รีเซต

กว่าจะเป็น 'บั้งไฟ' ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวไทยอีสาน

กว่าจะเป็น 'บั้งไฟ' ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวไทยอีสาน
TeaC
10 ตุลาคม 2565 ( 16:24 )
608
กว่าจะเป็น 'บั้งไฟ' ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวไทยอีสาน

ข่าววันนี้ กว่าจะเป็น "บั้งไฟ" ในงานประเพณีบั้งไฟของชาวไทยอีสานที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลและยังเป็นวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจแห่เดินทางไปชื่นชม แต่กว่าจะเป็นบั้งไฟให้เราได้เห็นทุกวันนี้ไม่ง่าย แถมล้วนเป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่สืบสานมาอย่างยาวนาน แปรเปลี่ยนตามยุคสมัย แต่สะท้อนให้เห๋นฝีมือ "ช่างไทย" ที่มีความประณีต ละเอียดไม่แพ้ชาติใดในโลก 

 

กว่าจะเป็น 'บั้งไฟ' ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวไทยอีสาน

สำหรับ "บั้งไฟ" กว่าจะเดินทางเข้าสู่ประเพณีนั้น ลองจินตนาการจะนึกถึงรูปทรงคล้ายเครื่องดนตรีพื้นบ้านชนิดหนึ่ง เรียกว่า "โหวดบั้งไฟ" เดิมทีจะนิยมใช้ลำไม้ไผ่มามัดเป็นลำดับบั้งไฟ แล้วใช้มีดตัดส่วนบั้งไปให้เป็นหัวคล้ายปากฉลาม และถือเป็นโครงสร้างดั้งเดิมที่ช่างทำสืบต่อมา โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วนสำคัญหลัก ๆ  ได้แก่ เลา หาง และลูกบั้งไฟ 


1.  เลาบั้งไฟ  


มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมยาว มีความยาวประมาณ  1.5 – 7  เมตรทำด้วยลำไม้ไผ่แล้วใช้ริ้วไม้ไผ่ (ตอก) ปิดเป็นเกลียวเชือกพันรอบเลาบั้งไฟอีกครั้งหนึ่งให้แน่นและใช้ดินปืนที่ชาวบ้านเรียกว่า  "หมื้อ"  ประกอบด้วยถ่านไม้เนื้ออ่อนกับขี้เกีย (ดินประสิว) อัดให้แน่นลงไปในเลาบั้งไฟด้วยวิธีใช้สากตำแล้วเจาะรูสายชนวน เสร็จแล้วนำเลาบั้งไฟไปมัดเข้ากับส่วนหางบั้งไฟ  และนี่จึงส่วนประกอบที่ทำหน้าที่ "บรรจุดินปืน"

 

เมื่อยุคในสมัยเปลี่ยนแปลงไป รูปทรงจากเดิมใช้ไม้ไผ่เปลี่ยนมาใช้วัสดุอื่นทำได้ ได้แก่  ท่อเหล็ก ท่อพลาสติก เป็นต้น โดยเรียกว่า เลาเหล็ก  ซึ่งสามารถอัดดินปืนได้แน่นและมีประสิทธิภาพในการยิงได้สูงกว่านั่นเอง


2.  หางบั้งไฟ  


ในส่วนนนี้เป็นส่วนสำคัญอย่างมา เพราะทำหน้าที่คล้ายหางเสือของเรือ คือ สร้างความสมดุลให้กับบั้งไฟ เพื่อคอยบังคับทิศทางบั้งไฟให้ยิงขึ้นไปในทิศทางตรงและสูง  บั้งไฟแบบเดิมนั้นทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นหางท่อนเหล็กและหางท่อนไม้ไผ่ติดกัน โดยหางท่อนเหล็กมีลักษณะเป็นท่อนกลมทรงกระบอกความยาวประมาณ  8 – 12  เมตร ทำหน้าที่เป็นคานงัดยกลำตัวบั้งไฟชูโด่งชี้เอียงไปข้างหน้าทำมุมประมาณ  30 – 40  องศากับพื้นดิน โดยบั้งไฟจะยื่นไปข้างหน้ายาวประมาณ  7 – 8  เมตร ปลายหางด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ตั้งบั้งไฟ

 

3.  ลูกบั้งไฟ


ปิดท้ายด้วยลูกบั้งไฟ ซึ่งเป็นลำไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเลาบั้งไฟโดยมัดรอบลำบั้งไฟ  ประมาณ  8 –15  ลูกขึ้นต่อบั้งไฟหนึ่งอังและอยู่กับขนาดของบั้งไฟ เดิมลูกบั้งไฟมีแปดลูกมีชื่อเรียกเรียงตามลำดับคู่ขนาดใหญ่ไปหาคู่ที่มี ขนาดเล็กกว่า  ได้แก่  ลูกโอ้  ลูกกลาง ลูกนางและลูกก้อย ลูกบั้งไฟช่วยให้รูปทรงของบั้งไฟกลมเรียวสวยงาม 

 

และนี่คือภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวไทยอีสานที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรม สืบทอดประเพณีดี ๆ สวยงามแบบนี้ให้ชาวไทยทั่วทุกภาคได้เห็นความงดงาม รวมทั้งลวดลายบนบั้งไฟที่มีความงดงาม มีความประณีตที่บ่งบอกถึงฝีมือของช่างไทย เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาชมความงามของประเพณีบุญบั้งไฟอีกด้วย

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง