รศ.ดร.เสรี คาดปี 68 โอกาสเกิดพายุ 10 ลูก อิทธิพลจาก "สภาวะความเป็นกลาง"

ฝนจะมาเร็วกว่าปกติ ยังไม่ประกาศเข้าฤดูฝน ระยะสั้นในช่วงนี้จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านความแปรปรวนจะสูง ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 4-5 เดือนที่แล้วจะค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ด้วยทีมีกำลังแรงบางครั้งก็จะเปลี่ยนไปเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หมายความว่ามันจะเข้าฤดูฝน ถ้าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีความเสถียรภาพ หมายถึงไม่ไปไหนแล้ว กรมอุตุฯก็ติดตามว่าเมื่อถึงจุดนั้น จะประกาศเข้าสู่ฤดูฝน ช่วงนี้เปลี่ยนผ่านไปพูดง่ายๆ พายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้นทั่วไป ฝนตก 100 มิลลิเมตร ทำให้น้ำป่าไหลหลากหลายที่เป็นเรื่องปกติ มันจะเปลี่ยนผ่านแล้วก็จะแปรปรวน
แต่พอเข้าฤดูฝนเต็มตัวเดือนพฤษภาคมนี้ คาดการณ์ว่าฝนจะมากกว่าปกติ ความหมายคือ ถ้าฝนตกก็จะตกนาน แช่ เพราะฉะนั้นก็คือมันก็จะส่งผลกระทบกับความเสี่ยงที่น้ำท่วมจะตามมาหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางในช่วงพฤษภาคม พอผ่านพฤษภาคมไปแล้วปกติจะเข้าสู่ฝนทิ้งช่วง มิถุนายนไปจนถึงกลางเดือน มิ.ย.แต่ปรากฏว่ากลางเดือนพฤษภาคมปีนี้ไม่จริง ฝนก็ยังมีอยู่อีกความเสี่ยงน้ำท่วมก็จะยาวไปถึงมิถุนายน พอไปถึงช่วงกลางเดือนกรกฎาคมจะเริ่มเห็นว่าเริ่มทั้งช่วงไปแล้วก็จะไปช่วงปลายฝน สิงหาคม กันยายน ตุลาคม แน่นอนพอเข้าสู่ฤดูฝนเต็มตัว ปลายฝน ฝนจะตกหนัก คาดการณ์ไม่ตกหนักเท่าที่ควรปลายฝน ช่วงต้นฝนพฤษภาคมไปถึงมิถุนายนเราควรจะได้น้ำมากที่สุด เพราะว่าถ้าปลายฝนมีความเสี่ยงฝนไม่ดี ปีหน้าฤดูแล้งจะแล้งหนัก สิ่งที่คาดการณ์นะขณะนี้
ปัจจัยในเรื่องของฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน กลับกันปีนี้ฝนไม่ทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนเกิดจากอะไร
แสดงว่าร่องมรสุมหมายถึงช่วงจังหวะที่ทิ้ง ในช่วงที่จะขึ้นไปบนประเทศไทยไปทางพม่า แต่ปีนี้จะไม่ไปอย่างนั้น ยังอยู่ใกล้ๆ แถวภาคเหนือเราอยู่ เพราะฉะนั้นการทิ้งช่วงก็จะไม่เกิดขึ้น
ควรจะเตรียมรับมือกับฝนที่ตกลงมาในช่วงนี้ยังไง เพื่อให้มีน้ำใช้ในช่วงหน้าแล้ง
2 เดือนจากนี้ต่อไปถ้าสามารถจะสร้างฝายชั่วคราว บริเวณใดก็ตามที่เหมาะสมที่ฝนตกลงมาแล้วให้เก็บแล้วก็ซึมลงดิน ถ้าทำได้ทุกแห่งก็จะดีมาก ประเด็นที่2 พื้นที่ ที่ไม่มีน้ำอยู่ในตอนนี้ เช่นเขื่อนลำตะคอง ที่มีภาพวัตถุโบราณขึ้นมา ปริมาณน้ำมีแค่ 10% ก็กังวลว่าถ้าช่วง 2 เดือนนี้ไม่เข้าก็เหนื่อย ในความคิดผมตอนนี้ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างจริงจัง ถ้าสถานการณ์เลวร้ายที่สุดถึงขนาดน้ำไม่เข้าอ่างลำตะคองในปีนี้ น้ำที่ใช่อุปโภคบริโภคก็ยังเหนื่อยเลยนะ ก็หวังว่าน้ำจะเข้าสัก 30-40 % ก็พอประทังน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภค แต่น้ำในการทำการเกษตรก็ต้องเข้าใจว่าเป็นความเดือดร้อนจริงที่ไม่สามารถจัดสรรได้อย่างไร จะมีการเยียวนา การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเพาะปลูกจากข้าว ไปหาพืชชนิดอื่นคิดว่าจำเป็น แถวเขื่อนลำตะคอง
ขณะที่พื้นที่อื่นช่วงนี้ก็ไม่ค่อยมีน้ำ น้ำใช้การได้30% โดยเฉลี่ย คิดว่า 2 เดือนนี้ต้องได้น้ำเข้ามาให้ได้เพราะว่าต่ำกว่าปีที่แล้ว จากที่คาดการณ์ไปแล้วว่าปี 69 เสี่ยงแล้งมาก
การคาดการณ์เรื่องของจำนวนพายุที่จะก่อตัวและมีผลกับประเทศไทยประมาณกี่ลูก
การคาดการณ์ล่าสุดระหว่างเดือนพฤษภามคมถึงตุลาคมโดยเฉลี่ยแล้วจะมีพายุเกิดขึ้นประมาณสัก 7-8 ลูก แต่ปีนี้มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นประมาณ 10 ลูก มากกว่าปกติ สถานการณ์ที่เราไม่เป็นเอลนีโญ ลานีญา แต่เราเป็นกลางพายุก็จะเกิดขึ้นเยอะ เกิดแล้วแต่เข้าหรือไม่เข้านั้นเอง ตรงนี้ไม่มีใครคาดการณ์ได้ก่อนล่วงหน้า 5 วันต้องรอ แต่ว่าปีนี้พายุเกิดเยอะแน่นอน สาเหตุโดยปกติจะมีขอบเขตอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นไม่ทางซ้าย ก็ทางขวา ถ้าเรามองมหาสมุทรแปซิฟิก ทางขวาคืออเมริกา ทางซ้ายเป็นเรา ที่ไหนอุณหภูมิน้ำทะเลสูง และขอบเขตมากโอกาสเกิดพายุก็จะมากกว่าไปทางซ้ายหรือทางขวา