4 ผู้ผลิตมั่นใจ วัคซีนโควิด 19 ต้านไวรัสกลายพันธุ์ได้!
วันนี้ ( 23 ธ.ค. 63 )อูเกอร์ ซาฮิน ประธานกรรมการบริหารของไบโอเอนเท็ค ของเยอรมนี ที่ร่วมพัฒนาวัคซีนกับบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ของสหรัฐ แถลงในวันอังคารว่า เขาต้องใช้เวลาอีกสองสัปดาห์ถึงจะทราบว่าวัคซีนที่มีอยู่สามารถหยุดการระบาดของไวรัสโควิดที่กลายพันธุ์ได้หรือไม่ แต่เชื่อมั่นว่าวัคซีนต้านโควิด 19 ของบริษัท ซึ่งใช้เทคโนโลยี mRNA นั้นจะได้ผลดีในการป้องกันโควิดกลายพันธุ์
นายซาฮิน ระบุว่า วัคซีนของไบออนเทค และไฟเซอร์ตัวนี้ มีกรดอะมิโนมากกว่า 1,270 ตัว แต่ในไวรัสกลายพันธุ์ เบื้องต้นพบว่ามีแค่ 9 ตัวเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป นั่นจึงหมายความว่าโปรตีนอีก 99% ยังคงเหมือนเดิม จึงไม่น่ามีผลอะไรที่ไวรัสจะไม่ตอบสนองต่อวัคซีน
แต่หากจำเป็นจริง ๆ นักวิทยาศาสตร์จะสามารถดัดแปลงวัคซีน mRNA ให้เข้ากับโปรตีนของไวรัสกลายพันธุ์ได้ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะต่างจากแบบดั้งเดิม ที่มีความซับซ้อนมากกว่า
ขณะที่ ทาง Moderna, CureVac ของเยอรมนี รวมถึง AstraZeneca ของอังกฤษ ก็เชื่อมั่นว่าวัคซีนของพวกเขามีประสิทธิภาพต่อไวรัสกลายพันธุ์ที่กำลังระบาดในอังกฤษ
ซึ่งทั้ง Pfizer/BioNTech, Moderna, CureVac ล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยี mRNA ในการพัฒนาวัคซีน .ด้วยวิธีการคือ การเอาชิ้นส่วนอย่าง “หนาม” (spike) ของไวรัส มาฉีดเข้าเซล แล้วให้ร่างกายผลิตโปรตีนตัวนี้ขึ้นมา ซึ่งลำพังตัวหนามไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา ซึ่งร่างกายก็จะตอบโต้ชิ้นส่วนของโปรตีนตัวนี้ คล้ายกับเป็นวิธีที่ให้ร่างกายรู้จักไว้ก่อนว่า “หนามนี้คือวายร้าย” ดังนั้น เมื่อวายร้ายตัวจริงเข้ามา ก็จะทำให้ร่างกายจำไวรัสได้ และต่อสู้กับมัน ไม่ให้ติดเชื้อ
ขณะที่ AstraZeneca ใช้วิธีการดั้งเดิมคือ Viral Vector ที่ใช้ไวรัสอีกชนิดเป็นพาหะ แล้วตัดต่อเอายีนของไวรัสโคโรนาใส่เข้าไป ทำไวรัสพาหะ ได้รับการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม และสร้างหนามโปรตีนไวรัสโคโรนาขึ้นมา จากนั้นเมื่อฉีดเข้าร่างกายเรา ก็จะไปกระตุ้นภูมิในร่างกายขึ้น
โดยทาง AstraZeneca ที่พัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัย Osford ก็ยืนยันว่าวัคซีนที่ผลิตนี้มีประสิทธิภาพต้านไวรัสกลายพันธุ์ได้ โดยวัคซีน AZD1222 มีสารพันธุกรรมของหนามโปรตีนของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมในไวรัสที่กลายพันธุ์ ยังไม่พบว่าไปเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างของหนาม (spike protein) มากจนถึงขั้นทำให้วัคซีนใช้ไม่ได้ผล
ซึ่งวัคซีนตัวนี้ จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในจดจำขิ้นส่วนของ “หนาม” ของไวรัสที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น แม้ไวรัสจะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป ก็เชื่อว่าจะยังครองคลุมได้
ปัจจุบัน วัคซีนของ AstraZeneca-Oxford พบว่ามีประสิทธิภาพ 62% สำหรับอาสาสมัครที่รับวัคซีน 2 โดสเต็ม ๆ แต่พบว่ามีประสิทธิภาพสูงถึง 90% สำหรับกลุ่มที่รับวัคซีนครึ่งโดสแรก และเต็มโดสที่สอง
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline