รีเซต

สหรัฐฯ สร้างสเปรย์เย็นสุดเทพ พ่นซ่อมชิ้นส่วนเครื่องบินรบแบบไม่ต้องเปลี่ยนชิ้นใหม่

สหรัฐฯ สร้างสเปรย์เย็นสุดเทพ พ่นซ่อมชิ้นส่วนเครื่องบินรบแบบไม่ต้องเปลี่ยนชิ้นใหม่
TNN ช่อง16
17 มีนาคม 2566 ( 00:10 )
111
สหรัฐฯ สร้างสเปรย์เย็นสุดเทพ พ่นซ่อมชิ้นส่วนเครื่องบินรบแบบไม่ต้องเปลี่ยนชิ้นใหม่

กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเปิดตัวเทคโนโลยีสเปรย์เย็น หรือโคลด์สเปรย์ (Cold Spray) สเปรย์ที่ช่วยสมานแผลของเครื่องบินได้โดยไม่ต้องถอดเปลี่ยนทั้งชิ้นใหม่ ลดระยะเวลาและต้นทุนการบำรุงรักษาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในตอนนี้ก็มีการนำไปใช้งานในกองทัพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ระบบสเปรย์เย็นที่กองทัพเรือใช้อยู่ต้องทำให้ห้องพ่นเย็นขนาดใหญ่ แต่ระบบใหม่นี้สามารถพ่นซ่อมได้โดยไม่ต้องใช้ห้องพ่นสเปรย์เย็น ซึ่งสร้างความได้เปรียบอย่างมากในกรณีที่ต้องซ่อมฉุกเฉินขณะสู้รบ


หลักการทำงานของสเปรย์ดังกล่าวนั้นเรียบง่าย คือพ่นผงสารพิเศษลงบนพื้นผิวที่ต้องการซ่อมแซม สเปรย์จะเข้าไปทำหน้าที่สมานรอยแตกร้าวและยึดโครงสร้างกลับคืน และยังสามารถเคลือบปิดพื้นผิวให้เรียบร้อยอีกครั้งในกรณีที่ต้องการบำรุงรักษาและยืดอายุพื้นผิวชิ้นส่วน โดยไม่มีผลต่อการรับหรือการกระจายน้ำหนัก ซึ่งระบบทั้งหมดนี้เป็นระบบอัตโนมัติ (Autonomous System) ซึ่งลดความผิดพลาดและเพิ่มความเร็วในการทำงานได้เป็นอย่างดี


แต่ความพิเศษของเทคโนโลยีอยู่ที่ตัวผงดังกล่าวนั้นตั้งเป้าให้สามารถใช้พ่นเคลือบกับโลหะได้หลากหลายชนิด เพียงแต่ในปัจจุบันการพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่การซ่อมแซมชิ้นส่วนที่ทำจากอะลูมิเนียมเป็นหลัก และในอนาคตจะขยายขอบเขตความสามารถไปพ่นซ่อมแซมชิ้นส่วนที่ทำจากเหล็ก ก่อนจะเพิ่มโลหะชนิดอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต


เจสสิก้า เทมเพลตัน (Jessica Templeton) หัวหน้าทีมวิศวกรรมอากาศยานและวัสดุที่รับผิดชอบโครงการนี้กล่าวว่า “ด้วยความสามารถของระบบโคลด์สเปรย์ซึ่งทั้งเป็นระบบอัตโนมัติและยังเคลื่อนย้ายได้ เราจะทำให้ความสามารถในการซ่อมแซมนั้นใกล้เคียงกับสร้างขึ้นใหม่มากยิ่งขึ้น”


โครงการโคลด์สเปรย์ได้สาธิตความสามารถการทำงานที่ศูนย์เตรียมความพร้อมกองเรือตะวันออก (Fleet Readiness Center East: FRCE) ของกองทัพเรือ เป็นศูนย์บำรุงรักษาและซ่อมแซมยุทโธปกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดในรัฐนอร์ทแคโรไลนา (North Carolina) ซึ่งการใช้งานจะช่วยลดรายจ่ายได้เป็นอย่างดี จากปกติที่มีรายจ่ายปีงบประมาณละ 1 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 35,000 ล้านบาท



ที่มาข้อมูล U.S. Navy, Interesting Engineering

ที่มารูปภาพ U.S. Army

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง