รีเซต

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า : ประตูตรวจวัดอุณหภูมิ ไอเดียนศ.มทร.ธัญบุรี

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า : ประตูตรวจวัดอุณหภูมิ ไอเดียนศ.มทร.ธัญบุรี
ข่าวสด
30 มิถุนายน 2563 ( 10:48 )
274
คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า : ประตูตรวจวัดอุณหภูมิ ไอเดียนศ.มทร.ธัญบุรี

 

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า : ประตูตรวจวัดอุณหภูมิ ไอเดียนศ.มทร.ธัญบุรี

ประตูตรวจวัดอุณหภูมิ - คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดตัว “ประตูตรวจวัดอุณหภูมิคัดกรองบุคคลอัตโนมัติ” ผลงานของ ดร.กุลชาติ จุลเพ็ญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

น.ส.สิริวดี กิจจา นายชัยศิริ โพธิ์คำ และ นายชาณุวัฒน์ สัตยาคุณ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมอุตสาหการการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ คัดกรองบุคคลหรือผู้ป่วยที่มีไข้สูง ทดแทนบุคลากรประจำจุดคัดกรอง

 

ดร.กุลชาติเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์จัดโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาและลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

มอบหมายนักศึกษาสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยที่สอดคล้องกับกรอบวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนักศึกษาสามารถใช้นวัตกรรมนี้เป็นโครงงานเพื่อจบการศึกษาและตอบโจทย์นวัตกรรมที่นำมาแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

 

ชัยศิริ ดร.กุลชาติ สิริวดี และชาณุวัฒน์

 

ดร.กุลชาติกล่าวต่อว่า “ประตูตรวจวัดอุณหภูมิคัดกรองบุคคลอัตโนมัติ” ใช้หลักการทำงานประตูเปิด-ปิด แบบสวิงเกตเหมือนรถไฟฟ้า โดยมีเซ็นเซอร์ 2 ตัว คือเซ็นเซอร์อุณหภูมิ และเซ็นเซอร์ระยะห่างของบุคคลติดตั้งเพิ่มขึ้นมา

ตัวเซ็นเซอร์อุณหภูมิสามารถสแกนอุณหภูมิร่างกายของผู้ใช้ในช่วง 30-50 องศาเซลเซียส โดยผู้ใช้นำใบหน้าเข้ามาใกล้เซ็นเซอร์ช่วงประมาณ 5 ซ.ม. เพื่อความแม่นยำในการวัดอุณหภูมิ มีสัญญาณสีที่ประตูและสัญญาณเสียงบอกอุณหภูมิตรวจ”

 

ด้าน น.ส.สิริวดีกล่าวเสริมว่า เป็นการตรวจแบบไร้สายโดยหลักการทำงานของอินฟราเรด เทอร์โมมิเตอร์เป็นตัววัดอุณหภูมิ และอัลตราโซนิกวัดระยะด้วยคลื่นเสียง ส่งสัญญาณ ยังเซ็นเซอร์ประตูแจ้งอุณหภูมิ ไฟแสดงสถานะมี 3 สี

ไฟสแตนด์บายสีน้ำเงิน ไฟสแตนด์อุณหภูมิผ่านสีเขียว และไฟสแตนด์บายอุณหภูมิไม่ผ่านสีแดง ขณะทำงานเมื่อเครื่อง มีปัญหาระบบจะรีเซ็ตตัวเองโดยอัตโนมัติภายใน 8 วินาที

เซ็นเซอร์อุณหภูมิ

 

“ประตูตรวจวัดอุณหภูมิคัดกรองบุคคลอัตโนมัติ” เป็น 1 ใน 5 โครงการ อีก 4 ผลงาน ประกอบด้วยการผลิตหน้ากากแบบเปลี่ยนไส้กรองจากพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ นวัตกรรมหน้ากากผ้าป้องกันโควิด-19 โดยแสดงผลผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิสูงด้วยการเปลี่ยนสีของสารเทอร์โมโครมิก หุ่นยนต์ตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 การออกแบบและสร้างเครื่องฆ่าเชื้อโควิด-19 ด้วยรังสียูวีซี”

ปัจจุบันประตูตรวจวัดอุณหภูมิคัดกรองบุคคลอัตโนมัติ ติดตั้งที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ใช้งบประมาณในการออกแบบและพัฒนา เพียง 30,000 บาท สนใจสอบถามได้ที่โทร. 0-2549-3400 หรือ www.rmutt.ac.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง