รีเซต

คณะที่ปรึกษาธุรกิจชง "ครม." ปลดล็อกเปิดธุรกิจพื้นที่เสี่ยงต่ำ-ปานกลางอุ้มจ้างงาน

คณะที่ปรึกษาธุรกิจชง "ครม." ปลดล็อกเปิดธุรกิจพื้นที่เสี่ยงต่ำ-ปานกลางอุ้มจ้างงาน
มติชน
20 เมษายน 2563 ( 14:02 )
66

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สรุปข้อเสนอแนะหลังจากการประชุมร่วมระหว่างคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา​ 2019​ ครั้งที่​ 2/2563 โดยได้แบ่งข้อเสนอเพิ่มเติมออกเป็น 5 ข้อใหญ่ ซึ่งมีทั้งข้อเสนอในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีข้อเสนอในกลุ่มมาตรการที่สามารถได้ทันที อาทิ การเยียวยาเกษตรกร

 

การอนุญาตให้ปรับการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงได้ และกลุ่มที่ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ลดเงินสมทบประกันสังคมนายจ้างจาก4% เหลือ 1% ระยะเวลา 180 วัน การให้ภาคเอกชนหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า กรณีใช้งบประมาณเพื่อป้องกันโควิด-19 และ การขอขยายสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐออกไป 4 เดือน จังหวัดและธุรกิจที่มีความเสี่ยงระดับต่ำถึงปาน กลางจะทดลองนำร่องก่อน รวมถึงกลุ่มมาตรการระยะยาว อาทิ การแก้กฎหมายเพื่อรองรับการจัดซื้อเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ของภาครัฐ การจัดตั้งกองทุนร่วมทุนเกษตรกร” 50,000 ล้านบาท โดยสศช. จะดำเนินการประมวลมาตรการและข้อเสนอจากทุกภาคส่วน เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี ในการพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

 

นายทศพรกล่าวว่า ข้อเสนอแนะที่ 1 คือ เสนอมาตรการเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ได้แก่1.มาตรการด้าน ประกันสังคม/กองทุน/แรงงาน เช่น ลดเงินสมทบประกันสังคมนายจ้างจาก 4% เหลือ 1% ระยะเวลา180 วัน 2.มาตรการด้านภาษี อาทิ ให้ภาคเอกชนหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า กรณีใช้งบประมาณเพื่อป้องกันโควิด-19 3.มาตรการด้านสาธารณูปโภคและที่ดิน อาทิ ขอเลื่อนการจ่ายค่าน้ำและค่าไฟ ออกไป 4 เดือน 4.มาตรการด้านการเงิน อาทิ สินเชื่อที่รัฐให้เพิ่มสภาพคล่อง โดยจะขอให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันวงเงินกู้ เพิ่มเป็น 80%

 

5.มาตรการด้านอื่น อาทิ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงาน ซื้อสินค้าจาก ผู้ผลิตในประเทศ ซึ่งภาคเอกชนจะต้องหารือในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป อาทิ กระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทย ข้อเสนอที่ 2 เป็นมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหาด้วยดิจิทัล ได้แก่ ควบคุม ป้องกัน และรักษา อาทิ การจัดท้าฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ความต่อเนื่องธุรกิจ การจ้างงานและพัฒนาคน มาตรการสนับสนุนผู้จนการศึกษาใหม่ คนว่างงาน และรักษาการจ้างงานในปัจจุบัน

 

นายทศพรกล่าวว่า ข้อเสนอที่ 3 เป็นมาตรการเพื่อภาคเกษตร แบ่งเป็นมาตรการระยะสั้น ได้แก่ การเยียวยาให้กับเกษตรกร ครัวเรือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน การพักหนี้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทาง ราชการ ระยะเวลา 1 ปี และการปรับโครงสร้างหนี้และขยายเวลาช้าระหนี้จากการเช่าซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงการปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ่านกองทุนร่วมทุนเกษตรกร 50,000 ล้านบาท การพัฒนานักธุรกิจเกษตรอัจฉริยะ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ กระบวนการผลิตผ่านกลไกการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ส่วนข้อเสนอแนะที่ 4 เกี่ยวกับมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่า (ซอฟท์โลน) แนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากมาตรการสินเชื่อใหม่วงเงิน 500,000 ล้านบาท สำหรับภาคธุรกิจขนาดเล็กและกลาง หรือเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

 

นายทศพรกล่าวว่า ข้อเสนอที่ 5 มาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ได้แก่ 1.มาตรการในการปรับพฤติกรรมของประชาชน โดยมีการก้าหนดแนวทางในการปฏิบัติของประชาชนและสถานที่ให้บริการ 2.แนวทาง พิจารณาการเปิดด้าเนินการธุรกิจตามความเสี่ยงของสถานประกอบการ และพื้นที่ที่มีความเสี่ยง อาทิ สถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่้าอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ อาจพิจารณาเปิดให้บริการได้ตาม มาตรการที่ก้าหนด ขณะที่สถานประกอบการที่มีความเสี่ยงสูง และอยู่ในจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงจะไม่ พิจารณาเปิดให้บริการ

 

3.กระบวนการอนุญาตและติดตาม อาทิ การลงทะเบียนสำหรับสถาน ประกอบการ การติดตามตรวจสอบ โดยภาครัฐระดับท้องถิ่นและจังหวัด การรายงานของภาคประชาชน ผ่านแอพลิเคชันไลน์ 4.การพิจารณาระยะเวลาดำเนินการ โดยเป็นการทดลองเปิดในจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่ำ และขยายผลไปสู่จังหวัดที่มีความเสี่ยงต่ำและปานกลางต่อไป 5.การสื่อสาร โดยภาครัฐจัดทำแผนการสื่อสารไปสู่ประชาชนและสถานประกอบการให้รับทราบถึงข้อปฏิบัติและแนวทางในการดำเนินการ และ 5.คณะท้างานร่วมในการด้าเนินการ ประกอบด้วยภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคสังคมและ วิชาการ ซึ่งเอกชนจะต้องไปหารือในรายละเอียดกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข

 

ด้านนายกลินท์สารสินประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่าได้เสนอแนวทางการเปิดดำเนินการธุรกิจบางประเภทให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ แบ่งเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่ำ (สีเขียว) จะเปิดบริการธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำได้ ในกรณีปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน อาทิ การเว้นระยะห่างทางสังคม ส่วนธุรกิจที่มีความเสี่ยงปานกลางเปิดดำเนินการได้ด้วยความระมัดระวัง และธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเปิดดำเนินการไม่ได้ และกลุ่มจังหวัดที่มีความเสี่ยงปานกลาง (สีเหลือง) จะเปิดธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำได้ ในกรณีปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ส่วนธุรกิจที่มีความเสี่ยงปานกลางเปิดได้ด้วยความระมัดระวัง และธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเปิดไม่ได้ ส่วนจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูง (สีแดง) จะเปิดธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำและปานกลางได้ แต่ต้องระมัดระวัง และธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเปิดไม่ได้

 

อยากให้มีคำสั่งจากส่วนกลางสั่งพร้อมกันทั่วประเทศ ไม่ใช่เป็นการสั่งเปิดของบางจังหวัดเท่านั้น โดยสถานประกอบการที่อยากให้เปิดก่อนนั้น ต้องพิจารณาลักษณะพื้นที่ ไม่แออัด ยิ่งเป็นพื้นที่โล่งยิ่งดี รวมถึงต้องไม่อยู่นานเกิน 1 ชั่วโมง งดใช้เสียงดัง เพราะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อผ่านน้ำลาย มีพัดลมดูดอากาศให้ถ่ายเท รวมถึงต้องวัดอุณหภูมิของพนักงานและผู้ใช้บริการ ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และทำความสะอาดสิ่งที่ใช้ร่วมกัน อาทิ ลิฟท์โดยคณะทำงานเสอให้เปิดสวนสาธารณะทุกจังหวัด เพราะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ แต่ผู้เข้าไปใช้บริการจะต้องทำตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมด้วย ไม่ใช่เกาะกลุ่มร่วมกันเป็นจำนวนมากๆนายกลินท์กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง