รีเซต

ไบเดนระงับถอนทหารมะกันจากเยอรมนี-ยุติสนับสนุนปฏิบัติการในเยเมน

ไบเดนระงับถอนทหารมะกันจากเยอรมนี-ยุติสนับสนุนปฏิบัติการในเยเมน
Xinhua
5 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:23 )
106

วอชิงตัน, 4 ก.พ. (ซินหัว) -- เมื่อวันพฤหัสบดี (4 ม.ค.) ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ระบุว่าสหรัฐฯ ระงับการถอนกำลังทหารออกจากเยอรมนี และยุติการสนับสนุนปฏิบัติการโจมตีภายใต้ความขัดแย้งในประเทศเยเมน

 

ไบเดนกล่าวปราศรัยเกี่ยวกับนโยบายหลักด้านการต่างประเทศเป็นครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่ง โดยระบุว่าวิสัยทัศน์ด้านนโยบายต่างประเทศของเขาให้ความสำคัญกับการทูต ความเป็นพันธมิตร ระบบพหุภาคี และค่านิยม ซึ่งแตกต่างจากนโยบายของ โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีที่ให้ความสำคัญกับสหรัฐฯ เป็นอันดับหนึ่งระหว่างการปราศรัยไบเดนได้เปิดเผยการปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับความขัดแย้งในเยเมน การถอนกำลังทหารสหรัฐฯ จากเยอรมนี และประเด็นเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยประธานาธิบดีระบุว่า ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ จะทบทวนท่าทีของกองกำลังในทั่วโลก เพื่อให้กองกำลังของสหรัฐฯ สอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศและการจัดลำดับความสำคัญด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ และ "ขณะที่เราดำเนินการทบทวน เราจะยุติแผนถอนกำลังทหารออกจากเยอรมนี"ช่วงฤดูร้อนปี 2020 คณะบริหารของทรัมป์ประกาศถอนกำลังทหารสหรัฐฯ เกือบ 12,000 นายออกจากเยอรมนี ซึ่งได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งภายในและต่างประเทศขณะเดียวกันไบเดนได้เปลี่ยนจุดยืนของสหรัฐฯ ต่อความขัดแย้งในเยเมน โดยกล่าวว่า "เรายุติการสนับสนุนของสหรัฐฯ ต่อปฏิบัติการโจมตีในสงครามเยเมน ซึ่งรวมถึงการขายอาวุธที่เกี่ยวข้อง" พร้อมกล่าวว่าจะยกระดับกระบวนการทางการทูตและการสนับสนุนแผนริเริ่มที่นำโดยสหประชาชาติในด้านการยุติสงครามเยเมน ซึ่งเขาเรียกว่าเป็น "หายนะทางมนุษยธรรมและยุทธศาสตร์"หนึ่งวันก่อนหน้าการปราศรัย แอนโทนี บลินเคน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้แต่งตั้ง ทิโมธี เลนเดอร์คิง นักการทูตมากประสบการณ์ด้านกิจการระดับภูมิภาค เป็นทูตพิเศษของสหรัฐฯ ประจำเยเมนนอกจากนี้ ไบเดนระบุว่ารัฐบาลจะฟื้นฟูโครงการรับสมัครผู้ลี้ภัยสหรัฐฯ และเปิดรับผู้ลี้ภัย 125,000 คนในช่วงปีงบประมาณแรกของคณะบริหารชุดใหม่ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากขึ้นกว่าสมัยของทรัมป์เยเมนเผชิญสงครามกลางเมืองมาตั้งแต่ปลายปี 2014 เมื่อกลุ่มกบฏฮูตีที่ได้รับการสนับสนุนโดยอิหร่านบุกยึดครองหลายจังหวัดทางตอนเหนือของประเทศ และบีบให้รัฐบาลของประธานาธิบดี อับด์-รับบู มานซูร์ ฮาดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย ต้องออกจากกรุงซานาซึ่งเป็นเมืองหลวงกองกำลังสัมพันธมิตรที่นำโดยซาอุดีอาระเบียเข้าแทรกแซงความขัดแย้งในเยเมนช่วงเดือนมีนาคม 2015 เพื่อให้การสนับสนุนรัฐบาลของฮาดี นำไปสู่สงครามที่มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นราย ผู้พลัดถิ่น 4 ล้านราย และทำให้ประเทศเผชิญปัญหาความอดอยากก่อนหน้านี้สมาชิกสภานิติบัญญัติจากทั้งสองพรรคของสหรัฐฯ เสนอชุดมาตรการเพื่อลดการสนับสนุนของสหรัฐฯ ต่อกองกำลังสัมพันธมิตรของซาอุดีอาระเบียในสงครามเยเมน แต่ประธานาธิบดีทรัมป์กลับค้านทุกครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง