ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจติด “เชื้อโคโรนา” จากค้างคาวปีละหลายหมื่น
วันนี้ ( 9 ม.ค. 66 )ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร เนเจอร์ คอมมูนิเคชั่นส์ เปิดเผยว่า ผู้คนหลายหมื่นคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจติดเชื้อโคโรนาไวรัส ที่เกี่ยวโยงกับ SAR-CoV-2 หรือ โควิด-19 ในทุกปี ซึ่งการวิจัยชิ้นนี้ ได้ใช้การวิเคราะห์ระดับสายพันธุ์ของค้างคาวถึง 26 สายพันธุ์ และพบว่า แหล่งที่อยู่อาศัยของค้างคาวอยู่ปะปนร่วมกับประชาชนราว 500 ล้านคนในภูมิภาค ทำให้ประเมินได้ว่า ผู้คนอาจติดเชื้อโคโรนาไวรัสปีละ 66,000 คน
สเตฟานี ไซเฟิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาไวรัส จากมหาวิทยาลัยรัฐวอชิงตัน บอกว่า จากการวิจัย พบว่า มีโอกาสที่ไวรัสแพร่กระจายได้บ่อยแค่ไหน
นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบโอกาสที่เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในทางใต้ของจีน, หลายพื้นที่ของเมียนมา และเกาะชวาของอินโดนีเซีย เนื่องจากค้างคาวและมนุษย์ อยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่น
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้อ้างว่างานวิจัยสามารถพุ่งเป้าไปยังภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดในไม่ช้า แต่มีผู้เชี่ยวชาญหลายคน ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยดังกล่าว บอกว่า ผลการศึกษามองแค่การติดเชื้อระหว่างค้างคาวสู่มนุษย์ แต่ไม่ได้พิจารณาการติดเชื้อว่า เริ่มต้นจากค้างคาวไปสู่สัตว์ที่เป็นสื่อกลาง และต่อมาเชื้อเข้าสู่มนุษย์
ภาพจาก : AFP