รีเซต

แบบนี้ไง! 'คุกคามทางเพศ' ไม่ว่าใครก็ตกเป็นเหยื่อได้

แบบนี้ไง! 'คุกคามทางเพศ' ไม่ว่าใครก็ตกเป็นเหยื่อได้
TeaC
28 ตุลาคม 2564 ( 13:05 )
583
1
แบบนี้ไง! 'คุกคามทางเพศ' ไม่ว่าใครก็ตกเป็นเหยื่อได้

อย่าสร้างบาดแผลในใจเด็ก! ปัญหาการล่วงละเมิด หรือการคุกคามทางเพศยังพบเห็นได้บ่อย ๆ ในสังคมไทย อย่างกรณีดราม่าหนึ่ง จักรวาล ลงคลิปแสดงความรักจนเกิดเสียงวิพากวิจารณ์อย่างหนักถึงความไม่เหมาะสมจนล่าสุดเจ้าตัวลบคลิปประเด็นร้อนออกแล้ว บทเรียนนี้สะท้อนให้พ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดดูแลเด็กต้องศึกษาและเรียนรู้ถึงการปฏิบัติ หรือแสดงออกความรักที่แม้ว่าจะเจตนาดี แต่อาจสร้างรอยแผลเล็ก ๆ ให้เด็กได้ไม่รู้ตัว แถมยังอาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ให้เด็กได้ 

 

ดังนั้น พ่อแม่ไม่เพียงต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ลุกปลอดภัยจากการถูกคุกคามทางเพศเท่านั้น แต่เราทุกคนต้องสร้างภูมิคุ้มกันเรียนรู้และไม่ปฏิบัติต่อผู้คนไม่ว่าจะเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง อายุน้อยหรืออายุมาก เพราะทุกคนสามารถตกเป็น "เหยื่อ" ของการถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ วันนี้จะพาไปเรียนรู้ถึงพฤติกรรมอะไรบ้างที่เข้าข่ายการคุกคามทางเพศของคนในสังคมที่หลายคนอาจมองเป็นความเคยชิน แต่รู้หรือไม่มันคือการสร้างบาดแผลบนร่างกายและจิตใจของคนที่ถูกคุกคาม

 

รู้หรือไม่? คุมคามทามเพศ คืออะไร

 

การคุกคามทางเพศ คือ การกระทําาหรือการแสดงออกในทางเพศ  ทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม ไม่ว่าจะเป็น

  • ผ่านการใช้สายตา
  • ท่าทาง
  • เสียง
  • คําพูด
  • ร่างกาย
  • การสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ

โดย ทําให้ผู้ที่ตกเป็นเป้าของการกระทํานั้น รู้สึกเดือดร้อนรําคาญ อึดอัด ไม่พอใจ เครียด หวาดระแวง หวาดกลัว และรู้สึกไม่ปลอดภัย

 

สถานที่ที่ "เหยื่อ" มักโดนคุมคามทางเพศ

               

ซึ่งเรามักจะเห็นข่าวการคุกคามทางเพศได้ตามสถานที่เหล่านี้ ได้ทุกช่วงเวลา ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า การคุกคามทางเพศ มีอยู่ทุกที่และทุกคนตกเป็นเหยื่อได้เสมอ

 

  • บนระบบขนส่งสาธารณะเกิดได้ทั้งบนขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์ รถไฟ รถไฟฟ้า เรือ รถทัวร์ รถตู้ รถสองแถว เครื่องบิน
  • บนขนส่งสาธารณะที่ผู้โดยสารต้องเดินทางไปกับคนขับตามลําาพัง  เช่น  รถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง  
  • ส่วนช่วงเวลาเกิดขึ้นได้ทุกสถานการณ์ ทุกช่วงเวลา ทั้งช่วงเวลาด่วน เร่งรีบ หรือมีคนหนาแน่น หรือบางตา ทั้งกลางวันและกลางคืน  และยังอาจเกิดที่บริเวณ ป้ายรถเมล์ ชานชลา ท่ารถ ท่าเรือ สถานีขนส่ง หรือสนามบินได้ด้วย

 

แบบนี้ไง! "คุกคามทางเพศ"

 

เมื่อเข้าใจถึงความหมายของการคุกคามทางเพศกันแล้ว ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ลองมาดูการยกตัวอย่างสิ่งที่เราอาจมองว่าเป็นการแสดงออกความรักธรรมดา แต่สร้างรอยแผลเล็กจนไปถึงรอยแผลขนาดใหญ่ หากถูกการคุกคามทางเพศไม่จบไม่สิ้น

 

1. คุกคามทางเพศ ด้วย "คำพูด"


เช่น น้องมีค่าเทอมยังจ๊ะ ถ้ายังใส่ชุดนักศึกษามาหาพี่ได้นะ, อุ้ย...ใหญ่ดีจัง, โอ้โฮ...ใหญ่จนไม่น่าเชื่อ, ถ้าแต่งตัวสวย ๆ อีกนิดนะ อื้อหือเล๊ย ฯลฯ


2. คุกคามทางเพศ ด้วย "สายตา"  


เช่น เพ่งไปที่จุดสงวน ของลับ, เปิดภาพ คลิปวิดีโอของลับของตัวเอง หรือส่งผ่านทางสื่อโซเชียลฯ ให้เด็กดู


3. คุกคามทางเพศ ด้วย "สัมผัส"  


เช่น ล้วงจับของสงวน, ลูบคลำร่างกาย, จับมือให้เด็กลูกคลำ หรือจับอวัยะเพศของผู้ใหญ่ หรือให้เด็กสำเร็จความใคร่ สัมผัสบางส่วนร่างกายของเพื่อนร่วมงาน

 

อย่าละเมิดสิทธิฉัน เพราะฉันเจ็บปวด

 

การคุกคามทางเพศคุณอาจสนุก แต่ผลเสียที่เกิดขึ้นกับเด็ก หรือคนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ ทุกคนเจ็บปวดกว่า ไม่ว่าจะเป็น 

 

  • การทำให้เด็กมองว่าการถูกสัมผัสแบบนี้จากผู้ใหญ่เป็นเรื่องปกติ
  • เด็กไม่กล้าปฏิเสธ เพราะแยกแยะไม่ออกว่าการถูกคุกคามคืออะไร แบบไหน
  • สร้างบาดแผลในใจเด็ก เช่น ถูกเพื่อน หรือคนในสังคม รอบข้างล้อเลียน ถามถึงเหตุการณ์ ฯลฯ

 

และนี่คือผลกระทบที่ "เหยื่อ" ได้รับ อย่ามองเป็นเรื่องสนุก แต่มันเป็นปัญหาใหญ่ที่ขยายเป็นวงกว้าง และเหยื่อทุกทรมานเสมอ

 

มาแสดงความรักอย่างมีขอบเขต
หยุดคุกคามทางเพศกันเถอะ!!! เราสร้างสังคมที่ปลอดภัยได้

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง