รีเซต

วันนี้วันอะไร วันโรคพาร์กินสันโลก ตรงกับวันที่ 11 เมษายน

วันนี้วันอะไร วันโรคพาร์กินสันโลก ตรงกับวันที่ 11 เมษายน
TNN ช่อง16
30 มีนาคม 2565 ( 20:02 )
220

รู้หรือไม่ ทุกวันที่ 11 เมษายนเป็นวันโรคพาร์กินสันโลก (World Parkinson’s Disease Day) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคพาร์กินสันโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบเป็นอันดับสองรองจากโรคอัลไซเมอร์

 

โรคพาร์กินสัน คืออะไร

พาร์กินสัน เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสันเป็นการเสื่อมของเซลล์สมองบริเวณแกนสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โดปามีน ซึ่งมีหน้าที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสารเคมีในสมองเสียสมดุลไปจึงทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยปัจจุบันพบผู้ป่วยพาร์กินสันได้ 1 คนในประชากร 1,000 คน และมักพบโรคพาร์กินสันได้ในผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไป


ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันมีใครบ้าง

- ผู้สูงอายุ

- ผู้ที่ใช้ยาทางจิตเวชบางประเภท

- ผู้ที่มีประวัติอุบัติเหตุทางศีรษะ

- อาชีพที่เสี่ยงต่อการกระทบกระเทือนศีรษะ เช่น นักมวย นักฟุตบอล

- พันธุกรรม 


อาการโรคพาร์กินสันเป็นอย่างไร

- อาการสั่น สั่นในขณะอยู่เฉยหรือขณะพัก

- กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การเคลื่อนไหวช้า

- ก้าวขาลำบาก ก้าวเท้าสั้นหกล้มง่าย

- นอนละเมอ ฝันร้ายบ่อย

- ท้องผูก เรื้อรัง

- ภาวะซึมเศร้า

- พูดเสียงเบา พูดช้าลง

- ผู้ที่เป็นมากอาจมีปัญหาการกลืนลำบาก สำลักบ่อย


ผลกระทบจากโรคพาร์กินสัน คืออะไร

- ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเนื่องจากเคลื่อนไหวลำบาก อาจทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองไม่ดีเหมือนเดิม

- เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่นการหกล้ม 

- ผลกระทบทางจิตใจ เมื่อทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองไม่ได้ เข้าสังคมไม่ได้

- เข้าสังคมลำบากขึ้น อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดการสื่อสาร มีอาการสั่นทำให้เสียบุคลิก

- ผลกระทบต่อครอบครัว อาจเพิ่มความกังวลของคนในครอบครัว

- กระทบทางเศรษฐกิจ เนื่องจากทำงานไม่ได้เหมือนเดิมและต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา


การรักษาโรคพาร์กินสันทำได้อย่างไร


การรักษาด้วยยา

เป็นการรักษาโดยให้ยาที่ทดแทนหรือปรับสมดุลของสารโดปามีนในสมอง แต่ไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่เสื่อมฟื้นตัวมาได้ ต้องมาพบแพทย์สม่ำเสมอเพื่อปรับยาให้สอดคล้องกับอาการและกิจวัตรประจำวัน


การทำกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย

การทำกายภาพเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย เช่น การฝึกเดิน การฝึกพูด การฝึกกลืน วิ่ง ปั่นจักรยาน


การผ่าตัด

- หากแพทย์ปรับการให้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น จะพิจารณาการผ่าตัดด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก 

- การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนลึก 

- แพทย์พิจารณาผ่าตัดในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมอาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติด้วยยา  ยาอาจหมดฤทธิ์เร็วเกินไป มีอาการยุกยิกจากยาหรือผู้ป่วยมีผลข้างเคียงจากยามาก


วิธีการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน ทำอย่างไร

นอกจากการรักษาของแพทย์โดยการใช้ยา การทำกายภาพบำบัด การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย หรือการผ่าตัด สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการดูแลเมื่อกลับบ้าน และบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยดูแลนั้นคือคนในครอบครัว เนื่องจากอาการของโรคพาร์กินสันที่ทำให้มีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ยังมีอาการซึมเศร้าซึ่งเป็นภาวะทางจิตใจ ทำให้มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคม 


การป้องกันโรคพาร์กินสัน ทำได้อย่างไร

การป้องกันโรคพาร์กินสันควรลดปัจจัยเสี่ยงด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ การผ่อนคลายความเครียด หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ หมั่นสังเกตตนเองหรือคนในครอบครัวว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่


ที่มาข้อมูล : www.princhealth.com  

ที่มาภาพ : AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง