Pride month คืออะไร ทำไมต้องเดือนมิถุนายน
Pride month คืออะไร ? ใครหลายคนอาจสงสัย ซึ่ง Pride month นั้นถือเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของ กลุ่มผู้คนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ ) มีจุดเริ่มต้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในยุค 70s กลุ่มชาว LGBTQ นั้นถูกกดทับจากสังคมเป็นอย่างมาก โดยถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีจิตผิดปกติ กลุ่มคนรักร่วมเพศเป็นสิ่งผิดกฏหมาย และไม่ได้ยอมรับจากสังคม ดังนั้นสถานที่เดียวที่กลุ่มคนรักเพศเดียวจะรวมตัวกันได้ คือ บาร์ลับ หรือที่เราเรียกกันว่า บาร์เกย์ ถึงแม้กลุ่มหลากหลายทางเพศจะพยายามขึ้นทะเบียนให้เป็นบาร์ที่ถูกกฏหมาย แต่ก็ถูกตีตกไปทุกครั้ง
จนกระทั่งในเดือน 28 มิถุนายน 1960 ที่รัฐนิวยอร์ก กลุ่ม LGBTQ ได้มารวมกันเพื่อแสดงตัวตนที่บาร์เล็กๆ สโตนวอลล์ อินน์ (Stonewall Inn) แต่ถูกตำรวจบุกเข้าจับกุมเกิดปะทะกันอย่างรุนแรงจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เนื่องจากกระตุ้นให้ผู้คนกล้าออกมาเพื่อแสดงตัวตนและต่อต้านการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนกลายเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่
ต่อมาในปี 1970 ผู้คนในสหรัฐอเมริกาต่างออกมาเดินขบวนเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์จราจลในครั้งนั้น ทำให้เดือนมิถุนายนกลายเป็นเดือนแห่งความเฉลิมฉลองเพื่อความเท่าเทียมเทียมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ Pride month นั่นเอง
เหตุการจลาจลครั้งนั้นยังขยายวงกว้างไปยังกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลกได้ออกมาเดินขบวนเรียกร้องความเท่าเทียม จนปัจจุบันได้กลายเป็น ขบวนพาเหรดไพรด์ ที่จัดขึ้นในหลายประเทศในที่สุด
LGBTQ คืออะไร? คือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ เพศทางเลือก โดยย่อมาจาก
L - Lesbian กลุ่มผู้หญิงรักผู้หญิง
G - Gay กลุ่มชายรักชาย
B - Bisexual หรือกลุ่มที่รักได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
T - Transgender คือกลุ่มคนข้ามเพศ จากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือเพศหญิงเป็นเพศชาย
Q - Queer คือ กลุ่มคนที่พึงพอใจต่อเพศใดเพศหนึ่ง โดยไม่ได้จำกัดในเรื่องเพศ และความรัก
ทำไม LGBTQ ต้องใช้ธงสีรุ้ง? ธงสีรุ้ง เกิดจากการออกแบบของศิลปิน-นักเคลื่อนไหวทางสังคม ชาวอเมริกัน ที่มีชื่อว่า กิลเบิร์ต เบเคอร์ เดิมทีธงมีทั้งหมด 8 สี แต่มีการตัดสีชมพู และ ฟ้าเทอร์ควอยซ์ ออก ทำให้ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 6 สี ดังต่อไปนี้
- สีแดง การต่อสู้ หรือ ชีวิต
- สีส้ม การเยียวยา
- สีเหลือง พระอาทิตย์
- สีเขียว ธรรมชาติ
- สีฟ้า สีคราม ศิลปะ ความผสานกลมกลืน
- สีม่วง จิตวิญญาณของ LGBTQ
LGBTQ ไม่ใช่ความผิดปกติทางจิต : ในทางการแพทย์บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ได้เป็นโรค หรือมีความผิดปกติทางจิตใจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นส่วนผสมทั้งภายในและภายนอกที่หลากหลาย เช่น ฮอร์โมน สารเคมีในสมอง การเลี้ยงดู วัฒนธรรม และพื้นฐานทางสังคมที่หล่อหลอมตัวบุคคลจึงไม่ใช่ความผิดปกติ
ในสมัยก่อนอาจมองว่าการข้ามเพศ หรือกลุ่มคนที่อยู่ในเพศทางเลือกมีความผิดปกติที่เกี่ยวกับทางจิตใจ โดยมีเอกสารทางราชการระบุว่า ‘กะเทย’ เป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตถาวร เป็นโรคจิตวิกลจริต ซึ่งความคิดเหล่านี้ล้วนถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรม หรือบรรทัดฐานทางสังคมจนเกิดการเลือกปฏิบัติทำให้คนกลุ่มนี้ไม่ได้รับสิทธิที่ควรได้เท่าที่ควร
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเพชรเวช / myimperfectlife.com
ภาพจาก : AFP