รีเซต

รวม กลุ่มชาติพันธุ์ ในประเทศไทย ที่คุณอาจนึกไม่ถึง?

รวม กลุ่มชาติพันธุ์ ในประเทศไทย ที่คุณอาจนึกไม่ถึง?
TeaC
27 กรกฎาคม 2564 ( 19:12 )
430

แก่งกระจาน จังหวัดอะไร? ที่เที่ยว? ที่พัก? หรือคาเฟ่? ถือเป็นคำ หรือประโยคยอดนิยมที่ใครหลายคนนึกถึงแก่งกระจานทีไรค้นหาคำเหล่านี้ผ่านเบราเซอร์อย่าง google chrome แต่รู้หรือไม่? แก่งกระจานนอกจากที่ทำให้เรานึกถึงคำข้างต้นแล้ว ยังอาจทำให้บางคนนึกถึง "กลุ่มชาติพันธุ์" 

 

นั่นเพราะ "พื้นที่ป่าแก่งกระจาน" ยังเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนที่เรียกว่า "กลุ่มชาติพันธุ์ ชาวปกาเกอะญอ" หรือที่รู้จักกัน "กะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน" TrueID จะพาทุกคนมาสำรวจกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยกัน จะได้เข้าใจ

 

สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์นั้น หมายถึง กลุ่มชนที่มีความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์กับสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต มีความแตกต่างด้านต่าง ๆ และมีวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง โดยเป็นกลุ่มชนที่ประชากรมีพันธะเกี่ยวข้องกัน มีลักษณะทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเดียวกัน รวมตัวเป็นพหุวัฒนธรรม มุ่งมั่นในการอนุรักษ์พัฒนาและสืบทอดฐานดินแดนของบรรพบุรุษและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นอนาคต

 

จากการค้นหาข้อมูล เว็บไซต์มติชนออนไลน์ ได้อธิบายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ในอดีตว่า กลุ่มชาติพันธุ์มีความหลากหลายและตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย ปัจจุบันมีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ในพื้นที่ครอบคลุม จำนวน 67 จังหวัด 56 กลุ่ม มีประชากรรวมประมาณ 6,100,000 คน จำแนกพื้นที่จากลักษณะการตั้งถิ่นฐานได้ 4 ลักษณะ คือ

 

1. กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง หรือชนชาวเขา จำนวน 13 กลุ่ม ได้แก่

  • กะเหรี่ยง
  • ม้ง (แม้ว)
  • เย้า (เมี่ยน)
  • ลีซู (ลีซอ)
  • ลาหู่ (มูเซอ)
  • อาข่า (อีก้อ)
  • ลัวะ
  • ถิ่น
  • ขมุ
  • จีนฮ่อ
  • ตองซู
  • คะฉิ่น
  • ปะหล่อง (ดาราอั้ง)

 

2. กลุ่มชาติพันธุ์ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบ จำนวน 38 กลุ่ม ได้แก่

 

  • มอญ
  • ไทยลื้อ
  • ไทยทรงดำ
  • ไทยใหญไทยเขิน
  • ไทยยอง
  • ไทยหญ่า
  • ไทยยวน
  • ภูไท
  • ลาวครั่ง
  • ลาวแง้ว
  • ลาวกา
  • ลาวตี้
  • ลาวเวียง
  • แสก
  • เซเร
  • ปรัง
  • บรู (โซ่)
  • โซ่ง โว (ทะวิง)
  • อึมปี
  • ก๋อง
  • กุลา
    ชอุโอจ (ชุอุ้ง)
  • กูย (ส่วย)
  • ญัฮกรู (ชาวบน)
  • ญ้อ
  • โย้ย
  • เขมรถิ่นไทย
  • เวียดนาม (ญวน)
  • เญอ
  • หมี่ซอ (บีซู)
  • ชอง
  • กระชอง
  • มลายู
  • กะเลิง
  • ลาวโซ่ง (ไทยดำ)

 

3. กลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานในทะเล หรือชาวเล จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่

 

  • มอแกน
  • มอแกลน
  • อูรักละโว้ย

 

4. กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในป่า จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่

 

  • มลาบรี (ตองเหลือง)
  • ซาไก (มันนิ)

 

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยถือเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ย่อมมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมด้วยเช่นกัน

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง