รีเซต

รู้จัก “เดลตาครอน” ลูกผสมเดลตา+โอมิครอน โควิดสายพันธุ์ที่ต้องสืบสวน

รู้จัก “เดลตาครอน” ลูกผสมเดลตา+โอมิครอน โควิดสายพันธุ์ที่ต้องสืบสวน
TNN ช่อง16
14 กุมภาพันธ์ 2565 ( 09:15 )
120
รู้จัก “เดลตาครอน” ลูกผสมเดลตา+โอมิครอน โควิดสายพันธุ์ที่ต้องสืบสวน

วันนี้ ( 14 ก.พ. 65 ) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ลูกผสมระหว่างเดลตากับโอมิครอน “เดลตาครอน” โดยระบุข้อมูลว่า สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) กำลังติดตามเฝ้าติดตามสายพันธุ์ลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ “โอมิครอน” และ “เดลตา” หรือมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “เดลตาครอน” ได้รับการยืนยันการตรวจพบในสหราชอาณาจักร จากผู้ติดเชื้ออย่างน้อย 1 ราย

 “เดลตาครอน” คาดว่ามีวิวัฒนาการมาจากผู้ป่วยรายหนึ่งที่ติดเชื้อ“โอมิครอน” และ “เดลตา” ในเวลาเดียวกัน โดยยังไม่แน่ชัดว่าผู้ติดเชื้อรายนี้อาศัยอยู่ในอังกฤษหรือเป็นผู้ที่เดินทางเข้ามาในอังกฤษ และยังไม่ทราบว่าไวรัสที่อุบัติขึ้นมาใหม่นี้จะมีก่อให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงเพียงใด หรือจะด้อยประสิทธิภาพของวัคซีนลงมากหรือไม่

“เดลตาครอน” ปรากฏขึ้นในอังกฤษในช่วงที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากทั้ง “เดลตา” และ “โอมิครอน” ลดลงอย่างมาก

UKHSA ยังไม่ 'กังวล' กับ “เดลตาครอน” โดยจัดอยู่ใน “สายพันธุ์ที่ต้องสืบสวน (variants under investigation: VUI)” เท่านั้น เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อยังน้อยมาก เพียงคนเดียว 

ศ. พอล ฮันเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อแห่งมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย แถลงว่า "เดลตาครอน” ที่พบไม่น่าเป็นภัยคุกคามอะไรมากมาย เนื่องประชาชนในสหราชอาณาจักรมีภูมิคุ้มกันทั้งจากวัคซีนและจากการติดเชื้อตามธรรมชาติอย่างมหาศาลต่อทั้งสายพันธุ์ “เดลตา” และ “โอไมครอน” ดั้งเดิม 

ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่าพบ “เดลตาครอน” ที่ไซปรัสเมื่อเดือนมกราคม 2565 แต่ต่อมาพบว่าเป็นการปนเปื้อนของสารพันธุกรรมของ “เดลตา” และ “โอมิครอน” ในห้องปฏิบัติการก่อนการนำไปถอดรหัสพันธุ์กรรม 

หัวหน้าแพทย์ชาวอังกฤษของบริษัท Moderna ผู้ผลิตวัคซีนก็ได้เตือนเรื่องลูกผสมระหว่าง “เดลตา” และ “โอมิครอน” ว่าจะเกิดขึ้นได้

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพบลูกผสมอื่นอย่างน้อยสามตัวแล้ว โดยแต่ละลูกผสมต่อมาก็สูญสลายไปไม่ได้ก่อให้เกิดการระบาดใหญ่แต่อย่างใด เนื่องจากไม่ฟิตกับสิ่งแว้ดล้อม

กรณีหนึ่ง มีการตรวจพบไฮบริดที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ “อัลฟา”ในสหราชอาณาจักรในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 แต่มันหายไปอย่างรวดเร็วหลังจากมีผู้ติดเชื้อเพียง 44 ราย

พบสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง “อัลฟา” และ “เดลตา (AY.29)” ที่ญี่ปุ่นเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว แต่ก็มีผู้ติดเชื้อเพียงไม่กี่รายก่อนที่จะสูญพันธุ์ไป

และเหตุการณ์ครั้งที่ 3 ไวรัส 2 สายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง “B.1.634” และ “B.1.631”  พบในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนสิงหาคม 2020 ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อ 729 รายก่อนที่สูญพันธุ์ไป

สหราชอาณาจักรมีการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนมของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้มีโอกาสที่จะพบบรรดาสายพันธุ์ที่เพิ่งอุบัติขึ้นมาในสหราชอาณาจักรได้อย่างรวดเร็ว มิได้หมายความว่าสหราชอาณาจักรเป็นแหล่งของการเกิดสายพันธุ์ลูกผสมแต่อย่างใด

นักวิทยาศาสตร์หลายคนคาดว่าโควิด-19 จะค่อยๆพัฒนาเป็นไวรัสที่ไม่รุนแรงและแพร่ระบาดมากขึ้น และเปลี่ยนไปเป็นโรคประจำถิ่น

แต่นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มเตือนว่ามีความเสี่ยงที่สายพันธุ์ที่อุบัติขึ้นมาใหม่อาจจะมีการติดเชื้อและก่อโรคร้ายแรงกว่าเดิมก็เป็นได้

ศาสตราจารย์ Francois Balloux นักพันธุศาสตร์จาก University College London กล่าวว่า “เดลตาครอน” ไม่น่าจะเกิดการแพร่เชื้อและก่อโรคร้ายแรงกว่าเดิมได้อีกเพราะทุกคนส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือมีการติดเชื้อตามธรรมชาติทั่วยุโรบ เป็นจำนวนมากแล้ว โดยคาดว่า “เดลตาครอน” จะมีแอนติเจนแชร์ร่วมกันจากทั้ง “เดลตา” และ “โอมิครอน” ซึ่งเรามีภูมิคุ้มกันในระดับสููงอยู่แล้ว

ดร.Hans Kluge ผอ. องค์การอนามัยโลกภาคพื้นยุโรป กล่าวเป็นไปได้ว่ายุโรบกำลังก้าวไปสู่จุดจบของโรคระบาดใหญ่" และเสริมว่า “โอมิครอน” สามารถแพร่เชื้อให้กับชาวยุโรปได้ถึง 60 %ภายในเดือนมีนาคม และเมื่อผนวกกับผู้ที่มีภูมิเนื่องจากการฉีดวัคซีน จะทำให้การระบาดใหญ่สงบลงได้

ศาสตราจารย์ Francois Balloux กล่าวว่า: เมื่อทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนประสานกับการติดเชื้อตามธรรมชาติแล้ว จะไม่มีไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใดที่สามารถทำเกิดการเจ็บป่วยต้องเข้า รพ. หรือเสียชีวิตเหมือนกับที่เราเคยประสบระหว่างการระบาดใหญ่ในช่วงปี 2019-2021

https://www.gov.uk/.../sars-cov-2-variants-of-public...

https://au.news.yahoo.com/covid-variants-merge-country...

ข้อมูลจาก : ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics)

ภาพจาก : AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง