รีเซต

เช็ก! ที่ตรวจ ATK ตรวจโควิด "โอไมครอน" ได้จริงไหม ตรวจแบบไหนไม่เสี่ยงเจอ "ผลตรวจ ATK" ปลอม

เช็ก! ที่ตรวจ ATK ตรวจโควิด "โอไมครอน" ได้จริงไหม ตรวจแบบไหนไม่เสี่ยงเจอ "ผลตรวจ ATK" ปลอม
Ingonn
4 มกราคม 2565 ( 13:44 )
95.8K
เช็ก! ที่ตรวจ ATK ตรวจโควิด "โอไมครอน" ได้จริงไหม ตรวจแบบไหนไม่เสี่ยงเจอ "ผลตรวจ ATK" ปลอม

ปัจจุบันสถานการณ์โควิด "โอไมครอน" ได้เพิ่มจำนวนการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องและลุกลามเข้ามาในประเทศไทย หลายจังหวัด โดยทางภาครัฐได้เน้นย้ำ ให้ประชาชนทุกคน "ตรวจ ATK" เพื่อเช็กอาการโอไมครอน ว่าติดเชื้อโควิดโอไมครอนแล้วหรือยัง  โดยหลายคนอาจสงสัยว่า โอไมครอน สามารถตรวจเจอเชื้อผ่าน ที่ตรวจ ATK ได้หรือไม่ และจะตรวจอย่างไรให้ได้ผลแม่นยำ

 

 

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย ดร.มิเรียม เบคลิซ นักวิจัยจากกองโรคติดเชื้อ ศูนย์โรคไวรัสอุบัติใหม่เจนีวา ได้เคยศึกษาประสิทธิภาพการตรวจจับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” ของชุดตรวจ ATK โดยทำการทดสอบทั้งหมด 7 ยี่ห้อ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ยี่ห้อ ที่อย. รับรองและวางขายในไทยแล้ว ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นเพียงการทดลองเบื้องต้น ซึ่งมาจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอน เพียง 1 รายเท่านั้น จึงมีข้อจำกัดในการทดสอบ

 

โดยนำมาทดสอบกับไวรัสที่เพาะเลี้ยงในแล็บ 6 สายพันธุ์ คือ B.1.160 (สายพันธุ์ดั้งเดิมในสหราชอาณาจักร) และสายพันธุ์น่ากังวล (VOC) ทั้ง 5 ตัว คือ อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา และโอมิครอน ซึ่งมีที่ตรวจ ATK 7 ยี่ห้อ ที่สามารถตรวจจับโอมิครอนได้ ดังนี้

  1. บริษัทแอบบอตต์ (Abbott) ชุดตรวจ Panbio COVID-19 Ag Rapid
  2. บริษัทโรช (SD Biosensor/Roche) ชุดตรวจ Standard Q COVID-19 Ag
  3. บริษัทพรีเมียร์เมดิคอล (Premier Medical Corporation) ชุดตรวจ Sure Status
  4. บริษัทวอนด์โฟ (Wondfo) ชุดตรวจ 2019-nCoV Antigen test
  5. บริษัทไท่เก๋อเคอซิ่น (Tigsun) ชุดตรวจ Beijng Tigsun Diagnostics Co. Ltd
  6. บริษีทซีทีเค (CTK Biotech) ชุดตรวจ Onsite COVID-19 Ag Rapid Test
  7. บริษัทโฟลว์เฟล็กซ์ (Flowflex) ชุดตรวจ ACON Biotech

 

ซึ่งที่ตรวจ ATK ยี่ห้อ แอบบอตต์ , โรช และพรีเมียร์เมดิคอล ได้รับการอนุมัติใช้จากองค์การอนามัยโลกแล้ว และ อย.ไทยได้รับรองที่ตรวจ ATK แล้ว 6 ยี่ห้อ ยกเว้นชุดตรวจโควิดของ บริษัทวอนด์โฟ

 

ที่ตรวจ ATK ตรวจโควิด "โอไมครอน" ได้จริงไหม

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาระบุว่า ชุดตรวจ ATK ที่ขายบนเว็บไซต์ออนไลน์ และมีการอ้างอิงสรรพคุณในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนได้ เข้าข่ายเป็นการโฆษณาที่ผิด เนื่องจากการใช้ชุดตรวจ ATK เป็นเพียงการคัดกรอง หรือตรวจหาการติดเชื้อเบื้องต้นเท่านั้น แต่ไม่สามารถบอกถึงสายพันธุ์ได้ว่าเป็นสายพันธุ์อะไร สำหรับชุดตรวจ ATK ที่ผ่าน อย. ไม่ว่าจะติดเชื้อสายพันธุ์ไหนก็ตรวจเจอ แม้ไม่ได้ระบุสายพันธุ์ ซึ่งผลก็ไม่ต่างกัน และมีการตรวจสอบ ทดลอง ทุกยี่ห้อที่นำเข้ามา

 

ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาออกมาว่าชุดตรวจของบริษัทไหนดีกว่ากัน และในต่างประเทศที่ทดสอบก็จะต้องทดสอบจากหลากหลายสายพันธุ์ อย่างที่ประเทศไทยนำเข้ามา ก็ต้องทดลองกับหลายสายพันธุ์เช่นกัน

 

ขณะที่ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า ผล ATK 72 ชั่วโมงที่แล้ว อาจไม่เพียงพอสำหรับการค้นหาเชื้อโอไมครอน ควรตรวจอย่างถูกต้องหน้างาน หรือ ไม่เกิน 12 ชั่วโมง

 

โดยชุดตรวจ ATK ที่ทาง อย.  ประกาศอนุมัติ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 ที่ผ่านมานั้นมีทั้งหมด 354 รายการ โดยเป็น ชุดตรวจด้วยตนเอง 194 รายการ   (สามารถดูได้ที่ https://drive.google.com/.../1Nk-QNSgDzZE_vaIHwEuC.../view)  และ ชุดตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ 160 รายการ (https://drive.google.com/.../1qw.../view

 

เปิดวิธีตรวจโควิด 19 ด้วย ATK ให้เจอโควิด

ที่ตรวจ ATK หรือ ชุดตรวจ ATK คืออะไร

Antigen test kit หรือ ATK คือชุดตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ที่สามารถทดสอบได้ในเบื้องต้น เหมาะกับผู้ที่สงสัยหรือไม่แสดงอาการติดเชื้อ การทดสอบใช้เวลาไม่นานรอผลเพียง 15-30 นาที ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้จากสถานพยาบาล หรือรับฟรีจากรัฐบาลตามนโยบาย กรณีทำการซื้อต้องตรวจสอบการรองรับและ อย. เพื่อให้ได้ชุดตรวจ ATK ที่ได้มาตรฐาน 

 

ผลตรวจ ATK บวกปลอมคืออะไร

ผลตรวจ ATK ผลบวกปลอม (False Positive) คือ เมื่อตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR แล้วไม่ได้ติดเชื้อ แต่ชุดตรวจแอนติเจนแบบเร็ว (Antigen Test Kit) แสดงผลการทดสอบเป็นบวก โดยมีสาเหตุมาจาก

  1. การปนเปื้อนจากพื้นที่ที่ทำการทดสอบลงบนอุปกรณ์ที่ใช้
  2. การติดเชื้อไวรัสหรือจุลชีพอื่น ๆ
  3. ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด
  4. สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม
  5. ชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน

 

ผลตรวจ ATK ลบปลอมคืออะไร

ผลตรวจ ATK ผลลบปลอม (False Negative) คือ เมื่อตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR แล้วติดเชื้อ แต่ชุดตรวจแอนติเจนแบบเร็ว (Antigen Test Kit) แสดงผลการทดสอบเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) โดยมีสาเหตุมาจาก

  1. เพิ่งติดเชื้อในระยะแรก ร่างกายจึงยังมีปริมาณเชื้อไวรัสต่ำ
  2. การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง
  3. ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด ปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด

 

ทำอย่างไรให้ผลตรวจ ATK แม่นยำ

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 และมีอาการเล็กน้อย หากผลตรวจไม่พบเชื้อ ให้ตรวจซ้ำ 3-5 วันถัดมา ระหว่างนี้ให้แยกกักตัว หากมีอาการรุนแรง ควรไปสถานพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR เพื่อยืนยันผลอีกครั้ง

 

วิธีใช้ ATK ตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง

ชุดตรวจ Antigen Test Kit หรือ ATK 1 ชุด ประกอบด้วย แผ่นทดสอบ หลอดดูด น้ำยา ก้าน swap และหลอดตัวอย่าง

วิธีใช้ คือ

  1. เทน้ำยาลงในหลอดตัวอย่างให้ถึงจุดที่กำหนด
  2. นำก้าน swap แหย่จมูก หมุน 3-4 ครั้ง ค้างไว้ 3 วินาที
  3. นำก้าน swap ใส่หลอด หมุนวนในน้ำยาประมาณ 5 ครั้ง
  4. นำหลอดดูน้ำยา หยดลงช่องประมาณ 2-3 หยด
  5. ถ้าขึ้น 2 แถบ ที่ C และ T แสดงว่า ติดเชื้อโควิด-19

 

วิธีอ่านค่าผลตรวจ ATK

  • ผลลบ (Negative) : แถบสีปรากฏเฉพาะตำแหน่ง C
  • ผลบวก (Positive) : แถบสีปรากฏทั้งตำแหน่ง C และ T เป็น 2 ขีด

 

กรณีไม่มีแถบ C ขึ้น แสดงว่าชุดตรวจอาจมีปัญหา ใช้งานไม่ได้ควรตรวจซ้ำใหม่อีกครั้ง หากผลตรวจเป็นบวก (ติดเชื้อ) ควรตรวจด้วย RT-PCR เพื่อยืนยันตามขั้นตอน หากมีผลเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) ควรทดสอบด้วยชุดตรวจ ATK อีกครั้งใน 3-5 วัน หากมีความเสี่ยงสูงควรตรวจยืนยันด้วย RT-PCR

 

 

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , อ. ดร. พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล โรงพยาบาลจุฬาลกรณ์ สภากาชาดไทย , โรงพยาบาลเพชรเวช , PPTV, ข่าวสด

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง