รีเซต

"แดนเพศสภาพ" ส่องชีวิตผู้ต้องขังข้ามเพศ ในเรือนจำคลองเปรม

"แดนเพศสภาพ" ส่องชีวิตผู้ต้องขังข้ามเพศ ในเรือนจำคลองเปรม
TNN ช่อง16
1 สิงหาคม 2567 ( 23:35 )
35
"แดนเพศสภาพ" ส่องชีวิตผู้ต้องขังข้ามเพศ ในเรือนจำคลองเปรม

เรือนจำกลางคลองเปรม คือ สถานที่คุมขัง 1 ใน 2 แห่งของประเทศไทยที่ดำเนินการแบ่งแดนผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยหากย้อนไปในอดีตที่ผ่านมาผู้ต้องขังความหลากหลายทางเพศ ถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยง และ มีความกังวลต่อการถูกเลือกปฏิบัติ 

จากรายงานของ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของกระทรวงยุติธรรม ได้ทำการศึกษาสถานการณ์ และ การบริหารจัดการผู้ต้องขังข้ามเพศในเรือนจำในประเทศไทยพบว่าสิ่งที่ผู้ต้องขังข้ามเพศต้องเผชิญเมื่ออยู่ในเรือนจำ คือ ความไม่ชัดเจนของแนวทางปฏิบัติที่แบ่งนักโทษแค่เพียงชาย และ หญิง และ ยังไม่มีแบ่งแดนเฉพาะผู้ต้องขังข้ามเพศ แต่มีการแยกห้องนอนเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศโดยผู้ต้องขังอื่น

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ต้องขังกลุ่มนี้เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพพื้นฐาน และไม่กล้าเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศ เพราะห่วงเรื่องความปลอดภัย และ กังวลกับการถูกเลือกปฏิบัติ แม้กรมราชทัณฑ์จะอนุญาตให้ผู้ต้องขังข้ามเพศสามารถแสดงอัตลักษณ์ทางเพศอย่างเปิดเผย เพื่อสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน แต่กลับพบว่าผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศหลายคนที่

 

“การจัดแดนเพศสภาพ” และการปฏิบัติดูแลผู้ต้องขังข้ามเพศภายในเรือนจำฯ จึงถูกผลักดันให้เกิดขึ้น โดยกรมราชทัณฑ์ได้เปิดเรือนจำกลางคลองเปรมให้สื่อมวลชนหลากหลายสำนักได้เข้าศึกษาดูงานการควบคุมดูแลตามมาตรการการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่มีความหลากทางเพศ ตามโครงการ “สื่อมวลชนสัญจร Press Tour เพื่อศึกษาดูงานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังข้ามเพศ”

 

นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยืนยันว่ากรมราชทัณฑ์มีหน้าที่ดูแลให้ทุกคนได้รับความปลอดภัยและได้รับการคุ้มครองสิทธิตามข้อกำหนดแมนเดล่า Mandela Rules และมาตรฐานสหประชาชาติ ไม่ว่าผู้ต้องขังจะเป็นเพศใด จากฐานความผิดใด ซึ่งบทบาทภารกิจของกรมราชทัณฑ์เกี่ยวกับมาตรการการควบคุมดูแลผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ ปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 เรือนจำ คือ เรือนจำกลางคลองเปรม และเรือนจำพิเศษพัทยา

โดยกรมราชทัณฑ์ได้ยึดถือหลักการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังข้ามเพศโดยไม่เลือกปฏิบัติรวมถึงสิทธิการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ตลอดจนการพัฒนาพฤตินิสัยที่จะได้รับทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ตามมาตรฐาน SOPs ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2565

กลุ่มตัวแทนผู้ต้องขังข้ามเพศ ให้ข้อมูลว่ามาตรการดังกล่าวทำให้กลุ่มผู้ต้องขังข้ามเพศ ลดความกังวลใจในการใช้ชีวิตระหว่างอยู่เรือนจำได้มาก เพราะได้อยู่ร่วมกับกลุ่มผู้ต้องขังที่มีวิถีที่คล้ายคลึงกัน  หนึ่งในผู้ต้องขังข้ามอเปิดเผยว่า ตนเองถูกตัดสินจำคุกในคดียาเสพติดเมื่อปี พ.ศ.2565 และถูกส่งตัวมายังเรือนจำกลางคลองเปรม ซึ่งขณะนั้นเรือนจำได้จัดแบ่งพื้นที่กลุ่มผู้ต้องขังข้ามเพศตั้งแต่แดนแรกรับ รวมถึงห้องนอนและห้องน้ำ ทำให้ปรับตัวในการใช้ชีวิตได้เร็วขึ้น

 

 

สำหรับภายในแดน 1 ของเรือนจำกลางคลองเปรม มีผู้ต้องขังทั้งสิ้น จำนวน 1,085 คน 

เป็นกลุ่มผู้ต้องขังข้ามเพศ จำนวนทั้งสิ้น 64 คน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 

ประเภทที่ 1 ผู้ต้องขังข้ามเพศที่แปลงเพศโดยสมบูรณ์แล้ว จำนวน 14 คน 

ประเภทที่ 2 ผู้ต้องขังข้ามเพศที่ยังไม่แปลงเพศแต่ลักษณะทางกายภาพไม่เป็นไปตามเพศกำเนิด  จำนวน 9 คน

ประเภทที่ 3 ผู้ต้องขังข้ามเพศที่ยังไม่แปลงเพศและไม่ได้มีกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่พิจารณาแล้วเห็นควรให้มี

                 การแยกขังเนื่องจากเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศ จำนวน 41 คน


ปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ มีเรือนจำที่แบ่งแดนผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่เรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพมหานคร และเรือนจำพิเศษพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยผู้ต้องขังข้ามเพศส่วนใหญ่ต้องโทษจากคดียาเสพติดราว 700 คน คดีลักทรัพย์ 200 คน คดีทางเพศ 28 คน คดีชีวิตและร่างกาย 16 คน รวมถึงคดีอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 986 คน


เรื่อง: วุฒิพันธุ์ เปรมาสวัสดิ์ Ass. Editor TNN ONLINE  

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง