ขั้นตอนผู้ป่วยโควิดกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา ได้รักษาที่ไหน ต้องทำอย่างไรบ้าง
จากข้อมูลวันที่ 1 ก.ค.-4 ส.ค.มีผู้ป่วยโควิดเดินทางจากกทม.ปริมณฑลกลับภูมิลำเนาทั่วประเทศ 94,664 ราย เป็นข้อมูลเฉพาะผู้ติดเชื้อในระบบเพียงเท่านั้น แต่ยังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่เดินทางกลับไปมากกว่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ภาคอีสาน ทาง สปสช. จึงออกมาแนะวิธีการติดต่อจังหวัดเพื่อขอรักษา ณ ภูมิลำเนาของตนเอง โทรสายด่วน 1330 ต่อ 15 หรือ 1669
สถานการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 1 ก.ค.- 4 ส.ค.64 มีผู้ยืนยันติดเชื้อโควิด-19 ที่เดินทางจาก กทม.และปริมณฑล กลับไปภูมิลำเนาทั่วประเทศ 94,664 ราย
เป็นข้อมูลเฉพาะผู้ติดเชื้อในระบบ ส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งจะอยู่ในภาคอีสาน โดยเฉพาะเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 13,022 ราย เขตสุขภาพที่ 8 จำนวน 13,761 ราย เขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 17,293 ราย และเขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 9,821 ราย ส่วนที่เหลือก็จะกระจายออกไป ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 1 ภาคเหนือตอนบน จำนวน 4,447 ราย เขตสุขภาพที่ 2 ตั้งแต่ จ.ตาก ลงมา จำนวน 5,125 ราย เขตสุขภาพที่ 3 จ.นครสวรรค์ ลงมา จำนวน 7,515 ราย ขณะที่ พื้นที่ภาคกลางเขตสุขภาพที่ 4 จำนวน 4,711 ราย เขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 7,871 ราย เขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 8,691 ราย ส่วนภาคใต้ คือ เขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 1,424 ราย และเขตสุขภาพที่ 12 จำนวน 983 ราย
การเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง
1.โทรประสานศูนย์รับคนกลับบ้านของจังหวัด หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปลายทางที่จะเดินทางกลับ เช็กเบอร์ได้ที่
2.เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวเท่านั้น ผู้ขัรถหากไม่เคยติดเชื้อจะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
3.เตรียมหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ให้เพียงพอ รวมทั้งถุงในขยะส่วนตัว
4.เตรียมยาให้พร้อมทั้งยาบรรเทาอาการป่วยโควิด 19 และยารักษาโรคประจำตัว
5.จัดเตรียมอาหารและน้ำให้เพียงพอตลอดการเดินทางไม่ควรแวะสถานที่อื่นระหว่าทาง
6.เตรียมหมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดการเจ็บป่วย หรือมีเหตุฉุกเฉิดขณะเดินทาง
7.เตรียมผลตรวจโควิด 19
การปฏิบัติตนระหว่างเดินทาง
1.สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ตลอดการเดินทาง
2.หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
3.ล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อน - หลัง รับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ หรือหลังจากไอจาม
4.ห้ามแวะพักระหว่างการเดินทาง ให้ตรงไปยังโรงพยาบาล หรือสถานที่ที่ได้รับแจ้งไว้เท่านั้น
5.หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะ ต้องล้างมือก่อนใช้ห้องน้ำและหลังใช้ห้องน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อโรคที่มือไม่เปื้อนพื้นผิวของห้องน้ำ
เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง
1.ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่ได้รับประสาน เพื่อรับการรักษาหรือแยกกัก
2.ปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ดูแลโรงพยาบาลหรือสถานที่แยกกักอย่างเคร่งครัด
ช่องทางการแจ้งกลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา
1.ติดต่อที่สายด่วน สปสช. โทร.1330 กด 15
2.ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://crmdci.nhso.go.th/
3.สแกน QR Code
ผู้ป่วยโควิดรักษาตัวที่ไหน เมื่อกลับภูมิลำเนา
มาตรการดูแลผู้ป่วยเมื่อเดินทางถึงภูมิลำเนา จะมีเจ้าหน้าที่มารอรับ เพื่อประเมินสภาพผู้ป่วยเบื้องต้นเพื่อแยกความรุนแรงของอาการ เช่น การเอกซเรย์ปอด เมื่อแยกผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มสีเขียวผู้ป่วยติดเชื้อไม่มีอาการ มีอาการน้อย ส่วนใหญ่จะเข้า รพ.สนาม ที่ทุกจังหวัดเพิ่มรองรับจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงเข้าศูนย์พักคอยในชุมชน(community isolation) ส่วนการแยกกักที่บ้าน(home isolation) ในต่างจังหวัดทำได้ยาก แต่ก็จะมีการจัดระบบเข้าไปดูแล
2. กลุ่มสีเหลืองผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง พิจารณารักษาในรพ.ชุมชน
3. กลุ่มสีแดงผู้ป่วยอาการรุนแรง ที่สามารถวัดได้จากออกซิเจนปลายนิ้วที่ลดลง หรือมีอาการเหนื่อยหอบ ก็จะรักษาในรพ.ทั่วไป/รพ.ศูนย์ ของจังหวัดนั้นๆ
ส่วนใหญ่ที่เดินทางไปจะเป็นกลุ่มสีเขียว มีกลุ่มสีเหลืองบางส่วนและสีแดงก็พอมีอยู่บ้าง แต่ทุกจังหวัดทั่วประเทศมีผู้ป่วยติดเชื้อที่เดินทางกลับบ้านทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดูแลอยู่ ดังนั้น ทุกจังหวัดจะมีภาระตรงนี้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากที่ก่อนหน้านี้ที่ทุกจังหวัด ต้องส่งแพทย์ พยาบาล มาช่วย รพ.หลายแห่งในกทม. และปริมณฑล โดยเฉพาะกลุ่มสีเหลืองและแดง และช่วยที่ รพ.บุษราคัม อย่างน้อย 200-300 คน เพื่อดูแลผู้ป่วยกว่า 3 พันคน ซึ่งขณะนี้ได้เปิดเตียงผู้ป่วยหนัก อีก 17 เตียง ใช้แพทย์เฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยหนักโดยตรง รวมกับพยาบาลที่ผ่านการอบรมดูแลผู้ป่วย ICU ซึ่งส่วนนี้ก็มาจากพื้นที่ต่างจังหวัดทั้งหมด
ข้อมูลจาก สปสช.
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก