รีเซต

คืบหน้าสำนักศิลปากรราชบุรี เบื้องต้นพบคาบสนิมที่แขน พบวัดปี 2317จริง

คืบหน้าสำนักศิลปากรราชบุรี เบื้องต้นพบคาบสนิมที่แขน พบวัดปี 2317จริง
TNN ช่อง16
18 ธันวาคม 2563 ( 16:26 )
355
คืบหน้าสำนักศิลปากรราชบุรี เบื้องต้นพบคาบสนิมที่แขน พบวัดปี 2317จริง

18 ธันวาคม 2563  นางสาวศาริสา จินดาวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี และนายช่างโบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี พร้อมด้วย พระอธิการนิพล กิตฺติสาโร เจ้าอาวาสวัดจอมปราสาทรูปปัจจุบัน นายชนกฤษ์ ไชจันทร์ นายไพรโรจน์ อินทรวัฒน์ ไวยาวัชยากรและกรรมการวัดจอมปราสาท และ นายสุรีย์ ดอนเดือนไพร กรรมการวัดจอมปราสาท ร่วมกันเข้าตรวจสอบพระพุทธรูปหลวงปู่ทอง หรือ พระพุทธปราสาททองจอมมุนีนาถ ที่อยู่ภายในกุฏิของอดีตเจ้าอาวาสวัดจอมปราสาท เป็นที่เก็บรักษาไว้ในกรงเหล็กอย่างแน่นหนา ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการออกมาเปิดเผย ถึงเรื่องราวการพบพระพุทธรูปเนื้อทองคำแท้ ที่อายุ กว่า 247 ปี ตั้งแต่ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ ช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกทัพปราบข้าศึกทัพพม่าที่โคกกระต่าย ค่ายบางแก้ว เมืองราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2317 ที่เป็นเรื่องบอกเล่าสืบต่อกันมาของชาวบ้านในพื้นที่ ว่ามีชาวบ้านได้นำปูนมาปั้นเป็นพระพุทธรูปห่อหุ้มทองคำก้อนไว้ มีรูปลักษณ์เก่าแก่เนื้อสีดำลงลักษณ์ปิดทอง มีความสูงประมาณ 32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตร หน้าตักประมาณ 24 นิ้ว หรือ 60 เซนติเมตร รูปทรงโตนั่งเอียงทางซ้าย พระพักตร์กลมใหญ่ หูยาว จมูกโด่งใหญ่ เกศาขดเป็นก้นหอยทรงกลมไม่มียอด เป็นพระพุทธรูปปางประทานธรรม เป็นพระพุทธรูปอิริยาบถนั่งสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายถือด้ามสำหรับเสียบตาลปัตร ที่ช่วงแขนซ้ายมีล่องรอยแตกกะเทาะเป็นชิ้น ช่วงฐานล่างซ้ายมีรอยแตกหักเป็นเนื้อปูนสีขาว เพื่อตบตาข้าศึกทัพพม่าไว้ โดยตั้งไว้ให้ทหารได้กราบไหว้บูชา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจก่อนออกศึก

จากการตรวจสอบของ นางสาวศาริสา จินดาวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี และนายช่างโบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี ระบุว่า หลังจากตรวจสอบรูปพรรณขององค์พระพุทธรูปดังกล่าวเบื้องแล้ว พบว่า ลักษณะขององค์พระเหมือนกับว่าทางวัดได้ทำฐานเป็นปูนซีเมนต์รอบองค์พระไปแล้ว ส่วนเนื้อตรงที่แตกตรงที่ชาวบ้านล่ำลือกันว่าเป็นทองคำ จากการที่ดูด้วยสายตาเปล่าคิดว่าน่าจะเป็นโลหะหรือสัมฤทธิ์มากกว่าจากการที่เกิดคราบสนิมเขียว มองด้วยสายตาเปล่าแล้วน่าจะเป็นส่วนผสมของโลหะ จะมีการผสมโลหะอะไร โดยจากการที่ได้คุยกับทางเจ้าอาวาสและกรรมการวัดก็ยินดีให้ทางกรมเข้าดำเนินการตรวจสอบ ทางสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี ก็จะรับเรื่องจากทางวัด จากนั้นทางสำนักก็จะทำเรื่องต่อไปยังสำนักพิพิธภัณฑ์ให้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ และ นักวิทยาศาสตร์เข้ามาดูและมาวิเคราะห์ให้เพื่อตอบข้อสงสัยกับทางวัดและประชาชนต่อไป



ส่วนองค์พระพุทธรูปนั้นจะบ่งบอกถึงความเก่าได้แต่ไหนนั้น ตรงนี้จากการดูด้วยสายตาเปล่ายังบอกอะไรไม่ได้เยอะ เพราะว่าลักษณะของพุทธศิลป์ เหมือนกับพระพุทธรูปที่เราพบในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นทั่วๆไป เป็นพระที่ไม่ได้ปั้น หรือ หล่อจากฝีมือของช่างหลวงในสมัยนั้น น่าจะเป็นฝีมือการปั้นของช่างชาวบ้าน สังเกตได้จากช่วงลำคอ และ พระพักตร์พบการพอกมีความหนา ลักษณะขององค์พระถ้าจะให้สันนิฐานว่าที่องค์ท่านกำถือน่าจะเป็นพระมาลัยหรือเปล่า เพราะที่พระหัตถ์ซ้ายท่านเหมือนกำที่เสียบตาลปัตร หรือ ตามความเชื่อว่าเป็นพระศรีอริยเมตไตรย ที่นิยมทำลักษณะแบบนี้ ดูจากพระองค์ท่านไม่มีพระรัศมีไม่มีมุ่นมวยผมมีแค่เม็ดพระศกอย่างเดียว แต่ก็ยังระบุไม่ได้ว่ามีความเก่าแก่แค่ไหน เบื้องต้นก็ในยุครัตนโกสินทร์

ขณะที่ พระอธิการนิพล กิตฺติสาโร เจ้าอาวาสวัดจอมปราสาทรูปปัจจุบัน ได้นำเอกสารการรับรองสภาพวัด ที่ออกโดยจังหวัดราชบุรี ตามเอกสารที่ รบ 0030/19144 หนังสือตราครุฑ รับรองสภาพวัด ระบุว่า ด้วยวัดจอมปราสาท ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2314 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2314 ซึ่งเจ้าคณะปกครองฝ่ายสงฆ์ได้ปกครองดูแลตลอดมา จนถึงปัจจุบัน โดยหนังสือนี้ จังหวัดราชบุรีรับรองว่า วัดจอมปราสาท มีชื่ออยู่ในทะเบียนวัดของสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมีสภาพเป็นวัด ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 รับรองสภาพวัดให้ไว้เป็นสำคัญ ให้ไว้ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ลงนามโดยนายเจน รัตนพิเชฏฐชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ปฏิบัติรายการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีใน (สมัยนั้น)

ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่าวัดจอมปราสาทมีอายุเก่าแก่ 249 ปี สภาพภูมิศาสตร์เป็นวัดที่ราบริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันออก เกิดสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปราย-กรุงรัตนโกสินตอนต้น หรือ ในช่วงกรุงธนบุรี มีหลักฐานด้านโบราณคดี และ เจดีย์ราย เป็นเจดีย์ถือปูนย่อมุมไม้สิบสอง ก่อนที่จะเกิดสงคราม ครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพปราบข้าศึกทัพพม่าที่โคกกระต่าย ค่ายบางแก้ว เมืองราชบุรี ปี พ.ศ.2317 โดยชาวบ้านได้มีการเล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า พระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ได้ปั้นด้วยปูนเป็นพระพุทธรูปห่อหุ้มทองคำไว้ เพื่อตบตาข้าศึกทัพพม่าไว้ ก่อนจำนำข้ามแม่น้ำแม่กลองมาเก็บรักษาไว้ที่วัดประสาท หรือ วัดจอมปราสาทแห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการบูชา และทำพิธีต่างๆ ของชาวบ้าน มาจนถึงปัจจุบัน และเก็บรักษาไว้ภายในกรงเหล็กอย่างแน่นหนา ชาวบ้านเรียกจึงพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวว่า “พระพุทธปราสาททองจอมมุนีนาถ (หลวงปู่ทอง)”

พระอธิการนิพล กิตฺติสาโร เจ้าอาวาสวัด ระบุว่า “พระพุทธปราสาททองจอมมุนีนาถ (หลวงปู่ทอง)” การพิสูจน์ก็ให้ทางกรรมการวัดได้ทำเรื่องให้กรมศิลปากร เป็นผู้เข้ามาตรวจพิสูจน์กันต่อไป เพราะจะได้ให้ความกระจ่างกับชาวบ้านว่ามีทองคำอยู่ในองค์พระจริงหรือไม่ แต่ในส่วนของทางวัดและชาวบ้านมีความเลื่อมใสและศรัทธาต่อหลวงปู่ทองเป็นอย่างมาก เราได้เก็บรักษามาจากอดีตเจ้าอาวาสมีมรณภาพไปหลายรูปที่อยู่คู่กับวัดมาตั้งแต่สมัยก่อตั้งวัด 200 กว่าปี จึงเป็นพระเก่าแก่มีตำนานมีเรื่องเล่า ทางวัดก็จะเก็บรักษาต่อไปให้คนรุ่นหลังได้มากราบไหว้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อไป โดยในวันที่ 24 ธันวาคม 2563 นี้ ทางวัดจะทำพิธีบวงศรวงหลวงปู่ทอง และจะทำพิธีวางศิลาฤกษ์วิหารที่ประดิษฐานหลวงปู่ทอง เป็นวิหารที่จะเก็บรักษาหลวงปู่ไว้ด้วยระบบการดูแลความปลอดภัยอย่างแน่นหนาเพื่อเป็นการป้องกันการโจรกรรม

ปัจจุบันทางวัดจะได้เปิดให้ชาวบ้านได้มากราบไหว้บูชา “พระพุทธปราสาททองจอมมุนีนาถ (หลวงปู่ทอง)” และเปิดให้สามารถบันทึกภาพได้ และประชาชน หรือ นักท่องเที่ยว ยังสามารถร่วมทำบุญในการก่อสร้าง “พระพุทธปราสาททองจอมมุนีนาถ (หลวงปู่ทอง)” องค์ใหญ่ ชื่อ สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรย พระพุทธปราสาททองจอมมุนีนาถ (หลวงปู่ทอง ) องค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่กลางพื้นที่ของวัดจอมปราสาท ต.คลองข่อย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี หน้าตักกว้าง 9 เมตร 9 นิ้ว สูง 11 เมตร 19 นิ้ว เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา ปัจจุบันยังสร้างไม่แล้วเสร็จและยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างซึ่งต้องใช้ปัจจัยอีกว่า 10 ล้านบาท สามารถร่วมทำบุญด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี วัดจอมปราสาท เลขที่บัญชี 350-058035-6 โทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 032-232555


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง