รีเซต

เช็คเงิน ม.40 วิธีคำนวณคืนเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 40 โอนงวดแรก 8 ส.ค. 65 เงินไม่เข้า ทำอย่างไร?

เช็คเงิน ม.40 วิธีคำนวณคืนเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 40 โอนงวดแรก 8 ส.ค. 65 เงินไม่เข้า ทำอย่างไร?
Ingonn
29 กรกฎาคม 2565 ( 09:02 )
10.4K
3

เช็คเงิน ม.40 ประกันสังคม แจ้งคืนเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 ช่วงเดือน ส.ค. 64 - ก.ค.65 เตรียมรับเงินคืนในส่วนที่ชำระเกิน ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยโอนเงิน ม.40 เข้าบัญชีวันที่ 8-11 สิงหาคม และ 14-16 กันยายน เช็คเงินประกันสังคม ม.40 พร้อม วิธีคำนวณคืนเงินสมทบประกันสังคม ที่นี่!

 

เช็คเงินประกันสังคม ม.40

เช็คเงิน ม.40 ลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 และในงวดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2565 โดย

  • ทางเลือกที่ 1 เดิมผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 70 บาท ลดเหลือเดือนละ 42 บาท
  • ทางเลือกที่ 2 เดิมผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 100 บาท ลดเหลือเดือนละ 60 บาท
  • ทางเลือกที่ 3 เดิมผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 300 บาท ลดเหลือเดือนละ 180 บาท

 

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่นำส่งเงินสมทบไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระ สำนักงานประกันสังคม จะโอนคืนเงินสมทบ ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน รอบแรกสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม 2565 และรอบที่ 2 ช่วงกลางเดือนกันยายน 2565 

 

เงินเข้าวันไหน ม.40

โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน (พร้อมเพย์)โดยมีกำหนดการโอนเงินจำนวน 2 รอบ ดังนี้

  • ผูกบัญชีพร้อมเพย์ก่อน 1 สิงหาคม 2565 จะได้รับ คืนเงินสมทบระหว่างวันที่ 8-11 สิงหาคม 2565 
  • ผูกบัญชีพร้อมเพย์ก่อน 8 กันยายน 2565 จะได้รับ คินเงินสมทบระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2565

 

วิธีคำนวณคืนเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 40 

งวดเดือนสิงหาคม 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565

  • ทางเลือกที่ 1 ปกตินำส่งเดือนละ 70 บาท ลดเหลือ 42 บาท ยอดเงินคืน 28 บาท
  • ทางเลือกที่ 2 ปกตินำส่งเดือนละ 100 บาท ลดเหลือ 60 บาท ยอดเงินคืน 40 บาท
  • ทางเลือกที่ 3 ปกตินำส่งเดือนละ 300 บาท ลดเหลือ 180 บาท ยอดเงินคืน 120 บาท

 

งวดเดือนกุมพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม 2565

  • ทางเลือกที่ 1 ปกตินำส่งเดือนละ 70 บาท ลดเหลือ 42 บาท ยอดเงินคืน 28 บาท
  • ทางเลือกที่ 2 ปกตินำส่งเดือนละ 100 บาท ลดเหลือ 60 บาท ยอดเงินคืน 40 บาท
  • ทางเลือกที่ 3 ปกตินำส่งเดือนละ 300 บาท ลดเหลือ 180 บาท ยอดเงินคืน 120 บาท

 

เงิน ม.40 ไม่เข้าทำอย่างไร

หากผู้ประกันตนไม่มีบัญชีธนาคารที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน (พร้อมเพย์)ให้ดำเนินการดังนี้

  1. ผู้ประกันตนสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอรับคืนเงินสมทบ (สปส.1-40/7) ได้ที่เว็บไซต์ sso.go.th หรือ ขอรับได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ
  2. จัดส่งเอกสารการขอรับคืนเงินสมทบได้ทางไปรษณีย์ หรือ
  3. ยื่นเอกสารขอรับคืนเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ 

 

ผู้ประกันตนต้องแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ ของผู้ประกันตน (ธนาคารกรุงไทย,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและธนาคารออมสิน) สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนที่ได้แนบให้กับทางสำนักงานประกันสังคม

 

ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนยังไม่ได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์ ขอให้เร่งดำเนินการติดต่อธนาคารเพื่อดำเนินการผูกพร้อมเพย์กับเลขที่บัตรประชาชน ก่อนการโอนเงินคืนไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ

 

เอกสารที่ต้องใช้ขอคืนเงิน ม.40

  • แบบคำขอรับเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืนกรณีลดอัตราเงินสมทบ (สปส.1-40/7) โดยโหลดแบบฟอร์ม (สปส.1-40/7) ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th 
  • บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  • หนังสือมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นรับเงินแทน พร้อมบัตรประชาชนฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 
    • ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) 
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
    • ธนาคารออมสิน


ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับเงินสมทบมาตรา 40 ที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืนของงวดเดือนสิงหาคม 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565 และงวดเดือนกุมพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม 2565 ในคราวเดียวกันได้

หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

 

 

ข้อมูล สำนักงานประกันสังคม

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง