รีเซต

แบคทีเรียใช้ความหอมของไอดินกลิ่นฝน หลอกล่อสัตว์ในดินให้มาช่วยแพร่พันธุ์

แบคทีเรียใช้ความหอมของไอดินกลิ่นฝน หลอกล่อสัตว์ในดินให้มาช่วยแพร่พันธุ์
ข่าวสด
18 เมษายน 2563 ( 01:30 )
459
2
แบคทีเรียใช้ความหอมของไอดินกลิ่นฝน หลอกล่อสัตว์ในดินให้มาช่วยแพร่พันธุ์

แบคทีเรียใช้ความหอมของไอดินกลิ่นฝน หลอกล่อสัตว์ในดินให้มาช่วยแพร่พันธุ์ - BBCไทย

กลิ่นไอดินหอมอ่อน ๆ ที่โชยขึ้นมาให้ชื่นใจหลังฝนตก เป็นกลิ่นที่ใครหลายคนชื่นชอบและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย แต่ใครจะรู้ว่าแบคทีเรียที่เป็นตัวการสร้างกลิ่น "เพทริเคอร์" หรือ "เพไทรคอร์" (Petrichor) มีจุดประสงค์ในการผลิตกลิ่นนี้ออกมา เพื่อหลอกล่อให้บรรดาสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยในดินมาช่วยพวกมันขยายพันธุ์

ผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Microbiology ระบุว่าไอดินกลิ่นฝนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรชีวิตในระบบนิเวศที่พื้นดิน โดยแบคทีเรียสเตรปโตมายซีส (Streptomyces) จะหลั่งสาร "จีโอสมิน" (Geosmin) ออกมาปะปนในพื้นดินเมื่อพวกมันตายลง และสารนี้จะส่งกลิ่นหอมเย็นเมื่อได้สัมผัสละอองความชื้นจากน้ำฝน ยั่วยวนให้บรรดาสัตว์ขาปล้องหรืออาร์โทพอด (Arthopods) ซึ่งได้แก่กิ้งกือ ตะขาบ มด ปลวก และแมลงบางชนิด พากันมากัดกินซากของแบคทีเรียชนิดนี้

Getty Images

อาจฟังดูแปลกประหลาดที่กลิ่นหอมของธรรมชาติมาจากซากสิ่งมีชีวิตที่ไม่น่าพิสมัยนัก แต่การที่กลุ่มแบคทีเรียซึ่งดูคล้ายกับราชนิดนี้ถูกกินเข้าไป จะส่งผลดีคือช่วยให้สปอร์ซึ่งเป็นส่วนที่แบคทีเรียดังกล่าวใช้แพร่พันธุ์ สามารถกระจายตัวออกไปเป็นบริเวณกว้างขวางขึ้น ผ่านการขับถ่ายมูลของสัตว์ขาปล้องที่คลานและไชไปมาในดินนั่นเอง

Science Photo Library

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจากสวีเดนและสหราชอาณาจักร ได้ทำการทดลองสร้างกับดักที่บรรจุสารจีโอสมิน และสารอินทรีย์ที่มีกลิ่นชนิดอื่น ๆ ไว้ในธรรมชาติและในห้องปฏิบัติการ เพื่อทดสอบดูว่าสัตว์ขาปล้องต่าง ๆ จะตอบสนองอย่างไรต่อกับดักมีกลิ่นที่เตรียมเอาไว้

ผลปรากฏว่าว่าสัตว์ขาปล้องหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมลงหางดีด (Springtail) ซึ่งปกติอาศัยอยู่บนพื้นดินในป่าและในกองซากใบไม้เน่าเปื่อย พากันเข้ามาในกับดักที่มีกลิ่นเพทริเคอร์อยู่มากกว่าอย่างชัดเจน ซึ่งหลังจากที่กัดกินซากแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุส่งกลิ่นแล้ว สปอร์ของแบคทีเรียจะเข้าไปในร่างกายหรือติดอยู่ที่ขนซึ่งไม่เปียกน้ำตามขาของแมลงนั่นเอง

"ด้วยเหตุนี้ กระบวนการที่ทำให้เกิดไอดินกลิ่นฝน จึงเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อขับเคลื่อนให้วงจรชีวิตของแบคทีเรียบางชนิดวนครบรอบโดยสมบูรณ์" ทีมผู้วิจัยสรุป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง