รีเซต

จีนทดสอบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกใช้เครื่องยนต์จรวด 2 ระบบ ทำความเร็วมากกว่า 5 มัค

จีนทดสอบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกใช้เครื่องยนต์จรวด 2 ระบบ ทำความเร็วมากกว่า 5 มัค
TNN ช่อง16
18 กรกฎาคม 2565 ( 19:19 )
87
จีนทดสอบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกใช้เครื่องยนต์จรวด 2 ระบบ ทำความเร็วมากกว่า 5 มัค

ประเทศจีนได้ปล่อยจรวด เฝยเจี้ยน-1 (Feitian-1) ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยทีมงานจากโรงเรียนการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคตะวันตกเฉียงเหนือได้ประกาศความสำเร็จในการปล่อยจรวดแบบวงจรผสมผสาน (Rocket-Based Combined Cycle - RBCC)

จีนกำลังพัฒนาระบบอาวุธความเร็วเหนือเสียงที่สามารถใช้งานได้จริง โดยติดอันดับหนึ่งในสามประเทศเจ้าเทคโนโลยีขีปนาวุธ ที่ แต่จีนปกปิดข้อมูลการทดสอบขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงไว้เป็นส่วนมาก และมีข้อมูลเผยแพร่ออกมาเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกับรัสเซีย โดยข้อมูลที่เปิดเผยออกมานั้นมาจากสื่อที่รัฐควบคุม และส่วนใหญ่แล้วจีนจะอ้างว่าการทดสอบขีปนาวุธเป็นการทดสอบเครื่องบินที่บินในระดับชั้นบรรยากาศ

สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการปล่อยจรวด Feitian-1 คือ จรวดลำนี้ใช้เครื่องยนต์แบบวงจรผสมผสาน (RBCC) เพื่อส่งกำลังขับให้มีความเร็วเกินกว่า 5 มัค (Mach) โดยเครื่องยนต์จรวดแบบผสมผสาน (RBCC)  ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างเทคโนโลยีจรวดและเครื่องยนต์แรมเจ็ต (Ramjet) แบบใช้การบีบอัดอากาศให้เกิดความร้อนภายในเครื่องยนต์และใช้อากาศที่ผ่านการอัดตัวจนเกิดความดัน ไหลผ่านทางเข้า และไหลไปที่โซนห้องเผาไหม้ (Combustion zone) ที่มีหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงรออยู่ เมื่ออากาศอัดไหลผ่านมาน้ำมันจะฉีดเพื่อเผาไหม้จะเกิดแก๊สร้อนความดันสูงผ่านกรวยหัวฉีด เกิดแรงขับดันขึ้น 

ทั้งนี้ ขณะที่ตัวจรวดเร่งความเร็ว เครื่องยนต์จะสลับเปลี่ยนจากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง ทำให้สามารถเผาผลาญอากาศที่ป้อนเข้าด้วยความเร็วที่มากขึ้นเรื่อย ๆ จากนั้นจึงกลายเป็นจรวดที่บินด้วยความเร็วสูงสุดในระดับความสูงของชั้นบรรยากาศ ทีมทดสอบยังเผยว่า การเปลี่ยนจากระบบแรกเป็นระบบที่สองในการทดสอบการบิน และปรับเปลี่ยนระบบคอท่อ รวมถึงการเผาไหม้ของกรวยจรวดขนาดใหญ่พิเศษ เกิดขึ้นโดยราบรื่น 

และจรวด Feitian-1 ยังผสมผสานแรมเจ็ตเข้ากับเทคโนโลยีสแครมเจ็ต (Scramjet) แบบใช้ลม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแรมเจ็ตที่ถูกพัฒนาขึ้นอีกระดับ รวมถึงยังใช้กรวยจรวดแบบท่อ 

จรวดเครื่องยนต์แบบวงจรผสมผสานยังมีข้อดีหลายประการ เช่น ตัวจรวดไม่ต้องบรรทุกสารออกซิไดเซอร์สำหรับการเผาไหม้มากเท่ากับจรวดเผาไหม้ระบบเดียว เพราะสามารถดึงออกซิเจนจากอากาศได้เหมือนกับเครื่องยนต์ไอพ่นทั่วไป ซึ่งช่วยให้บรรทุกเชื้อเพลิงได้มากขึ้น และมีน้ำหนักบรรทุกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ Feitian-1 ยังสามารถเผาไหม้น้ำมันก๊าดแบบที่ใช้ในเครื่องบินได้


โรงเรียนการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคตะวันตกเฉียงเหนือจีนยังรายงานว่า เครื่องยนต์แบบวงจรผสมผสาน (RBCC) ที่ใช้ในการปล่อยจรวดนี้ ถูกใช้กับอากาศยานที่มีความเร็วเหนือเสียงเป็นเครื่องแรกอีกด้วย


ที่มาของข้อมูล newatlas.com

ที่มาของรูปภาพ School of Aeronautics and Astronautics of Northwestern Polytechnical University



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง