รีเซต

นโยบายเทคโนโลยีของวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพฯ หมายเลข 1

นโยบายเทคโนโลยีของวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพฯ หมายเลข 1
TNN ช่อง16
18 พฤษภาคม 2565 ( 14:56 )
96

นโยบายทั้ง 12 เกิดขึ้นจากความไม่เท่ากันของคนกรุงฯ จึงทำให้แต่ละคนเจอกับปัญหาที่ต่างกันออกไป ทั้งนี้ ผู้สมัครหมายเลข 1 ต้องการจะเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นเมืองที่คนเท่ากัน


  1. “สวัสดิการคนเมือง” โอบอุ้มเด็ก คนชรา และผู้พิการ

  • เพิ่มเบี้ยผู้สู้งอายุ (อายุ 60 ปี ขึ้นไป) ให้เป็น 1,000 บาทต่อเดือนทุกคน ยกเลิกการให้เบี้ยตามอายุ

  • เพิ่มเบี้ยเลี้ยงดูเด็กเล็ก (อายุ 0-6 ปี) ให้เป็น 1,200 บาทต่อเดือนทุกคน ยกเลิกการให้เบี้ยเฉพาะเด็กยากจน ซึ่งเคยให้ที่ 600 บาทต่อเดือน

  • เพิ่มเบี้ยคนพิการให้เป็น 1,200 บาทต่อเดือนทุกคน ยกเลิกการให้เบี้ยตามประเภทความพิการ ซึ่งเคยให้ที่ 800-1,200 บาทต่อเดือน


  1. วัคซีนฟรี

วัคซีนป้องกันโรคพื้นฐานฟรี เช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ เป็นต้น โดยจะมีการยกระดับศูนย์สาธารณะสุขชุมชนให้สามารถฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนฟรีได้ง่าย


  1. หยุดระบบอุปถัมภ์

หยุดการคอรัปชั่นโดยการคืนสิทธิในการตัดสินใจให้กับประชาชน เป็นการใช้เสียงประชาชนในการจัดสรรงบประมาณ


  1. บ้านคนเมือง

สร้างที่อยู่อาศัยที่ดีและถูก มีเป้าหมายอยู่ที่ 10,000 ยูนิต ภายใน 4 ปี ให้เช่าระยะยาว ราคาไม่เกิน 3,500-9,000 บาทต่อเดือน


  1. ค่าเดินทางที่ทุกคนจ่ายไหว

  • ทำตั๋วคนเมืองราคา 70 บาท ขึ้นได้ 100 บาท พร้อมทั้งค้านการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าและผลักดันตั๋วร่วมรถไฟฟ้าราคา 15-45 บาท ตลอดทั้งสาย
  • กล้องจับความเร็วซึ่งพิสูจน์ได้อยู่แล้วว่ารถที่กำลังขับหรือขับเฉี่ยวชนผู้คนหรือไม่เคารพ พรบ.จราจรทางบก


  1. ขึ้นค่าเก็บขยะห้างใหญ่

จากเดิม 20,000-30,000 บาทต่อเดือน ปรับขึ้นเป็น 300,000-500,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นราคาจริงที่ควรจ่าย โดยจะนำงบประมาณจำนวนนี้มาปรับปรุงการเก็บขยะครัวเรือน


  1. ลงทุนศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์ละ 5 ล้าน

ทุ่มงบประมาณอัปเกรดศูนย์เด็กเล็กกทม. ให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าของเอกชน 


  1. สร้างการศึกษาที่ทุกคนวิ่งตามความฝันของตัวเองได้

ลงทุนสื่อออนไลน์คุณภาพและตั๋วตาสว่าง สำหรับการเรียนรู้นอกห้องเรียน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ปลอดการบูลลี่ (Bully) ภายในสถานศึกษา


  1. ลอกท่อทั่วเมือง ลอกคลองทั่วกรุง

  • ขยายท่อระบายน้ำ ขุดลอกท่อและคูคลอง แยกท่อน้ำฝนและน้ำเสีย ตั้งศูนย์รวมการจัดการน้ำไว้ที่เดียว เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว

  • แอปพลิเคชันที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และตรวจสอบข้อมูลได้  ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ในการแก้ไขปัญหาเมืองกรุงเทพฯ แต่สามารถร้องเรียน ได้ทุกเรื่อง ไม่จำกัดเฉพาะปัญหาน้ำท่วมและรถติดเท่านั้น


  1. เปลี่ยนที่รกร้างเป็นสวนสาธารณะ

เป็นการเปลี่ยนที่ดินไม่ทำประโยชน์ของเอกชนมาปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะโดยใช้กลไกภาษีที่ดิน


  1. ทางเท้าดีเท่ากันทั่วกรุงเทพฯ

ออกแบบทางเท้าใหม่ให้สวยงาม คงทน เอาสายไฟลงใต้ดิน เปลี่ยนท่อระบายน้ำ ทำทางม้าลายปลอดภัย


  1. เจอส่วย แจ้งผู้ว่าฯ

  • ประชาชนสามารถร้องเรียนกับผู้ว่าฯ ได้โดยการขอใบอนุญาตร้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์
  • ลงทุนเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับความโปร่งใส การลงทุนดิจิตอลอินฟาสตรัคเจอร์


กรุงเทพฯ จะเปลี่ยนไปมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของประชาชนในที่นี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2022 ที่จะถึงนี้


ข้อมูลจาก Wiroj Lakkhanaadisorn - วิโรจน์ ลักขณาอดิศร/facebook.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง