รีเซต

ปธน.แอฟริกาใต้ฉุน คนขาวลี้ภัยไปสหรัฐฯ​ ชี้เป็น "คนขี้ขลาด"​ - สะท้อนการแบ่งแยกยังไม่สิ้นสุด?

ปธน.แอฟริกาใต้ฉุน คนขาวลี้ภัยไปสหรัฐฯ​ ชี้เป็น "คนขี้ขลาด"​ - สะท้อนการแบ่งแยกยังไม่สิ้นสุด?
TNN ช่อง16
15 พฤษภาคม 2568 ( 16:26 )
12

"คนขี้ขลาด"

ประธานาธิบดีซีริล รามาโฟซา ของแอฟริกาใต้ เรียก Afrikaners ทั้ง 59 ชีวิตที่ขอลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกาว่า “ขี้ขลาด” และพวกเขาจะต้องกลับมายยังแอฟริกาใต้เร็ว ๆ นี้ เพราะไม่มีที่ไหนที่เหมือนกับแอฟริกาใต้

** Afrikaners คือ บรรดาคนเชื้อสายยุโรป โดยเฉพาะชาวดัตช์ ที่พูดภาษาแอฟริกันส์ (Afrikaans) **


ก่อนหน้านี้ กลุ่ม Afrikaners เหล่านี้เดินทางไปถึงสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังจากที่ประธานธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ให้สถานะผู้ลี้ภัยแก่พวกเขา ชี้ว่า คนผิวขาวเหล่านี้เผชิญกับการเหยียดสีผิว 

แต่รามาโฟซา ระบุว่า ผู้ที่ต้องการจะย้ายออกจากประเทศนั้น “ไม่พอใจต่อความพยายามในการแก้ไขความเหลื่อมล้ำ ที่เกิดจากยุคแบ่งแยกสีผิว (apartheid)” และเรียกการอพยพนี้ว่า “เป็นช่วงเวลาที่น่าเศร้าสำหรับพวกเขา”


“ในฐานะชาวแอฟริกาใต้ เรามีความอดกลั้น เราจะไม่หนีปัญหาของเรา เราจะอยู่ที่นี่เพื่อแก้ปัญหา .. เมื่อคุณวิ่งหนีมัน ก็หมายความว่าคุณเป็น ‘คนขี้ขลาด’ และนั่นคือพฤติกรรมของคนขี้ขลาด” รามาโฟซากล่าว


ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมกราคม ปธน.รามาโฟซา ได้ลงนามในกฎหมายที่ถูกวิจารณ์อย่างมาก ที่จะเปิดทางให้รัฐบาลสามารถยึดดินแดนของเอกชนได้ในบางกรณี โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย  หากเห็นว่าเป็นความสมควร และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 


แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลเผยว่ายังไม่ได้ยึดดินแดนใด ๆ เกิดขึ้น - แต่ก็สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับประชาชนในประเทศ

ทรัมป์-มัสก์ ชี้คนผิวขาวถูกเหยียดผิว


ทรัมป์ได้เสนอที่จะให้ที่พักพิงต่อชาวแอฟริกันผิวขาว ซึ่งส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษเป็นชาวดัตช์  ชี้ว่าพวกเขาต้องหลบหนีออกมาจากสถานการณ์ที่ย่ำแย่ในแอฟริกา


ทรัมป์ และ อีลอน มัสก์(ซึ่งเกิดที่แอฟริกาใต้) เคยบอกว่า มีเหตุ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ชาวนาผิวขาวในแอฟริกาใต้ - แต่คำอ้างนั้นไม่มีข้อยืนยันที่ชัดเจน


รามาโฟซา บอกว่า ได้ต่อสายตรงคุยกับทรัมป์เรื่องนี้ ย้ำว่า สถานการณ์ไม่ได้เป็นอย่างที่ทรัมป์บอก และแอฟริกาใต้เป็นเพียงชาติดเพียวในแอฟริกา ที่ “ผู้ยึดครอง” (colonisers) เลือกจะมาใช้ชีวิตที่นี่ และเราไม่เคยไล่พวกเขาออกไป 


ที่ผ่านมาสหรัฐฯ ยังกล่าวหาว่ารัฐบาลแอฟริกาใต้ได้ยึดดินแดนจากเกษตรกรผิวขาว โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้พวกเขาด้วย - และทรัมป์ยังขู่บอยคอตต์การร่วมประชุมสุดยอด G20 ที่แอฟริกาใต้ จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น


30 ปี แอฟริกาใต้ ยุติแบ่งแยกสีผิว 

"ความเหลื่อมล้ำกับเงา Arpartheid"

แม้จะผ่านมานานกว่า 30 ปี หลังจากที่ “เนลสัน แมนเดลา” ลุกขึ้นมาปฏิวัติแอฟริกาใต้ และนำมาสู่การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยครั้งแรกในปี 1994  เป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดยุค “คนขาว” ปกครอง และการแบ่งแยกสีผิว 


แต่ 30 ปีที่ผ่านมา ชาวแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่พอใจกับเรื่องความไม่เท่าเทียมที่ยังคงปรากฎชัด เกษตรกรผิวดำยังคงครอบครองที่ดินทำการเกษตรชั้นดีเพียงแค่ส่วนน้อยเท่านั้น ขณะที่ที่ดินส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ในมือของคนผิวขาวอยู่


ธนาคารโลกรายงานเมื่อปี 2022 ว่า แอฟิรกาใต้ยังเป็นประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมสูงที่สุดในโลก (วัดจาก Gini metric หรือ เครื่องมือทางสถติที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้หรือความมั่งคั่ง)


ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างคนผิวดำและผิวขาวยังคงฝังรากรึก แล รากฎชัดในหลายมิติ จึงส่งผลให้เกิดความไม่พอใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่ล่าช้า


แอฟริกาใต้มีประชากรราว 64 ล้านคน แต่มีคนผิวขาวเพียงราว 8% เท่านั้น แต่กลับพบว่า คนผิวขาว มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าคนผิวดำ .. ความไม่เท่าเทียมสะท้อนออกมาเป็นตัวเลขได้ดังนี้


รายได้: ครัวเรือนคนผิวดำโดยเฉลี่ยมีทรัพย์สินเพียง 5% ของครัวเรือนคนผิวขาว (แต่สหรัฐฯ ตัวเลขอยู่ที่ 6%)


การว่างงาน: ปี 2024 พบคนผิวดำว่างงานถึง 37.6% - ส่วนคนผิวขาวว่างงานที่ 7.9% 


ระดับผู้จัดการ: ปี 2022 คนผิวขาวได้งานระดับผู้จัดการ 65.9% ส่วนคนผิวดำมีงานตำแหน่งนี้ราว 13.8% 


เจ้าของธุรกิจ: มีคนขาวและชาวต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจราว 70% ส่วนคนดำมีราว 30%


การถือครองที่ดิน: คนผิวขาวยังครอบครองที่ดินทำการเกษตรส่วนใหญ่ โดยประมาณ 78% ของที่ดินมีเอกสารสิทธิ์เป็นของคนผิวขาว แม้จะมีความพยายามปฏิรูปที่ดินมาตั้งแต่ปี 1994 แล้วก็ตาม 


รัฐบาลตั้งเป้าให้คนผิวดำถือครองที่ดิน 30% ภายในปี 2030 แต่ยังล่าช้าอยู่มาก 


หรือแม้กระทั่ง “หมู่บ้าน” ของคนผิวขาว ที่ไม่อนุญาตให้คนผิวดำเข้าไปทั้งสิ้น

หมู่บ้านนี้มีชื่อว่า “โอราเนีย” (Orania)


ปัจจุบันมีประชากรราว 3,000 คน ตั้งขึ้นเพื่อเป็นดินแดนที่บ่งชี้อัตลักษณ์ของชาว Arikaners เพื่อปกป้องวัฒนธรรม, ภาษา และคุณค่าแบบชาวดัตช์-แอฟริกาใต้ จากกาเปลี่ยนแปลงหลังยุคแบ่งแยกสีผิว - มีระบบเศรษฐกิจของตนเอง มีธนาคารของตนเอง มีสกุลเงินเหมือนของตนเอง (Ora) มีโรงเรียน และมหาวิทยาลัยขนาดย่อมด้วย 


ทุกคนในหมู่บ้านนี้ต้องเป็นคนผิวขาวที่พูดภาษาแอฟริกันส์ โดยที่คินผิวดำ ที่แม้จะเป็นชาวแอฟริกาใต้โดยกำเนิด ก็ไม่มีสิทธิ์อาศัย หรือทำงานในโอราเนียแห่งนี้ 


แม้ฝ่ายต่อต้านจะมองว่า “โอราเนีย” คือ “the new era of Apartheid” แต่ผู้นำโอราเนียปฏิเสธว่า นี่ไม่ใช่การเหยียดสีผิว แต่เป็น “การปกป้องชุมชนทางวัฒนธรรม” 




ข่าวที่เกี่ยวข้อง