รีเซต

รู้จักโครงการอินทนนท์ จุดเริ่มต้นสกุลเงินดิจิทัลไทย

รู้จักโครงการอินทนนท์ จุดเริ่มต้นสกุลเงินดิจิทัลไทย
TNN ช่อง16
31 ตุลาคม 2565 ( 10:31 )
92

โครงการอินทนนท์เกิดขึ้นมาจากการแพร่หลายของเทคโนโลยีการจดบัญชีแบบกระจาย (Distributed ledger) หรือที่เรียกว่าเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์กลาง เอื้อให้สมาชิกในเครือข่ายสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรง ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงินไทยเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเงินไทย


ระยะที่ 1 

โดยในระยะที่ 1 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมกับสถาบันการเงิน 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารธนชาต, ธนาคารกรุงศรี, ธนาคารฮั่งเส็ง, ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นอกจากนี้ยังมีบริษัท อาร์3 (R3) ร่วมด้วย เพื่อพัฒนาและจำลองระบบต้นแบบ สำหรับเป็นรากฐานการพัฒนาระบบการเงินของประเทศไทยในอนาคต ด้วยการแปลงเงินฝากของสถาบันการเงินให้อยู่ในรูปสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC หรือ Central Bank Digital Currency)


ระยะที่ 2 

ต่อไปในระยะที่ 2 เป็นระยะของการแปลงพันธบัตรให้อยู่ในรูปแบบโทเคน (Token) เพื่อให้สามารถส่งมอบและชำระเงินค่าพันธบัตรได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่อาศัยตัวกลาง รวมไปถึงการพัฒนาระบบการชำระเงินต้นแบบให้ครอบคลุมธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น


ระยะที่ 3 

และในระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาระบบการชำระเงินระหว่างประเทศร่วมกับธนาคารฮ่องกง (HKMA) เพื่อลดบทบาทของตัวกลางที่ก่อให้เกิดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศให้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น


โดยโครงการอินทนนท์มีแผนสำหรับการต่อยอดร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งจะมีการทดสอบสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางกับระบบการบริหารจัดซื้อจัดจ้างระหว่างบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ข้อมูลจาก www.bot.or.th

ภาพจาก github.com, wikipedia.org, gettyimage.comistockphoto.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง