รีเซต

Special Content: สรุป 6 bites จากรายการ Tech-a-Bite “Post-Covid Worktech: WFH ชั่วคราวหรือยั่งยืน”

Special Content: สรุป 6 bites จากรายการ Tech-a-Bite “Post-Covid Worktech: WFH ชั่วคราวหรือยั่งยืน”
Tech By True Digital
14 ตุลาคม 2564 ( 16:10 )
130

Special Content: สรุป 6 bites จากรายการ Tech-a-Bite “Post-Covid Worktech: WFH ชั่วคราวหรือยั่งยืน”

 

 

Tech By True Digital ตอนนี้เป็นตอนพิเศษที่เรานำสรุปประเด็นสำคัญจาก รายการ “Tech-a-Bite” เทคนิดนิด ขนาดพอดีคำ จากทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ที่จะนำคุณอัปเดตเทรนด์นวัตกรรมและเทคโนโลยีน่าสนใจ ที่ปลดล็อกทุกความเป็นไปได้ให้กับโลกใบนี้ มาฝากกัน โดยรายการ “Tech-a-Bite” เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมาพูดคุยในหัวข้อ “Post-Covid Worktech: WFH ชั่วคราวหรือยั่งยืน” ซึ่งได้จับประเด็นอนาคตรูปแบบการทำงาน “Work from Home (WFH)” ว่า จะคงสภาพการเป็น “การขัดตาทัพ” หรือกำลังจะกลายเป็นรูปแบบการทำงานแบบใหม่อย่างถาวร และได้ร่วมพูดคุยกับคุณนิค อรรถพล สินฉลอง Head of VWorld (True Virtual World) จากทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ที่ได้แสดงทัศนะน่าสนใจเกี่ยวกับพัฒนาการของรูปแบบการทำงานแบบใหม่ แนวโน้มในอนาคต และโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในการรับมือจากทั้งทางฝั่งผู้ประกอบการและคนทำงานในโลกยุคหลังโควิด โดยสรุปออกมาเป็น 6 Bites ขนาดพอดีคำได้ ดังนี้

 

 

#Bite1 Business as Usual: “ปกติใหม่” ปกติได้
ด้วยเครื่องมือพร้อมและแพลตฟอร์มรองรับ คง Productivity ได้ไม่ต่างจากช่วงก่อนหน้าโรคระบาด

ในช่วงต้นของการล็อกดาวน์ หลายๆ องค์กรอาจต้องอาศัยการปรับตัวครั้งใหญ่จากการถูกบังคับให้เข้าสู่รูปแบบทำงานทางไกลเต็มตัว (Fully Remote Working) อย่างกระทันหัน ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับแทบทุกภาคส่วนของหลายๆ องค์กร ตั้งแต่ทีม HR ที่ต้องวางนโยบายการทำงานภายใต้สถานการณ์ใหม่ และทีมไอทีที่ต้องแก้โจทย์การติดต่อสื่อสารเพื่อการทำงานในระดับองค์กร ที่นอกจากปัจจัยเรื่องการเชื่อมต่อแล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านธุรกิจ เช่น ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ในกรณีที่ใช้แพลตฟอร์มภายนอกในการทำงาน แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะเห็นได้ว่า ในบางองค์กรที่มีความพร้อมในด้านเครื่องมือและมีแพลตฟอร์มรองรับนั้น สามารถคงระดับประสิทธิภาพการทำงาน (Productivity) ได้ไม่ต่างจากช่วงก่อนหน้าโรคระบาด และสามารถคงความต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี

 

 

#Bite2 ไม่จากไป แต่ไม่แทนที่: 3 รูปแบบการทำงานเกิดใหม่หลังยุคโควิด
> Remote เต็มรูปแบบ กลับไปเข้างานแบบเดิม และผสมผสาน

ในคำถามเรื่องความยั่งยืนของรูปแบบการทำงาน WFH นั้น คุณอรรถพลได้ให้ความเห็นว่า จากความคาดหวังเรื่องการกลับไปทำงานเต็มรูปแบบในช่วงแรกนั้น หลังผ่านมาเกือบหนึ่งปี เราได้เริ่มเห็นภาพชัดขึ้นว่า การทำงานที่ออฟฟิศเต็มรูปแบบอาจไม่ได้ตอบโจทย์คนทำงานและองค์กรต่างๆ อีกต่อไป โดยหลังจากนี้ รูปแบบการทำงานจะถูกแบ่งออกมาหลักๆ 3 รูปแบบ ดังนี้

  1. Fully Remote Working เหมาะกับคนในภาคธุรกิจที่เอื้อต่อการทำงานนอกสถานที่ มีอุปกรณ์สื่อสาร และสัญญาณอินเทอร์เน็ตสามารถที่จะทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบจากที่ใดก็ได้ 
  2. Traditional Workplace เหมาะกับภาคธุรกิจที่ต้องมีสถานที่ประกอบการ เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ที่ต้องกลับเข้าทำงานแบบเดิมอย่างเต็มรูปแบบ
  3. Hybrid Working คือรูปแบบการผสมผสาน โดยสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การทำ Fully Remote Working ในกลุ่มงานที่ไม่จำเป็นต้องเข้าสำนักงาน หรือการสลับเข้าทำงานในแต่ละทีม เป็นต้น

 

ทั้งนี้ การทำงานทั้ง 3 รูปแบบอาจไม่ใช่ทางออกที่สามารถทำได้ในทุกธุรกิจหรือทุกองค์กร โดยปัจจัยเช่น ธรรมชาติของธุรกิจ หรือลักษณะวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร ก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาในการปรับใช้กับการทำงานรูปแบบต่างๆ โดยในด้านของผู้ประกอบการ ควรทำความเข้าใจพนักงานและวัฒนธรรมองค์กรของตนเองให้มากที่สุด เพื่อกำหนดนโยบายการทำงานที่เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานของตัวเอง เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ดีที่สุด 

 



#Bite3 ตอบโจทย์การเดินทาง จัดสรรเวลาทำงานยืดหยุ่น

สำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ การทำงานแบบ Remote Working อาจเป็นคำตอบสำคัญให้กับช่วงเวลาการเดินทางที่เสียไปในแต่ละวัน รวมทั้งการเปิดโอกาสให้คนสามารถจัดสรรเวลาการทำงานได้ยืดหยุ่นขึ้น และในหลายกรณี ช่วยสร้างเสริมประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี

 

ทางด้านผู้ประกอบการ แม้ในหลายธุรกิจอาจมีความจำเป็นหรือมีวัฒนธรรมที่ต้องการการทำงานในสำนักงาน แต่รูปแบบการทำงานแบบ Remote Working ก็เข้ามามีส่วนช่วยในระดับองค์กรที่อาจช่วยบรรเทาความท้าทายระหว่างช่วงโรคระบาด เช่น การลดภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพื้นที่สำนักงานและค่าสาธารณูปโภคต่างๆ นอกจากนี้ ด้วยรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ยังเป็นโอกาสในการทบทวนสวัสดิการพนักงานที่สอดคล้องกับการทำงานในรูปแบบใหม่ เช่น ค่าบริการอินเทอร์เน็ตหรือซิมการ์ด อีกด้วย

 

นอกจากนี้ รูปแบบการทำงานแบบ Remote Working ยังมีอีกหนึ่งผลลัพธ์ที่น่าสนใจและน่าจะส่งแรงกระเพื่อมสำคัญกับตลาดแรงงาน นั่นคือ นัยยะด้านการกระจายขอบเขตภูมิลำเนาของพนักงาน เมื่อพนักงานสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้บนโลก โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ทำการของธุรกิจ นั่นหมายถึงโอกาสของพนักงานที่มีภูมิลำเนานอกเขตธุรกิจที่มีมากขึ้น รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการทำงานข้ามประเทศ ซึ่งจะต่อยอดเป็นโจทย์สำหรับแต่ละองค์กรในการกำหนดนโยบายการทำงานและการค้นหาพนักงานต่อไป

 

 

#Bite4 เมื่อ Work-Life Balance กลายเป็น Work-Life Integration

ในขณะเดียวกัน สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นที่พบได้ในหลายประเทศทั่วโลกจากการ WFH ได้แก่ ความเหนื่อยล้าจากเส้นแบ่งชั่วโมงและพื้นที่ระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวที่ลดลง รวมไปถึงจำนวนการประชุมและปฎิสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงานที่ลดลงเหลือเพียงระหว่างประชุมที่ต้องใช้สมาธิในการพูดคุยอยู่ตลอดเวลา หรือที่เรียกว่า “Zoom Fatigue” ก็กำลังเป็นการท้าทายสำคัญในเรื่องการสร้าง Work-Life Balance ในรูปแบบใหม่ ซึ่งสำหรับคุณอรรถพลได้กล่าวถึง Work-Life Integration เมื่องานและการพักผ่อนอยู่รวมกันในที่เดียวกัน และให้คำแนะนำส่วนตัวที่น่าสนใจ เช่น การกำหนดเวลาส่วนตัวไว้ในชั่วโมงของแต่ละวัน เพื่อให้แน่ใจว่าเราได้มีช่วงเวลาในการดูแลตัวเองในทุกวันด้วยเช่นกัน

 



#Bite5 ทำงานคนละที่ แต่ก็ยังเจอเพื่อนร่วมงาน ชิทแชทได้คล้ายเจอหน้าจริง

จากปัญหา “Zoom fatigue” ที่เกิดจากจำนวนการประชุมที่เพิ่มขึ้นและปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่ลดลง ทำให้หลายๆ องค์กรเริ่มนำโซลูชั่นใหม่ๆ เข้ามาช่วย เช่น Virtual Office Platform หรือแพลตฟอร์มสำนักงานเสมือนจริง ที่สามารถให้พนักงานสร้างอวาตาร์ และตกแต่งบรรยากาศสำนักงานได้เหมือนสถานที่จริง สามารถมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานนอกเหนือเวลาการประชุมได้คล้ายการเจอหน้าจริง ช่วยสร้าง Employee Engagement และเสริม Productivity ระหว่างวันได้ โดยมีตัวอย่างสตาร์ทอัพ เช่น Gather town เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่กำลังมีชื่อเสียงในประเทศไทย

 

 

#Bite6 มุ่งสู่ “Metaverse”
สร้างประสบการณ์เสมือนจริง ต่อยอดธุรกิจให้อยู่ในพื้นที่ทำงานรูปแบบใหม่

ลักษณะของแพลตฟอร์มเสมือนจริงนี้ แม้จะมีหลักพื้นฐานอยู่ที่การ Gamification รูปแบบการทำงานให้น่าดึงดูดใจแล้ว ยังเริ่มขยับขยายไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “Metaverse” เช่น Facebook Horizon โดยการสร้างประสบการณ์เสมือนจริงนี้ กำลังต่อยอดโอกาสใหม่ๆ ที่น่าสนใจของหลายภาคธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจกลุ่มมีเดีย เช่น สื่อโฆษณาต่างๆ ที่อาจสามารถเข้ามาอยู่ในพื้นที่เสมือนจริงในรูปแบบที่อิสระมากขึ้น กลุ่มธุรกิจบริการส่งอาหาร ที่อาจสามารถผูกติดกับพื้นที่ส่วนแพนทรีในออฟฟิศเสมือนจริงที่ให้พนักงานสามารถเดินมาสั่งอาหารได้ ไปจนถึง Cryptocurrency และ NFT ที่สามารถเข้ามามีพื้นที่ในโลกเสมือนนี้ได้เช่นกัน โดยในไทยเองก็เริ่มเห็นหลายองค์กรที่นำแนวคิด Virtual Reality และ Metaverse เข้ามาในรูปแบบต่างๆ เช่น พื้นที่สำนักงาน E-commerce และสื่อบันเทิงต่างๆ 

 

สามารถติดตามรายการ Tech-a-Bite ครั้งต่อไปได้ในวันศุกร์ที่ 15 ต.ค. 2564 เวลา 18:00 - 18:30 น. บนหน้าเฟซบุ๊ค “True Digital Group” (https://www.facebook.com/TDGgroup/)

 

 

รับชมย้อนหลังได้บนช่องทางต่างๆ ดังนี้

บันทึกรายการ 

พ็อดแคสต์

 

คุณผู้อ่านสามารถกดกระดิ่ง/ติดตาม เพื่อไม่พลาดคอนเทนต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะปลดล็อกทุกความเป็นไปได้ไปด้วยกัน กับ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป

 

เกี่ยวกับ True VWorld

กลุ่มโซลูชั่นและแพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่ทางทรู คอร์ปอเรชั่น ทรูดิจิทัล กรุ๊ป และพาร์ทเนอร์ร่วมกันพัฒนา เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถเรียนและทำงานจากหรือที่ใดก็ได้ โดยปัจจุบันนำเสนอโซลูชั่น 3 ตัวหลัก ได้แก่

  • True VRoom โซลูชั่น Video Conference ที่ทำให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อ ทำงาน หรือเรียนรู้ร่วมกันจากที่ใดก็ได้ ผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ 
  • True VWork โซลูชั่นเพื่อการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน
  • True VLearn โซลูชั่นเพื่อการศึกษา เชื่อมต่อระหว่างผู้สอนและนักเรียนบนโลกออนไลน์

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและใช้งานได้ที่ https://truevirtualworld.com/

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง