่วง 14 วัน
  • สมาชิกครอบครัว/เพื่อน/เพื่อนร่วมงาน เป็นผู้ติดเชื้อ

 

วิธีการตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง ด้วยชุดตรวจ ATK

ชุดตรวจ Antigen Test Kit หรือ ATK 1 ชุด ประกอบด้วย แผ่นทดสอบ หลอดดูด น้ำยา ไม้ swap และหลอดตัวอย่างชุด

 

เตรียมการทดสอบ

  1. ล้างมือและเช็ดให้สะอาด
  2. อ่านคำแนะนำการใช้งานในคู่มือที่มากับชุดทดสอบ
  3. ตรวจสอบวันหมดอายุ

 

วิธีตรวจ ATK ด้วยตัวเอง

  1. ใช้ไม้ swap โพรงจมูกทั้ง 2 ข้าง หมุนข้างละ 5 รอบ
  2. จุ่มไม้ swap ลงในหลอดที่มีน้ำยาสกัด หมุนและกดอย่างน้อย 5 รอบ เอาไม้ออกและปิดฝาจุก
  3. หยดตัวอย่างที่สกัดแล้วลงในตลับทดสอบ รอเวลาอย่างน้อย 15 นาทีขึ้นไป

 

วิธีอ่านผลตรวจ ATK

หากขึ้น 2 ขีด ตัวทั้ง C และ ตัวT = ผลบวก (ไม่ว่าขีดจะจางหรือเข้ม) เท่ากับติดเชื้อโควิด

หากขึ้น 1 ขีด ที่ตัว C= ผลลบ เท่ากับไม่ติดเชื้อโควิด

 

*หมายเหตุ* หากขึ้น 1 ขีด ที่ตัวT เพียงตัวเดียว หรือ ไม่ขึ้นขีด จะไม่สามารถอ่านผลได้ และจะต้องทำการทดสอบใหม่ เมื่อทำการทดสอบแล้ว ให้ทำความสะอาดอุปกรณ์โดยแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาซักผ้าขาว แอลกอฮอล์ แยกใส่ถุง ปิดให้มิดชิดและทิ้งให้เหมาะสม

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 และมีอาการเล็กน้อย หากผลตรวจไม่พบเชื้อ ให้ตรวจซ้ำ 3-5 วันถัดมา ระหว่างนี้ให้แยกกักตัว หากมีอาการรุนแรง ควรไปสถานพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR เพื่อยืนยันผลอีกครั้ง

 

ผลตรวจ ATK เป็นบวก ติดโควิดไหม

หากขึ้น 2 ขีด ตัวทั้ง C และ ตัวT คือผลบวก ที่แปลว่าติดโควิด แต่ก็ต้องระวังผลบวกปลอม (False Positive) คือการที่ตรวจ ATK แล้วผลพบเชื้อหรือเป็นบวก แต่เมื่อตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR แล้วไม่ได้ติดเชื้อ

สาเหตุ

  1. การติดเชื้อไวรัสหรือจุลชีพอื่น ๆ
  2. ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด
  3. ชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน
  4. การปนเปื้อนจากพื้นที่ที่ทำการทดสอบลงบนอุปกรณ์ที่ใช้
  5. สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม

 

ทั้งนี้ หากมีอาการของทางเดินหายใจ เช่น มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ มีไข้ หรือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยโควิดเสี่ยงสูง และทดสอบ ATK ผลเป็นบวก ให้แยกตัวทันทีและติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือสายด่วน สปสช. 1330 ต่อ 14 การพิจารณาตรวจหาเชื้อซ้ำ และแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับแนวทางของสถานพยาบาลนั้น ๆ

 

ผลตรวจ ATK เป็นลบ ติดโควิดไหม

เมื่อใช้ชุดตรวจแอนติเจนแบบเร็ว (Antigen Test Kit) แล้วแสดงผลการทดสอบเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) แต่พบว่าการตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR ผู้ตรวจติดเชื้อ

สาเหตุ

  1. เพิ่งติดเชื้อในระยะแรก ร่างกายจึงมีปริมาณเชื้อไวรัสต่ำ
  2. การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง เช่น ทิศทางการแหย่จมูกไม่ถูกต้องตามวิธีทดสอบ
  3. ช่วงเวลาตรวจไม่เหมาะสม เช่น อาจเป็นผู้ป่วยที่แสดงอาการอยู่ แต่ปริมาณไวรัสลดลงแล้ว
  4. ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ปริมาณตัวอย่างที่หยดมากหรือน้อยเกินไป ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด
  5. นำมาใช้ผิดประเภท เช่น การนำ ATK ชนิดตรวจหาเชื้อทางจมูกมาใช้ตรวจหาเชื้อในน้ำลาย

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าผลตรวจ ATK จะเป็นบวก หรือลบให้แยกกักตัวทันที หากมีอาการเล็กน้อยแต่ผลตรวจไม่พบเชื้อ ให้ตรวจซ้ำ 3-5 วันถัดมา กรณีที่มีอาการรุนแรง ควรไปสถานพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธีมาตรฐานซ้ำอีกครั้ง

 

ผลตรวจ ATK เป็นบวก ทำอย่างไร

หากตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 สามารถลงทะเบียนสู่ระบบ Home Isolation ด้วย 3 ช่องทาง ดังนี้ 

ช่องทางที่ 1. โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 14 

ช่องทางที่ 2. ลงทะเบียนด้วยตนเองที่ https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI

ช่องทางที่ 3. ไลน์ สปสช. โดยเพิ่มเพื่อน พิมพ์ @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6

  • เลือกเมนูบริการเกี่ยวกับโควิด-19
  • เลือกลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) 

 

หากลงทะเบียนแล้วรอเกิน 6 ชม.  ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อสอบถามอาการ ผู้ป่วยสามารถติดต่อกลับมาแจ้งที่สายด่วน สปสช. 1330 ได้ตลอด 24 ชม. หรือถ้าหากมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก สามารถโทร.สายด่วนสพฉ.(ผป.ฉุกเฉิน)เบอร์ 1669 ได้

 

สามารถดูคลิปวีดีโอแนะนำการใช้ชุดตรวจ ATK ตรวจโควิดด้วยตนเองได้ที่>>>

 

 

 

ขั้นตอนการขอรับ ATK ฟรี

  1. ประชาชนที่ต้องการได้รับแจกชุดตรวจ ต้องกรอกแบบคัดกรองในแอปเป๋าตัง โดยเข้าไปที่เมนู รับชุดตรวจโควิด-19 ฟรี

  2. ทำแบบประเมินก่อนรับชุดตรวจโควิด-19 ตอบคำถาม 3 ข้อ
    • มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว
    • มีประวัติพักอาศัยหรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาดหรือสถานที่ที่พบผู้ติดเชื้อในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
    • มีสมาชิกในครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือเดินทางร่วมยานพาหนะกับผู้ติดเชื้อโควิด

  3. หากผลประเมินพบว่า คุณสามารถรับชุดตรวจโควิด-19 ได้ ให้คลิกที่เมนู หน่วยบริการใกล้ฉัน เลือกหน่วยบริการที่จะไปรับชุดตรวจ โทรประสานเพื่อไปขอรับหรือให้ผู้อื่นไปรับที่หน่วยบริการ หน่วยบริการจะจ่ายชุดตรวจ ATK ให้จำนวน 2 ชุด สำหรับการตรวจ 2 ครั้ง กรณีผลเป็นลบ ตรวจซ้ำอีกครั้งห่างกันครั้งละ 5 วัน

  4. ก่อนรับชุดตรวจ ATK ต้องยืนยันตัวตนด้วยการสแกน QR Code ที่หน่วยบริการส่งให้ ผ่านแอปเป๋าตัง เมนู สแกน QR เพื่อรับชุดตรวจ

  5. ตรวจโควิดด้วยตนเองที่บ้าน พร้อมบันทึกผลตรวจผ่านแอปเป๋าตัง เลือกเมนูบันทึกผลตรวจ หากผลเป็นบวก เลือกเมนูลงทะเบียนเข้ารับการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชนต่อไป กรณีจังหวัดนั้นยังไม่มีระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน จะเข้าสู่ระบบการรักษากับหน่วยบริการต่อไป

 

กรณีไม่มีมือถือสมาร์ทโฟน สามารถไปขอรับได้ที่ รพ., รพ.สต. ทางเจ้าหน้าที่จะทำการคัดกรองและยืนยันตัวตนให้ 

 

กรณีไปขอรับที่คลินิกและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับผู้ที่มีมือถือสมาร์ทโฟนเท่านั้น 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso

 

 

 

 

ข้อมูล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , อ. ดร. พญ. วรรษมน จันทรเบญจกุล ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง