รีเซต

คลายล็อก 1 ก.ย. ลงทะเบียนที่นี่ หากต้องการเดินทางข้ามจังหวัด เช็กรายละเอียด-เงื่อนไข

คลายล็อก 1 ก.ย. ลงทะเบียนที่นี่ หากต้องการเดินทางข้ามจังหวัด เช็กรายละเอียด-เงื่อนไข
TNN ช่อง16
1 กันยายน 2564 ( 08:05 )
4.2K
คลายล็อก 1 ก.ย. ลงทะเบียนที่นี่ หากต้องการเดินทางข้ามจังหวัด เช็กรายละเอียด-เงื่อนไข

จากกรณีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 13/2564 หรือ ศบค.ชุดใหญ่ เห็นชอบมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้เป็นต้นไป หลายคนยังมีข้อสงสัยว่ามีกิจการและการให้บริการใดเปิดทำการได้บ้าง TNN ได้สรุปอย่างง่ายๆมาไว้ดังนี้

 

 

 

1. จังหวัดใดอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม

- พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดมีทั้งหมด 29 จังหวัด  กรุงเทพมหานคร (กทม.) กาญจนบุรี  ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครนายก นครราชสีมา นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยะลา ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง

 

 

 

2.โรงเรียนและสถานศึกษาเปิดทำการหรือไม่

- โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภทให้สามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้ โดยให้ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบ ร่วมกับคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาความจำเป็นและการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

 

 

 

3.นั่งรับประทานอาหารในร้านได้หรือไม่?

- ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มสามารถเปิดให้บริการได้โดยให้บริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา 20.00 น.  แต่จำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้าน หากเป็นการบริโภคในห้องปรับอากาศให้มีจำนวนไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนที่นั่งปกติ แต่หากเป็นการบริโภคในพื้นที่เปิดที่อากาศสามารถระบายถ่ายเทได้ดี เช่น ร้านอาหารขนาดเล็ก หาบเร่ แผงลอย รถเข็น ให้มีจำนวนผู้นั่งบริโภคไม่เกินร้อยละ 75 ของจำนวนที่นั่งปกติ และให้ใช้บังคับมาตรการนี้กับร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันด้วย

 

 

 

4.ดื่มสุราในร้านอาหารได้หรือไม่?

- ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

 

 

 

5.ร้านเสริมความงาม-คลีนิคเสริมสวยเปิดหรือไม่

- สถานเสริมความงามร้านเสริมสวยแต่งผมหรือตัดผมให้เปิดดำเนินการได้

 

 

6.ร้านนวดเพื่อสุขภาพเปิดไหม

- สถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือสถานประกอบการนวดแผนไทย ให้เปิดให้บริการได้เฉพาะการให้บริการนวดเท้า

 

 

7.ตลาดนัดเปิดไหม?

- ตลาดนัดให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติจนถึง 20.00 น. เฉพาะการจำหน่ายสินค้าอุปโภคหรือบริโภค

 

 

8.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดหรือไม่ ?

สามารถเปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 20.00 นาฬิกา เว้นแต่กิจการหรือกิจกรรมบางประเภทที่กำหนดเงื่อนไขควบคุมการให้บริการ หรือให้ปิดการดำเนินการไว้ก่อน รายละเอียดดังกล่าวคือ

 

- คลินิกเวชกรรมเสริมความงามสถานเสริมความงาม สามารถเปิดดำเนินการและให้บริการได้ผ่านการนัดหมาย ส่วนร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมให้เปิดดำเนินการได้ โดยผ่านการนัดหมายและจำกัดเวลาการให้บริการในร้านไม่เกินรายละหนึ่งชั่วโมง

 

- สถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือสถานประกอบการนวดแผนไทย ให้เปิดดำเนินการได้โดยผ่านการนัดหมายและจำกัดเฉพาะการให้บริการนวดเท้า

 

 

10. โรงภาพยนตร์-สวนสนุก-สวนน้ำ-ฟิตเนส-ร้านเกม-โรงเรียนกวดวิชาในห้างสรรพสินค้า เปิดให้บริการหรือไม่ ?

- สถาบันกวดวิชา โรงภาพยนตร์ สวนสนุก สวนน้ำ สระว่ายน้ำ สถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนส ตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม การจัดเลี้ยงหรือการจัดประชุมยังคงให้ปิดการดำเนินการไว้ก่อน

 

 

11. สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ำ กลางแจ้ง เปิดให้บริการหรือไม่?

- สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ำเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำเพื่อการสันทนาการ หรือสระว่ายน้ำสาธารณะ หรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทกลางแจ้งหรือตั้งอยู่ที่เป็นพื้นที่โล่ง สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทในร่มที่อากาศถ่ายเทได้ดี สามารถเปิดดำเนินการได้ไม่เกินเวลา 20.00 นาฬิกา และสามารถจัดการแข่งขันได้โดยไม่มีผู้ชมในสนาม โดยคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี สามารถพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การใช้สถานที่เป็นการเฉพาะเพื่อความเหมาะสมกับสถานที่นั้น ๆ ได้

 

 

 

1 กันยายนนี้  สามารถเดินทางได้  (กรณีจำเป็น) 

 

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่มติที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคบางส่วน ซึ่งรวมถึงการอนุญาตให้การขนส่งสาธารณะข้ามจังหวัด โดยเฉพาะการการเดินทางเข้า-ออกจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือสีแดงเข้มให้สามารถดำเนินการ โดยกำหนดจำนวนผู้โดยสารไม่เกิน 75% ของความผู้โดยสาร ของพาหนะแต่ละประเภท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2564 เป็นต้นไป

 

 

ในส่วนของประชาชนที่มีความจำเป็นต้องเป็นต้องเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงเวลานี้ ก็ขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด ตามแนวทางการป้องกันโรคในทุกกรณีทุกโอกาส หรือ Universal Prevention และขอให้ติดตามข้อมูลก่อนการเดินทางว่าจังหวัดปลายทางที่จะเดินทางไปนั้นมีมาตรการป้องกันโรคอย่างไร ผู้เดินทางจากพื้นที่ต่างๆ จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร เนื่องจาก ศบค. ผ่อนคลายให้เกิดการเดินทางได้มากขึ้น แต่ทุกจังหวัดก็ยังมีมาตรการเฉพาะพื้นที่  

 

 

 

 เดินทางข้ามจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มต้องทำอย่างไร

 

1️. เอกสารรับรองที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อำนวยการเขต

2️. ถ้าไม่มีข้อ 1 ให้ลงทะเบียนการเดินทางข้ามพื้นที่ ผ่านทางเว็บไซต์ "หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" https://covid-19.in.th เพื่อนำ QR code แสดงแก่เจ้าหน้าที่

3️. ให้ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน ไทยชนะ ที่ด่านตรวจ

 

 

 

ลงทะเบียนเดินทางข้ามจังหวัดที่นี่

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/200/T_0001.PDF

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง