ที่ปรึกษา ศธ.ติดตามผลการดำเนินงานของสถานีแก้หนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับจังหวัด
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี นายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วยนายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางมาประชุมร่วมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของสถานีแก้หนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับจังหวัดและเขตพื้นที่การศึกษา
นายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เรื่องแก้ไขหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ภายหลังที่ได้มีคณะกรรมการจากส่วนกลางเพื่อที่จะหาแนวทางว่าเราจะมีมาตรการอะไรบ้างที่จะมาแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมาตรการจะมีอยู่หลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดดอกเบี้ย การควบคุมยอดกู้ที่สำคัญคือการตั้งสถานีแก้หนี้คือการตั้งให้มีคณะกรรมการแก้ไขหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งจะมีอยู่ 2 ระดับ คือ ระดับจังหวัดกับระดับเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งทั้ง 2 ระดับ จะมีหลายเรื่องที่จะเข้ามาช่วยกันเช่นระดับเขตพื้นที่การศึกษาถือว่าอยู่ใกล้ชิดกับครูผู้กู้ ซึ่งจะเห็นว่าครูและบุคลากมีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง มีเสถียรภาพจะผ่อนชำระหนี้หรือเปล่าหรือถ้าเกิดปัญหาขึ้นเขตพื้นที่จะได้เป็นตัวกลางในการที่จะเชิญทั้งผู้กู้และเจ้าหนี้มาช่วยเจรจาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับโครงสร้างหนี้การทำรีไฟแนนซ์อะไรต่างๆ ก็ได้ที่จะช่วยเคลียร์ปัญหาในส่วนระดับจังหวัดเกี่ยวข้องกันหลายหน่วยงาน ซึ่งมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการหรือจะเป็นรองผู้ว่าฯที่ท่านผู้ว่าราชการมอบหมายให้มาช่วยกับคณะกรรมการทั้งสองระดับ ซึ่งก็ได้มีการแต่งตั้งไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และเบื้องต้นก็ได้มีการประชุมและชี้แจงแนวทางที่จะมาช่วยแก้ปัญหาให้กับสมาชิกซึ่งเป็นผู้กู้อยู่ในทั้ง 2 ระดับ ซึ่งคณะกรรมการชุดใหญ่วันนี้ได้มาติดตาม โดยหลังจากนี้จะได้ประชุมชี้แจงให้แนวทางที่จะแก้หนี้ในแต่ละระดับ จากนั้นคณะกรรมการระดับเขตพื้นที่ก็จะได้เชิญครูและบุคลาการทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้กู้ได้มาลงทะเบียนแล้วก็สอบถามรายละเอียดว่าปัญหามีอะไรบ้าง แล้วจะให้สถานีแก้หนี้หรือในระดับเขตพื้นที่ ช่วยเหลืออะไรตอนนี้อยู่ในขั้นตอนกำลังเชิญมา เชิญมาเสร็จ เมื่อเราได้ทราบปัญหาของแต่ละท่านจะได้มาเป็นตัวกลางในการที่จะไปพูดคุยไกล่เกลี่ย หาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
นายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงเรื่องของการรองรับการเปิดภาคเรียนภาคเรียนที่หนึ่ง ปีการศึกษา 2565 ว่ากระทรวงศึกษาธิการก็ได้เตรียมการเอาไว้นานแล้ว เพราะเรามีประสบการณ์แล้วจากการเตรียมความพร้อมและเตรียมรับมือโดยเฉพาะในเรื่องความปลอดภัยของนักเรียนโดยเฉพาะการระบาดของโรค โควิด-19 ซึ่งวันนี้กระทรวงศึกษาธิการได้กำชับไปที่โรงเรียนว่า เบื้องต้นให้ประเมินตัวเองในมาตรการของคณะกรรมการของควบคุมโรคของจังหวัด โดยให้ประเมินว่าผ่านในมาตรการตรงนี้ไปหรือเปล่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนครูที่ได้รับวัคซีนจำนวนเด็กที่ได้รับวัคซีนโดยเฉพาะเด็กวันนี้ต้องได้รับเข็มกระตุ้นเรียบร้อยแล้วจะได้เป็นที่สบายใจที่จะมาโรงเรียนและนอกเหนือจากนั้นมาตรการที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมไว้ทั้งมาตรการหลักมาตรการรองและมาตรการเสริมที่เราเรียกว่า 6-6-7 เรื่องของการเว้นระยะการล้างมือการสวมหน้ากากตลอดเวลาการทำกิจกรรมกลุ่มย่อยๆต่างๆ ถือว่ามาตรการที่ได้ให้กับโรงเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ก็ให้สบายใจว่าวันนี้เราไม่ได้ดูแลแค่ในสถานศึกษาเราเริ่มดูแลเด็กตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงโรงเรียนที่จะให้เขามีความปลอดภัยและนอกเหนือจากนั้นถ้าเกิดการระบาดขึ้นมาติดเชื้อขึ้นมาเราก็จะมีแผนเผชิญเหตุด้วยว่าให้ประสานงานกับทางสำนักงานสาธารณสุขอย่างไรเพื่อจะให้ดูแลเด็กนักเรียน ขอให้ผู้ปกครองได้สบายใจ ซึ่งในวันที่ 10 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการท่านตรีนุช เทียนทองจะได้ชี้แจงรายละเอียดผ่านส่อมวลชนอีกครั้งวันนั้นเราก็จะมั่นใจพร้อมที่จะให้นักเรียนไปโรงเรียนในระบบออนไซด์ถือว่าเป็นระบบที่น่าจะมีประสิทธิภาพที่สุดของการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน