รีเซต

CDC ออกคำแนะนำ คนที่หายป่วยจากโควิดแล้ว ควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้น ทันทีหลังกักตัว

CDC ออกคำแนะนำ คนที่หายป่วยจากโควิดแล้ว ควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้น ทันทีหลังกักตัว
TNN Health
2 กุมภาพันธ์ 2565 ( 16:05 )
469

คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐฯ หรือ CDC ระบุว่า ผู้ที่มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก และพ้นจากระยะกักตัว (ระยะเวลา 5 วันตามข้อกำหนดใหม่ของ CDC ) โดยไม่มีอาการป่วยหรือปลอดไข้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือ บูสเตอร์ ได้เลย


CDC ออกคำแนะนำนี้ หลังจากมีข้อถกเถียงกันว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้ว ควรรับวัคซีนทันที หรือทิ้งไว้ซักระยะก่อนค่อยรับวัคซีนเข็มกระตุ้นก็ได้


ก่อนหน้านี้ มีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญบางส่วน แนะกับคนไข้ว่า ควรเว้นระยะอย่างน้อย 30 วัน หลังหายจากโควิด-19


นายแพทย์ไมเคิล บาวเออร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองอิลลินอยส์ รัฐชิคาโก บอกว่า เขาจะย้ำกับคนไข้อยู่เสมอถึงความหมายของวัคซีนเข็มกระตุ้นว่า “มันทำหน้าที่ในการย้ำเตือนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ฟื้นกลับมาทำงาน เพื่อสร้างแอนติบอดีในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสมากขึ้น”


“และถ้าหากคุณติดเชื้อโควิด-19 โดยที่ฉีดวัคซีนมาก่อนแล้ว เท่ากับว่า การติดเชื้อที่มาทีหลัง ทำหน้าที่เดียวกับเมื่อคุณฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ให้ร่างกายสร้างการให้สร้างแอนติบอดีเพิ่ม” นายแพทย์บาวเออร์ กล่าว


คำถามคือ แล้วภูมิคุ้มกันที่ได้จากการติดเชื้อจะอยู่ในร่างกายนานแค่ไหน?


งานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ JAMA International Medicine ซึ่งทำการศึกษากลุ่มประชากรที่ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงเดือนมกราคม ปี 2020 พบว่า แนวโน้มของคนกลุ่มนี้ที่จะติดเชื้อซ้ำอีกในช่วง 90 วันอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำมาก


หมายความว่า ร่างกายกำลังสร้างแอนติบอดีขึ้นมาช่วยต่อสู้กับไวรัสอยู่ระยะเวลานั้น


แต่สำหรับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่มีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุมกันที่มากขึ้น ทำให้ความเสี่ยงของการกลับมาติดเชื้อซ้ำมีมากขึ้น 5.4 เท่า เมื่อเทียบอัตราการติดเชื้อระหว่าง โอมิครอน กับเดลตา


ข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์มีตอนนี้ยังมีไม่มากพอที่จะทำให้รู้ได้ว่า การติดเชื้อโอมิครอนจะสามารถทำให้เกิดแอนติบอดีที่ช่วยป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ ที่จะตามมาได้หรือไม่


แต่พวกเขาค่อนข่างมั่นใจว่า วัคซีน ที่รวมถึงการฉีดเข็มกระตุ้นเป็นมาตรกฐานที่ค่อนข้างเชื้อถือได้ ในเรื่องความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อในระยะยาว

 

ที่มา: Health.com, ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อแห่งสหรัฐฯ (CDC)

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง